“สุสานของพ่อ”

19 December, 2012 - 21:41 -- onanong

 

ในขณะที่ดิฉันกำลังคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีเพื่อคั่นการสอนภาษาอินโดนีเซีย คิดว่าถ้าสอนภาษาอินโดนีเซียทุกอาทิตย์มันจะน่าเบื่อเกินไป วันนี้ (19 ธันวาคม 2012) ก็ได้อ่านสเตตัสของเพื่อนชาวอาเจะห์ที่ใช้ชื่อว่า “Dody Maubelajar” ซึ่งน่าสนใจมาก ดิฉันจึงได้ขออนุญาตเขาแปลมาเผยแพร่ต่อสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์บาดแผลของประเทศอินโดนีเซีย

สเตตัสดังกล่าวของ “Dody Maubelajar” ความว่า

Hari ini, 19 Desember 1948, Amir Sjarifuddin, mantan Perdana Mentri dan Mentri Pertahanan Republik Indonesia di jaman revolusi, dan penggagas Sumpah Pemuda, dibunuh bersama 11 orang lainya di Ngalihan, Solo. Usianya 41 tahun. Tentara dibawah Nasution, membangkang pada Presiden Soekarno yang menolak hukuman mati pada Amir Sjarifuddin dkk. Tengah malam, kolonel gatot subroto, mendatangi sel Amir dkk, membawa mereka ke pemakaman ngalihan yang sudah disiapkan untuk kuburan massal. Amir maju kedepan dan meminta menjadi orang yang dieksekusi pertama. Dengan memegang injil dia menyanyinkan lagu Indonesia Raya dan Internationale. lalu seorang letnan menembakan pistol dikepalanya.

Sang eksekutor, kolonel gatot subroto mati mendadak tahun 1962 karena stress. Diduga dia mengalami trauma akibat kejadian tersebut. Pada tahun 1950 mayat Amir dkk dimakamkan keluarga. Paska Gestok 1965, makam Amir dkk dihancurkan oleh militer dan terlarang untuk dikunjungi siapapun, termasuk keluarganya.

Baru sekitar tahun 2007, anak-anak Amir dapat mengunjungi makam ayahnya dan dengan bantuan Komnas Ham dan meminta ijin dari militer untuk memugar makam ayahnya. Anak bungsu Amir yang perempuan, didalam kandungan ibunya, ketika Amir di eksekusi. Hanya makam ayahnya yang menghubungkan dia dengan masa lalu.

Amir Sjarifuddin adalah bapak bangsa, patut dihormati dan dihargai oleh bangsanya sendiri.

แปลได้ว่า;

“วันนี้, 19 ธันวาคม 1948, อามีรฺ ชารีฟุดดิน (Amir Sjarifuddin), อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียในยุคสมัยปฏิวัติ, และผู้ริเริ่ม Sumpah Pemuda, ถูกสังหารพร้อมกับสหายอีก 11 คนที่งาลีฮัน, เมืองโซโล เมื่ออายุ 41 ปี ทหารภายใต้การนำของนาซูตียน (Nasution) ท้าทายประธานาธิบดีซูการ์โนที่ปฏิเสธโทษประหารชีวิตแก่อามีรฺ ชารีฟุดดินและสหาย เวลาเที่ยงคืน, พันเอก กาต๊อต ซูโบรโต (Gatot Subroto) นำตัวนักโทษอามีรฺและสหายไปยังสุสานงาลีฮันซึ่งได้ถูกเตรียมไว้สำหรับการฝังศพหมู่ อามีรฺก้าวออกไปข้างหน้าและขอเป็นคนแรกที่ถูกประหาร พร้อมกับที่ในมือถือพระเยซู เขาร้องเพลงอินโดนีเซียรายา (เพลงชาติอินโดนีเซีย) และเพลงอินเตอร์เนชันแนล แล้วนายร้อยโทคนหนึ่งก็ยิงเขาที่ศีรษะ

ผู้สั่งการ, พันเอก กาต๊อต ซูโบรโต เสียชีวิตอย่างกะทันหันเมื่อปี 1962 เพราะความเครียด คาดกันว่าเขามีอาการบอบช้ำทางจิตใจ (trauma) จากเหตุการณ์ดังกล่าว ในปี 1950 ศพของอามีรฺและสหายถูกฝังด้วยกัน แต่หลังจากเหตุการณ์ Gestok ในปี 1965 สุสานของอามีรฺและสหายถูกทำลายโดยทหารและห้ามเยี่ยมไม่ว่าใครทั้งสิ้น รวมถึงครอบครัวของเขาด้วย

เพิ่งจะประมาณปี 2007 ที่ลูกๆ ของอามีรฺสามารถไปเคารพสุสานของพ่อได้และด้วยความช่วยเหลือจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Komnas Ham) และขออนุญาตจากทหารเพื่อบูรณะสุสานของพ่อ ลูกสาวคนสุดท้องของอามีรฺอยู่ในท้องของแม่เมื่อตอนที่อามีรฺถูกประหารชีวิต มีเพียงแค่สุสานของพ่อเท่านั้นที่เชื่อมต่อเธอกับอดีต

อามีรฺ ชารีฟุดดินคือพ่อของชาติ, สมควรที่จะได้รับความเคารพและยกย่องโดยชาติของเขาเอง”

สเตตัสนี้ของเพื่อนชาวอาเจะห์สะท้อนประวัติศาสตร์บาดแผลของชาติอินโดนีเซียในยุคแห่งการปฏิวัติก่อนที่จะได้รับเอกราชอย่างแท้จริง คราวหน้าดิฉันจะขยายความประวัติศาสตร์ในช่วงดังกล่าวสำหรับท่านที่สนใจนะคะ