Skip to main content

 

ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งเทศกาลเฉลิมฉลอง ทั้งวันคริสต์มาสและกำลังต่อด้วยปีใหม่ ดังนั้นดิฉันก็เลยถือโอกาสพูดถึงการอวยพรในภาษาอินโดนีเซียนะคะ 

คำที่เป็นพระเอกของทุกงานคือคำว่า selamat (เซอลามัต) ถ้าจะแปลเป็นไทยก็อาจจะเทียบได้กับคำว่า “สวัสดี” แต่มีการใช้ที่กว้างกว่า สวัสดี ค่ะ อย่างที่ท่านได้ทราบไปแล้วว่า selamat ใช้ทักทายได้ทั้งเช้า สาย บ่าย เย็น โดยเติมคำบอกเวลาเข้าไป เช่น selamat pagi, selamat siang, selamat sore และ selamat malam

นอกจากจะใช้กับช่วงเวลาต่างๆ ของวันแล้ว selamat ยังใช้ได้กับทุกเทศกาล เช่น

Selamat Ulang Tahun (เซอลามัต อูลัง ตาฮุน)          สุขสันต์วันเกิด

Selamat Hari Raya Idul Fitri (เซอลามัต ฮารี รายา อีดุลฺ ฟีตรี)          สุขสันต์วันฮารีรายอ

Selamat Hari Natal (เซอลามัต ฮารี นาตัลฺ)     สุขสันต์วันคริสต์มาส

Selamat Hari Waisak (เซอลามัต ฮารี ไวซะกฺ) สุขสันต์วันวิสาขบูชา

Selamat Tahun Baru (เซอลามัต ตาฮุน บารู)   สุขสันต์วันปีใหม่

Selamat Hari Ibu (เซอลามัต ฮารี อีบู)          สุขสันต์วันแม่

Selamat Hari Kemerdakaan (เซอลามัต ฮารี เกอเมอรฺเดกาอัน)         สุขสันต์วันประกาศเอกราช

นอกจากนี้ selamat ยังใช้กับการอวยพรเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หรือในโอกาสพิเศษก็ได้ เช่น

Selamat Menikah (เซอลามัต เมอนีกะฮฺ)        สุขสันต์วันแต่งงาน

Selamat Wisuda (เซอลามัต วีซูดา)              ยินดีด้วยที่สำเร็จการศึกษา (ใช้พูดเมื่อไปงานรับปริญญา)

Selamat ujian (เซอลามัต อูเจียน)               ขอให้ทำข้อสอบได้

Selamat makan (เซอลามัต มากัน)              ขอให้รับประทานอาหารให้อร่อย

Selamat bekerja (เซอลามัต เบอรฺเกอรฺจฺา)     ขอให้ทำงานอย่างมีความสุข

Selamat jalan (เซอลามัต จาลัน)                 ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ (คำกล่าวลา ผู้ที่จะอยู่เป็นผู้พูด)

Selamat tinggal (เซอลามัต ติงกัลฺ)               ขอให้อยู่ดีๆ นะ (คำกล่าวลา ผู้ที่จะไปเป็นผู้พูด)

Selamat tidur (เซอลามัต ตีดูรฺ)                             ราตรีสวัสดิ์, นอนหลับฝันดี      

Selamat datang (เซอลามัต ดาตัง)               ยินดีต้อนรับ

selamat ยังใช้โดดๆ ในความหมายว่า “โชคดีนะ” หรือ “ยินดีด้วย” ก็ได้ค่ะ เช่นถ้ามีเพื่อนเราจะทำอะไรสักอย่าง หรือประสบความสำเร็จในเรื่องใดๆ เราก็สามารถพูดกับเขาได้ว่า “Selamat” หรือ “Selamat ya”

 

ส่วนอีกคำที่ใช้ในการอวยพรได้แก่คำว่า “semoga” แปลเป็นไทยได้ว่า “ขอให้..” ในความหมายที่ว่าเราปรารถนาให้สิ่งนั้นๆ บังเกิดขึ้นกับคนที่เราพูดด้วย เช่น

Semoga berbahagia (เซอโมกฺา เบอรฺบาฮาเกีย)                  ขอให้มีความสุข

Semoga cepat sembuh (เซอโมกฺา เจอปัต เซิมบุฮฺ)   ขอให้หาย (จากอาการป่วยไข้) เร็วๆ

Semoga berjaya (เซอโมกฺา เบอรฺจฺายา)                           ขอให้ประสบความสำเร็จ

Semoga sehat (เซอโมกฺา เซฮัต)                          ขอให้สุขภาพแข็งแรง

Semoga umur panjang (เซอโมกฺา อูมูรฺ ปันจัง)                   ขอให้อายุยืน

Semoga tambah cantik (เซอโมกฺา ตัมบะฮฺ จันติก)    ขอให้สวยขึ้น

 

 

บล็อกของ onanong

onanong
 ศัพท์ใหม่ (Kosa kata baru)Negara-negara (เนอการา เนอการา) ประเทศต่างๆ
onanong
 ห่างหายกันไปสักพักใหญ่นะคะสำหรับการสอนภาษาอินโดนีเซียผ่านบล็อก “Selamat Datang” คราวนี้ขอเสนอโครงสร้างประโยคบอกเล่าง่ายๆ ในภาษาอินโดนีเซียค่ะ
onanong
บทสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการกลุ่ม Tikar Pandan สถาบันทางวัฒนธรรมพร้อมกับสำนักพิมพ์ที่ไม่แสวงหากำไร และมีส่วนร่วมในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนอาเจะห์ ซึ่งเปิดพื้นที่มากกว่าการบอกเล่าแบบที่รัฐผลิตให้วาทกรรมการชื่นชมทหาร  และการบูชาวีรบุรุษของรัฐชาติ หากแต่ประชาชาชนจำนวนมากเช่นกันที่มีประวัติศาสตร์ความเจ็บปวดและเลวร้ายจากทหาร
onanong
 ตามคำเรียกร้องของแฟนบล็อกนะคะ คราวนี้ขอเสนอคำที่แสดงความรู้สึกในภาษาอินโดนีเซียพร้อมกับตัวอย่างการใช้ค่ะ
onanong
 เซอลามัต มาลัม (Selamat malam) สวัสดีตอนค่ำค่ะ ขอยึดเวลา ณ ตอนที่เขียนแล้วกันนะคะ คราวนี้จะขอพูดถึงการนับตัวเลขและลำดับที่ในภาษาอินโดนีเซียนะคะ
onanong
เชื่อว่าชื่อเมืองบันดุง ในประเทศอินโดนีเซียอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยเท่ากับเมืองหลวงอันแสนวุ่นวายอย่างจาการ์ตา, เมืองแห่งการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมฮินดูและธรรมชาติอย่างบาหลี หรือเมืองแห่งวัฒนธรรมชวาอย่างย็อกยาการ์ตา ทั้งๆ ที่บันดุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากเมืองหนึ่ง และมีความเป็นมาน่าสนใจไม่แพ้เมืองอื่นๆ เชียวค่ะ
onanong
 ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งเทศกาลเฉลิมฉลอง ทั้งวันคริสต์มาสและกำลังต่อด้วยปีใหม่ ดังนั้นดิฉันก็เลยถือโอกาสพูดถึงการอวยพรในภาษาอินโดนีเซียนะคะ 
onanong
 ในขณะที่ดิฉันกำลังคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีเพื่อคั่นการสอนภาษาอินโดนีเซีย คิดว่าถ้าสอนภาษาอินโดนีเซียทุกอาทิตย์มันจะน่าเบื่อเกินไป วันนี้ (19 ธันวาคม 2012) ก็ได้อ่านสเตตัสของเพื่อนชาวอาเจะห์ที่ใช้ชื่อว่า “Dody Maubelajar” ซึ่งน่าสนใจมาก ดิฉันจึงได้ขออนุญาตเขาแปลมาเผยแพร่ต่อสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์บาดแผลของประเทศอินโดนีเซีย