Skip to main content

 

การช่วงชิงความหมายและความทรงจำทางประวัติศาสตร์: เมื่อวานนี่เป็นวันครบรอบเหตุการณ์ Gestapu (Gerakan 30 September) ซึ่งย่อมาจาก "ขบวนการวันที่ 30 กันยายน" แต่วันนี้วันที่ 1 ตุลาคม เรียกว่าวัน Gestok (Gerakan 1 Oktober) ย่อมาจาก "ขบวนการวันที่ 1 ตุลาคม" และมีความสำคัญคือ กองทัพอินโดนีเซียได้สถาปนาให้เป็นวัน Hari Kesaktian Pancasila ซึ่งน่าจะแปลเป็นไทยประมาณ "วันปัญจสีลาอันศักดิ์สิทธิ์" เพื่อรำลึกถึงนายทหารที่ถูกสังหารโดยกลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น PKI (คอมมิวนิสต์) ในฐานะที่เป็นผู้พิทักษ์ปัญจสีลา (ปัญจสีลาเป็นอุดมการณ์ของชาติอินโดนีเซีย ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือประนีประนอมความแตกต่างหลากหลายทางแนวคิดทางการเมืองในสมัยสร้างชาติโดยซูการ์โน จริงๆ แล้วซูการ์โนเอาปัญจสีลามาควบคุมแนวคิดรัฐอิสลามในขณะนั้น หลังจากยุคซูการ์โน ปัญจสีลาถูกเอามาใช้อย่างเข้มข้นมาก จนถึงทุกวันนี้ยังได้เห็นฉากเด็กๆ นักเรียนอินโดนีเซียท่องปัญจสีลาในภาพยนตร์หลายๆ เรื่อง)

ข้าพเจ้าก็ไม่แน่ใจว่าคนอินโดนีเซียส่วนใหญ่จดจำเกสตาปู หรือ เกสต๊อก ได้มากกว่ากัน ไม่แน่ใจว่าจดจำการสังหารหมู่สมาชิกและผู้สนับสนุน PKI จำนวนเรือนแสนถึงล้าน หรือ จะจดจำความโหดเหี้ยมของ PKI ในการพยายามทำรัฐประหารที่ถูกถ่ายทอดผ่านแบบเรียน, หนังสือประวัติศาสตร์, อนุสาวรีย์, ภาพยนตร์ และเรื่องเล่ามากกว่า 3 ทศวรรษ ได้มากกว่ากัน...

บล็อกของ onanong

onanong
 ศัพท์ใหม่ (Kosa kata baru)Negara-negara (เนอการา เนอการา) ประเทศต่างๆ
onanong
 ห่างหายกันไปสักพักใหญ่นะคะสำหรับการสอนภาษาอินโดนีเซียผ่านบล็อก “Selamat Datang” คราวนี้ขอเสนอโครงสร้างประโยคบอกเล่าง่ายๆ ในภาษาอินโดนีเซียค่ะ
onanong
บทสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการกลุ่ม Tikar Pandan สถาบันทางวัฒนธรรมพร้อมกับสำนักพิมพ์ที่ไม่แสวงหากำไร และมีส่วนร่วมในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนอาเจะห์ ซึ่งเปิดพื้นที่มากกว่าการบอกเล่าแบบที่รัฐผลิตให้วาทกรรมการชื่นชมทหาร  และการบูชาวีรบุรุษของรัฐชาติ หากแต่ประชาชาชนจำนวนมากเช่นกันที่มีประวัติศาสตร์ความเจ็บปวดและเลวร้ายจากทหาร
onanong
 ตามคำเรียกร้องของแฟนบล็อกนะคะ คราวนี้ขอเสนอคำที่แสดงความรู้สึกในภาษาอินโดนีเซียพร้อมกับตัวอย่างการใช้ค่ะ
onanong
 เซอลามัต มาลัม (Selamat malam) สวัสดีตอนค่ำค่ะ ขอยึดเวลา ณ ตอนที่เขียนแล้วกันนะคะ คราวนี้จะขอพูดถึงการนับตัวเลขและลำดับที่ในภาษาอินโดนีเซียนะคะ
onanong
เชื่อว่าชื่อเมืองบันดุง ในประเทศอินโดนีเซียอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยเท่ากับเมืองหลวงอันแสนวุ่นวายอย่างจาการ์ตา, เมืองแห่งการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมฮินดูและธรรมชาติอย่างบาหลี หรือเมืองแห่งวัฒนธรรมชวาอย่างย็อกยาการ์ตา ทั้งๆ ที่บันดุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากเมืองหนึ่ง และมีความเป็นมาน่าสนใจไม่แพ้เมืองอื่นๆ เชียวค่ะ
onanong
 ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งเทศกาลเฉลิมฉลอง ทั้งวันคริสต์มาสและกำลังต่อด้วยปีใหม่ ดังนั้นดิฉันก็เลยถือโอกาสพูดถึงการอวยพรในภาษาอินโดนีเซียนะคะ 
onanong
 ในขณะที่ดิฉันกำลังคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีเพื่อคั่นการสอนภาษาอินโดนีเซีย คิดว่าถ้าสอนภาษาอินโดนีเซียทุกอาทิตย์มันจะน่าเบื่อเกินไป วันนี้ (19 ธันวาคม 2012) ก็ได้อ่านสเตตัสของเพื่อนชาวอาเจะห์ที่ใช้ชื่อว่า “Dody Maubelajar” ซึ่งน่าสนใจมาก ดิฉันจึงได้ขออนุญาตเขาแปลมาเผยแพร่ต่อสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์บาดแผลของประเทศอินโดนีเซีย