Skip to main content

 

การช่วงชิงความหมายและความทรงจำทางประวัติศาสตร์: เมื่อวานนี่เป็นวันครบรอบเหตุการณ์ Gestapu (Gerakan 30 September) ซึ่งย่อมาจาก "ขบวนการวันที่ 30 กันยายน" แต่วันนี้วันที่ 1 ตุลาคม เรียกว่าวัน Gestok (Gerakan 1 Oktober) ย่อมาจาก "ขบวนการวันที่ 1 ตุลาคม" และมีความสำคัญคือ กองทัพอินโดนีเซียได้สถาปนาให้เป็นวัน Hari Kesaktian Pancasila ซึ่งน่าจะแปลเป็นไทยประมาณ "วันปัญจสีลาอันศักดิ์สิทธิ์" เพื่อรำลึกถึงนายทหารที่ถูกสังหารโดยกลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น PKI (คอมมิวนิสต์) ในฐานะที่เป็นผู้พิทักษ์ปัญจสีลา (ปัญจสีลาเป็นอุดมการณ์ของชาติอินโดนีเซีย ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือประนีประนอมความแตกต่างหลากหลายทางแนวคิดทางการเมืองในสมัยสร้างชาติโดยซูการ์โน จริงๆ แล้วซูการ์โนเอาปัญจสีลามาควบคุมแนวคิดรัฐอิสลามในขณะนั้น หลังจากยุคซูการ์โน ปัญจสีลาถูกเอามาใช้อย่างเข้มข้นมาก จนถึงทุกวันนี้ยังได้เห็นฉากเด็กๆ นักเรียนอินโดนีเซียท่องปัญจสีลาในภาพยนตร์หลายๆ เรื่อง)

ข้าพเจ้าก็ไม่แน่ใจว่าคนอินโดนีเซียส่วนใหญ่จดจำเกสตาปู หรือ เกสต๊อก ได้มากกว่ากัน ไม่แน่ใจว่าจดจำการสังหารหมู่สมาชิกและผู้สนับสนุน PKI จำนวนเรือนแสนถึงล้าน หรือ จะจดจำความโหดเหี้ยมของ PKI ในการพยายามทำรัฐประหารที่ถูกถ่ายทอดผ่านแบบเรียน, หนังสือประวัติศาสตร์, อนุสาวรีย์, ภาพยนตร์ และเรื่องเล่ามากกว่า 3 ทศวรรษ ได้มากกว่ากัน...

บล็อกของ onanong

onanong
คำในภาษาไทยหลายๆ คำที่คล้ายกับคำในภาษามลายู, อินโดนีเซีย และ ชวา มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตอยู่ไม่น้อย
onanong
ชื่อบล็อก “Selamat Datang”  (อ่านว่า เซอลามัต ดาตัง) นั้นแปลว่า “ยินดีต้อนรับ” ซึ่งใช้กันทั้งในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ไปจนถึงบรูไน, สิงคโปร์ และปาตานี หากคุณพูดภาษามลายูได้ก็หมายความว่าคุณจะพูดกับคนได้เกือบๆ 250 ล้านคน