Skip to main content

จากข่าวเรื่องประเทศบรูไนประกาศใช้กม.ชารีอะห์นั้น ดิฉันมีความเห็นและข้อสังเกต 7 ประการค่ะ

1. บรูไนมีการ socialization กม.ชารีอะห์ก่อนที่จะมีประกาศใช้เป็นกฎหมายก่อนหน้านี้เป็นเวลาอย่างน้อยสองปี เมื่อเทียบกับอาเจะห์ที่ประกาศใช้กม.ชารีอะห์ก่อนที่จะมีการ socialization ซึ่งตัวอย่างจากการใช้กม.ชารีอะห์ที่อาเจะห์เห็นได้ชัดว่าคนขาดความรู้ความเข้าใจว่าอะไรคือ “กฎหมายชารีอะห์ในฐานะที่เป็นกฎหมาย” แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะกล่าวว่าตัวเองนั้นปฎิบัติตาม syariat Islam มาก่อนหน้าจะมีการประกาศให้ syariat Islam เป็นกฎหมายเสียอีก

2. คำว่า syariat Islam มันหมายถึงกฎหมายอิสลามอยู่แล้วในตัวของมันเอง ดังนั้นชาวมุสลิมทุกคนจะไม่พูดว่าตัวเองไม่เอา/ปฏิเสธ/ไม่สนับสนุน syariat Islam เพราะสำหรับมุสลิมทุกคน วิถีในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันนั่นคือการปฏิบัติตาม syariat Islam พูดง่ายๆ ว่าตั้งแต่เกิดจนตาย ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน ชีวิตของมุสลิมก็ดำเนินตาม syariat Islam อยู่แล้ว

3. ได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนอาจารย์ชาวออสเตรเลียที่ไปสอนหนังสือที่บรูไนอยู่หลายปี เธอเล่าว่ากม.ชารีอะห์ที่บรูไนไม่ได้น่ากลัว เคร่งครัดอย่างที่คิด ตำรวจศาสนาที่บรูไนไม่เคยจับคน มีไว้เหมือนให้คนมีอาชีพ กม.ชารีอะห์เหมือนมีเอาไว้เป็นสัญลักษณ์และเป็นเครื่องมือในการดำรงอยู่ของหลายกลุ่ม รวมถึงเอาไว้เพื่อต่อรองยืนยันอัตลักษณ์ในโลก ณ ปัจจุบันที่เรื่องกม.ชารีอะห์และอิสลามถูกยกขึ้นมาดีเบตอย่างมาก

4. โทษการตัดมือ การปาด้วยหินจนตาย ไม่ได้กระทำกันได้ง่ายๆ อย่างที่คิด จะต้องมีพยานเห็นการกระทำนั้นๆ เช่น ขโมยของ หรือผิดประเวณี ถึง 4 คน หมายความว่าด้วย 8 ตา และต้องเห็นกับตา เป็นคลิปวีดีโอก็ไม่นับ ในแง่นี้มีนักวิชาการหลายคนที่นี่กล่าวว่าโทษประหารที่ใช้กันในหลายๆ ประเทศที่เป็นรัฐทางโลกก็ป่าเถื่อนไม่น้อยไปกว่ากัน

5. ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนกับกม.ชารีอะห์ก็ยังเป็นการดีเบตกันอย่างกว้างขวาง สำหรับคนที่สนับสนุนกม.ชารีอะห์จะมีมุมมองว่ากม.ชารีอะห์นั่นแหละที่พิทักษ์รักษาสิทธิของมนุษย์โดยแท้ คนที่ถูกลงโทษก็เพราะขโมยของๆ คนอื่น ดังนั้นกม.ชารีอะห์ต่างหากที่จะช่วยให้หยุดการละเมิดสิทธิ

6. กม.ชารีอะห์ที่ใช้ทั้งในอาเจะห์และบรูไนไม่ได้ดำเนินตามแบบอย่างของประเทศในตะวันออกกลางที่เป็นรัฐอิสลาม หากแต่มีลักษณะเฉพาะตามแบบของตัวเอง โดยเฉพาะอาเจะห์ที่มีการผสมผสานกับ Adat (จารีต) ด้วย

7. ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ด้วยก็ตาม เราจำเป็นต้องเข้าใจการเรียกร้องกม.ชารีอะห์เพราะมันดูเหมือนจะเป็นเทร็นด์ในโลกมุสลิมในปัจจุบัน มีหลายชุมชนมุสลิมในหลายประเทศเรียกร้องกม.ชารีอะห์ เพราะว่าสำหรับพวกเขากม.ชารีอะห์คือกม.ของพระเจ้า ในหลายๆ พื้นที่การเรียกร้องกม.ชารีอะห์เกิดจากการที่กม.ทางโลกไม่สามารถเอื้อให้เกิดความเป็นธรรมได้ อย่างน้อยๆ ก็ในความรู้สึกของพวกเขา
 

บล็อกของ onanong

onanong
 ศัพท์ใหม่ (Kosa kata baru)Negara-negara (เนอการา เนอการา) ประเทศต่างๆ
onanong
 ห่างหายกันไปสักพักใหญ่นะคะสำหรับการสอนภาษาอินโดนีเซียผ่านบล็อก “Selamat Datang” คราวนี้ขอเสนอโครงสร้างประโยคบอกเล่าง่ายๆ ในภาษาอินโดนีเซียค่ะ
onanong
บทสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการกลุ่ม Tikar Pandan สถาบันทางวัฒนธรรมพร้อมกับสำนักพิมพ์ที่ไม่แสวงหากำไร และมีส่วนร่วมในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนอาเจะห์ ซึ่งเปิดพื้นที่มากกว่าการบอกเล่าแบบที่รัฐผลิตให้วาทกรรมการชื่นชมทหาร  และการบูชาวีรบุรุษของรัฐชาติ หากแต่ประชาชาชนจำนวนมากเช่นกันที่มีประวัติศาสตร์ความเจ็บปวดและเลวร้ายจากทหาร
onanong
 ตามคำเรียกร้องของแฟนบล็อกนะคะ คราวนี้ขอเสนอคำที่แสดงความรู้สึกในภาษาอินโดนีเซียพร้อมกับตัวอย่างการใช้ค่ะ
onanong
 เซอลามัต มาลัม (Selamat malam) สวัสดีตอนค่ำค่ะ ขอยึดเวลา ณ ตอนที่เขียนแล้วกันนะคะ คราวนี้จะขอพูดถึงการนับตัวเลขและลำดับที่ในภาษาอินโดนีเซียนะคะ
onanong
เชื่อว่าชื่อเมืองบันดุง ในประเทศอินโดนีเซียอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยเท่ากับเมืองหลวงอันแสนวุ่นวายอย่างจาการ์ตา, เมืองแห่งการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมฮินดูและธรรมชาติอย่างบาหลี หรือเมืองแห่งวัฒนธรรมชวาอย่างย็อกยาการ์ตา ทั้งๆ ที่บันดุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากเมืองหนึ่ง และมีความเป็นมาน่าสนใจไม่แพ้เมืองอื่นๆ เชียวค่ะ
onanong
 ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งเทศกาลเฉลิมฉลอง ทั้งวันคริสต์มาสและกำลังต่อด้วยปีใหม่ ดังนั้นดิฉันก็เลยถือโอกาสพูดถึงการอวยพรในภาษาอินโดนีเซียนะคะ 
onanong
 ในขณะที่ดิฉันกำลังคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีเพื่อคั่นการสอนภาษาอินโดนีเซีย คิดว่าถ้าสอนภาษาอินโดนีเซียทุกอาทิตย์มันจะน่าเบื่อเกินไป วันนี้ (19 ธันวาคม 2012) ก็ได้อ่านสเตตัสของเพื่อนชาวอาเจะห์ที่ใช้ชื่อว่า “Dody Maubelajar” ซึ่งน่าสนใจมาก ดิฉันจึงได้ขออนุญาตเขาแปลมาเผยแพร่ต่อสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์บาดแผลของประเทศอินโดนีเซีย