Skip to main content
 


แนะนำนักร้องคนโปรดอีกคนก่อนค่ะ ฟังตั้งแต่สมัยเป็นเทปจนยืดยาน พอซีดีเริ่มเข้ามาในชีวิต บวกกับธุรกิจการงานมากมายก็ทำให้ไม่ได้ฟังเพลงจากเทปอีกเลย จนกระทั่งมาเจอเขาอีกครั้งเพียงหนึ่งคลิบใน
youtube เพิ่งเคยเห็นหน้าชีพชนก ศรียามาตย์ หลังจากคบหากันผ่านเสียงเพลงมาเป็นสิบปี คุณภาพเสียงในคลิบไม่ค่อยดีเท่าไรนัก แต่พอฟังได้อยู่กับบรรเลงเพลงโปรดของวงทีโบน


เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม”



ฉันแหงนมองขึ้นไปตามมือชี้ ต้นนี้นี่เองตะเคียนในหนังที่เคยกลัว แต่ที่ตระหง่านอยู่ตรงหน้าริมฝั่งแม่น้ำปิงที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่
16 บนถนนเจริญประเทศ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในเอกสารบอกว่าอายุประมาณ 90 ปี ความสูง ประมาณ 40 เมตร เส้นรอบวง 6 เมตร



“......
เล่าต่อกันมาว่าต้นอ่อนไม้ตะเคียนนี้ได้ไหลลอยมากับกระแสปิง ถูกพัดมาเกยฝั่งริมที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สมัยอธิบดีกรมป่าไม้ไทยคนแรก ( พระยาดรุพันธ์พิทักษ์ –สนิท พุกกะมาน – 2476 ) ประมาณอายุได้ 90 ปี จากนั้นมาก็เจริญเติบโตขึ้นเป็นไม้สูงใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาอยู่คู่กับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 16 ตลอดมา......ตะเคียนทองต้นนี้ได้ออกลูกให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้เก็บไปเพาะและปลูกในพื้นที่ป่าโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ ฯ โดยเฉพาะแถวกิ่งอำเภอแม่ออน และที่อื่น ๆ รวมนับแสนต้นมาแล้ว......”


นายสมบูรณ์ กฤษณะวณิชย์

นายถนอมศักดิ์ พรหมวัง

และนางจรัสศรี ศรีประดิษฐ์


ฟังชื่อต้นตะเคียนจะนึกถึงผี และหนังผีนางตะเคียน เมื่อมาเห็นตะเคียนที่นี่ฉันต้องยกมือไหว้ก่อนกดชัตเตอร์ เพราะเป็นต้นไม้ที่ใหญ่มาก ๆ ต้องกดชัตเตอร์ถึงสามครั้งจึงจะได้ภาพทั้งหมดของต้นนี้ ลำต้นกว้างหลายคนโอบ



สูงขึ้นไปลำต้นแตกออกไปอีกหลายต้นเล็ก ๆ อยู่ในนั้น ไม้ใหญ่ขนาดนี้ นี่คงเป็นบรรพบุรุษอีกต้นหนึ่งของชาวเชียงใหม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ริมแม่น้ำปิง ตะเคียนต้นนี้คงได้ทักทายกับมิชชันนารีกลุ่มแรกที่เข้ามาเชียงใหม่ คงได้พบเห็นภาพอันงดงามของ “พฤกษานคร” หรือเชียงใหม่เขียว ๆ อย่างที่พญามังรายท่านได้สร้างไว้



ฉันเห็นความงามของเมืองเชียงใหม่ จากตะเคียนต้นนี้

 

 

 

บล็อกของ โอ ไม้จัตวา

โอ ไม้จัตวา
ได้มีโอกาสไปแอ่วเมืองน่านเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นสิบปี ไปคราวนี้คนที่ไปด้วยก็แทบไม่เคยไปเลย มีเราคนเดียวที่มาบ่อยที่สุด กระนั้นก็นับได้ประมาณสี่ครั้ง ความที่เมืองน่านเป็นเมืองที่จะว่าไกลก็ไกล จะว่าไม่ไกลก็ไม่ไกลนัก ขับรถจากเชียงใหม่ 5 ชั่วโมงรวมเวลาพักรถกินกาแฟที่เด่นชัย ขับรถเส้นทางนี้ขอแนะนำร้านกาแฟสดเด่นชัย ตรงริมแม่น้ำ เชิงสะพานทางไปลำปาง กาแฟเค้าดีจริงๆ หรือหากใครดื่มกาแฟไม่ได้ ถ้าได้ผ่านไปที่อ.ร้องกวาง จ.แพร่ แวะตลาดสด มีร้านหนึ่งขายเมี่ยง ใช้อมตอนขับรถง่วง ๆ ได้ผลดี เพราะเมี่ยงเป็นใบชาชนิดหนึ่งมีคาเฟอีนเหมือนกัน เราชอบกินเมี่ยงเพราะไม่ขับปัสสาวะเหมือนกาแฟ  
โอ ไม้จัตวา
  รูปนี้ก็ต้องจับกล้องนิ่ง ๆ เพราะถ่ายท้องฟ้าตอนเย็น
โอ ไม้จัตวา
 คำถามเดิม ถ่ายยังไงให้ดีให้สวย คำตอบแบบกำปั้นทุบกล้องเลยคือ มองให้เห็นความงาม ซึ่งตรงนี้ขอเน้นย้ำว่า “ความงามเป็นเรื่องปัจเจก” เป็นเรื่องของใครของมัน กล้องก็ของเรา เราถ่ายเราก็เอาไปดู และชื่นชมอย่างน้อยก็กับตัวเอง คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างไม่ต้องสนใจ ถ้าเราเห็นว่างาม...ถ่ายเลย
โอ ไม้จัตวา
  หลายคนถามว่าถ่ายรูปอย่างไรให้สวย ช่วยสอนหน่อยได้ไหม ความที่ไม่ได้ร่ำเรียนเรื่องการถ่ายภาพมาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ทำให้เราสอนเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้เช่นกัน คำตอบที่บอกไปส่วนใหญ่จะบอกแบบโยนกล้องให้แล้วไปหาเอา
โอ ไม้จัตวา
  ไปกินปลาสะแงะมาแล้ว รสชาติและเนื้อคล้าย ๆ กับปลาคังน่ะ ร้านที่ไปกินเป็นร้านอาหารอร่อยด้วยรสมือคนปรุง ชื่อร้านน้องเบส ขอแนะนำ เป็นห้องแถวสองคูหา นอกจากปลาสะแงะที่น่าลิ้มรสแล้ว สิ่งที่พลาดไม่ได้อีกเมนูหนึ่งของร้านนี้คือ เห็ดหอมทอดซีอิ้ว ที่มีน้ำจิ้มสีเขียวสูตรของร้านนี้โดยเฉพาะ อร่อยจริง ๆ
โอ ไม้จัตวา
ภาพจาก www.thailandoutdoor.com ไปปายคราวที่แล้ว ได้ยินชื่อปลาสะแงะในเมนูร้านอาหารร้านอร่อย (ร้านน้องเบส เห็ดหอมทอดอร่อยด้วยน้ำจิ้มสีเขียว) แต่ก็ไม่ได้กิน ถามใครก็ตอบไม่ได้ว่าเป็นปลาอะไร ดียังไง ทำไมต้องปลาสะแงะ จนกระทั่งมาเจอข้อเขียนของคุณ’รงค์  วงษ์สวรรค์ ที่เคยเขียนไว้ถึงปลาชนิดหนึ่งชื่อปลาไหลหูดำ “ปลาไหลหูดำ  โอว  หี่  เหมา  ปรุงรสน้ำแดงกับเห็ดหอมและผักบุ้ง--เอ้งฉ่าย   ปลานี้อิมพอร์ทเข้ามาจากฮ่องกงราคาแพงและมีกินในฤดูเดือนเท่านั้น แต่บางคนบอกความลับว่า  พรานปลาแถบลุ่มน้ำตาปีภาคใต้นำมาส่งอย่างไม่เปิดเผยเพื่อการผดุงราคาเหนือกว่าปลาอื่น…
โอ ไม้จัตวา
http://blog.palungjit.com/uploads/s/saochiangmai/3152.mp3 เพลงน้องน้อยแพนด้า สำหรับดาวน์โหลดค่ะ แพนด้าไม่ใช่หมี แพนด้าคือแพนด้า
โอ ไม้จัตวา
  ความที่ปายเป็นเมืองโรแมนติก เมืองที่อยู่สบาย ล้อมรอบด้วยภูเขา มีแม่น้ำเล็ก ๆ ไหลผ่าน เหมือนภาพในฝัน ในนิทานยังไงยังงั้น จึงมีผู้คนจำนวนหนึ่งย้ายนิวาสสถานมาอาศัยอยู่ที่ปาย บางคนมานอนอ่านหนังสือ พักผ่อน เช่าบ้านอยู่นาน ๆ เป็นจุดแวะพักในซอกมุมหนึ่งของโลก ก่อนจะออกเดินทางต่อไป  
โอ ไม้จัตวา
ดอกไม้ริมทาง ใครจะนึกบ้างว่าเมืองที่ “อะไรก็ปาย” ในพ.ศ.นี้ เคยเป็นดินแดนสำหรับเนรเทศผู้กระทำความผิดมาก่อน ย้อนหลังไปไกลเจ็ดร้อยกว่าปี เมื่อเริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในพ.ศ. 1839 ในสมัยราชวงศ์มังรายปกครองเชียงใหม่นี้ ปายก็เป็นเมืองหน้าด่านเมืองหนึ่งของเชียงใหม่ ในชื่อว่า “เมืองน้อย” ซึ่งปัจจุบันบ้านเมืองน้อย (อยู่ระหว่างปายกับอ.เวียงแหง) เป็นหมู่บ้านของชาวปกากญอ อยู่ต้น ๆ ของแม่น้ำปาย
โอ ไม้จัตวา
  ได้เวลาพารถคันน้อย ๆ ไปออกกำลังกายอีกแล้ว คราวนี้ไปแบบไม่รู้อะไรเลย บ้านวัดจันทร์ ฉันรู้จักในนามป่าสนวัดจันทร์ ความที่ชอบต้นสนสองใบ สามใบ และไม่เคยแยกออกสักทีว่าอย่างไหนสองใบ หรือสามใบ แต่ที่ชอบคือใบฝอย ๆ เวลามองไกล ๆ แล้วดูเป็นฟู่ ๆ สวยดี ใบสนไม่มีน้ำ ยามหน้าแล้งจึงยังเขียวอยู่เนื่องจากมีน้ำมันอยู่ข้างใน
โอ ไม้จัตวา
คนปาย
โอ ไม้จัตวา
ตื่นเช้ามาด้วยอาการแฮ้งค์ดาวแดงอย่างสุดชีวิต ความที่เคมีในร่างการเริ่มปฏิเสธดาวดาวสีแดงดวงนี้ ทำให้ชีวิตฉันง่ายขึ้นเมื่อต้องชะตากับลีโอ จนเพื่อนร่วมทางบอกว่าเธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่กินลีโอ