Skip to main content

จากข่าวเรื่องประเทศบรูไนประกาศใช้กม.ชารีอะห์นั้น ดิฉันมีความเห็นและข้อสังเกต 7 ประการค่ะ

1. บรูไนมีการ socialization กม.ชารีอะห์ก่อนที่จะมีประกาศใช้เป็นกฎหมายก่อนหน้านี้เป็นเวลาอย่างน้อยสองปี เมื่อเทียบกับอาเจะห์ที่ประกาศใช้กม.ชารีอะห์ก่อนที่จะมีการ socialization ซึ่งตัวอย่างจากการใช้กม.ชารีอะห์ที่อาเจะห์เห็นได้ชัดว่าคนขาดความรู้ความเข้าใจว่าอะไรคือ “กฎหมายชารีอะห์ในฐานะที่เป็นกฎหมาย” แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะกล่าวว่าตัวเองนั้นปฎิบัติตาม syariat Islam มาก่อนหน้าจะมีการประกาศให้ syariat Islam เป็นกฎหมายเสียอีก

2. คำว่า syariat Islam มันหมายถึงกฎหมายอิสลามอยู่แล้วในตัวของมันเอง ดังนั้นชาวมุสลิมทุกคนจะไม่พูดว่าตัวเองไม่เอา/ปฏิเสธ/ไม่สนับสนุน syariat Islam เพราะสำหรับมุสลิมทุกคน วิถีในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันนั่นคือการปฏิบัติตาม syariat Islam พูดง่ายๆ ว่าตั้งแต่เกิดจนตาย ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน ชีวิตของมุสลิมก็ดำเนินตาม syariat Islam อยู่แล้ว

3. ได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนอาจารย์ชาวออสเตรเลียที่ไปสอนหนังสือที่บรูไนอยู่หลายปี เธอเล่าว่ากม.ชารีอะห์ที่บรูไนไม่ได้น่ากลัว เคร่งครัดอย่างที่คิด ตำรวจศาสนาที่บรูไนไม่เคยจับคน มีไว้เหมือนให้คนมีอาชีพ กม.ชารีอะห์เหมือนมีเอาไว้เป็นสัญลักษณ์และเป็นเครื่องมือในการดำรงอยู่ของหลายกลุ่ม รวมถึงเอาไว้เพื่อต่อรองยืนยันอัตลักษณ์ในโลก ณ ปัจจุบันที่เรื่องกม.ชารีอะห์และอิสลามถูกยกขึ้นมาดีเบตอย่างมาก

4. โทษการตัดมือ การปาด้วยหินจนตาย ไม่ได้กระทำกันได้ง่ายๆ อย่างที่คิด จะต้องมีพยานเห็นการกระทำนั้นๆ เช่น ขโมยของ หรือผิดประเวณี ถึง 4 คน หมายความว่าด้วย 8 ตา และต้องเห็นกับตา เป็นคลิปวีดีโอก็ไม่นับ ในแง่นี้มีนักวิชาการหลายคนที่นี่กล่าวว่าโทษประหารที่ใช้กันในหลายๆ ประเทศที่เป็นรัฐทางโลกก็ป่าเถื่อนไม่น้อยไปกว่ากัน

5. ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนกับกม.ชารีอะห์ก็ยังเป็นการดีเบตกันอย่างกว้างขวาง สำหรับคนที่สนับสนุนกม.ชารีอะห์จะมีมุมมองว่ากม.ชารีอะห์นั่นแหละที่พิทักษ์รักษาสิทธิของมนุษย์โดยแท้ คนที่ถูกลงโทษก็เพราะขโมยของๆ คนอื่น ดังนั้นกม.ชารีอะห์ต่างหากที่จะช่วยให้หยุดการละเมิดสิทธิ

6. กม.ชารีอะห์ที่ใช้ทั้งในอาเจะห์และบรูไนไม่ได้ดำเนินตามแบบอย่างของประเทศในตะวันออกกลางที่เป็นรัฐอิสลาม หากแต่มีลักษณะเฉพาะตามแบบของตัวเอง โดยเฉพาะอาเจะห์ที่มีการผสมผสานกับ Adat (จารีต) ด้วย

7. ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ด้วยก็ตาม เราจำเป็นต้องเข้าใจการเรียกร้องกม.ชารีอะห์เพราะมันดูเหมือนจะเป็นเทร็นด์ในโลกมุสลิมในปัจจุบัน มีหลายชุมชนมุสลิมในหลายประเทศเรียกร้องกม.ชารีอะห์ เพราะว่าสำหรับพวกเขากม.ชารีอะห์คือกม.ของพระเจ้า ในหลายๆ พื้นที่การเรียกร้องกม.ชารีอะห์เกิดจากการที่กม.ทางโลกไม่สามารถเอื้อให้เกิดความเป็นธรรมได้ อย่างน้อยๆ ก็ในความรู้สึกของพวกเขา
 

บล็อกของ onanong

onanong
  คราวนี้จะขอพูดถึงคำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนะคะ คำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนั้นมีอยู่มากมายเพราะเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นและมรรยาทมากเหมือนของไทย การแทนตัวผู้พูดกับผู้ฟังจะขึ้นอยู่กับวัยวุฒิ และสถานะของคนที่เราพูดด้วย
onanong
 มาเรียนภาษาอินโดนีเซียกันต่อนะคะ คราวนี้จะเป็นพยัญชนะและสระประสมนะคะ และแถมด้วยคำที่ออกเสียงใกล้ๆ กันแต่ความหมายไปคนละเรื่องเลยค่ะ
onanong
ตามสัญญานะคะ คราวนี้จะเป็นการสอนภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน วันนี้ขอเริ่มด้วยการออกเสียงพยัญชนะ และสระนะคะ สำหรับผู้ที่ต้องการให้สอนภาษาอินโดนีเซียในระดับที่ยากขึ้นไป อดใจรอหน่อยนะคะ จะค่อยๆ เพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
onanong
คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน พ-ม
onanong
วันที่ 28 ตุลาคมถือเป็นวันกำเนิดภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมีที่มานั้นน่าสนใจยิ่งว่ามาจากการประกาศ“ คำสาบานของเยาวชน” ประธานของสโมสรนักเรียนอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ปี 1928
onanong
“Indonesia Mengajar” เป็นโครงการที่ถ้าเรียกเป็นภาษาไทยก็น่าจะประมาณ “ครูอาสาอินโดนีเซีย” ซึ่งความสำเร็จของมันอาจหมายถึงการทำให้คนอินโดนีเซียหวนคิดถึงยุคสมัยแห่งการสร้างชาติ, คิดถึงชาติที่ unity แต่ในมุมกลับก็มีคำถามบางอย่างเช่นกัน
onanong
ต่อค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน ดิฉันต้องขอชี้แจง (อีกครั้ง-เผื่อท่านที่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน) ว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บาง
onanong
นานมาแล้วมีลูกศิษย์ที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ ขอให้ช่วยสอนคำทักทายภาษาอินโดง่ายๆ เพราะที่นั่นเขามีเพื่อนชาวอินโดอยู่จำนวนหนึ่ง แล้วเขาอยากจะทักทายเพื่อนๆ เป็นภาษาอินโดบ้าง ดิฉันก็เลยจัดให้ และยังเก็บไฟล์ไว้ เลยคิดว่าเผื่อจะมีท่านที่สนใจอยากทราบบ้างค่ะ
onanong
มาแล้วค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี สันสกฤต ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ
onanong
วันนี้ขอสลับพูดถึงคำขวัญของประเทศอินโดนีเซียนะคะ สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการติดตามคำภาษามลายู อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายคำภาษาไทยในพจนานุกรมฉบับมติชนไม่ต้องกังวลนะคะ จะทยอยนำเสนอต่อไปค่ะ และก็ท่านที่คิดว่า...โอ้ย...จะรออ่านจนครบ ฮ เมื่อไหร่เนี่ย ... มันไม่ได้ยาวขนาดนั้นค่ะ คิดว่าซักห้าหกครั้งก็จบพอดีค่ะ