Skip to main content

เซอลามัต มาลัม (Selamat malam) สวัสดีตอนกลางคืนค่ะ ขอยึดเวลา ณ ตอนที่เขียนแล้วกันนะคะ คราวนี้จะขอพูดถึงคำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนะคะ

คำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนั้นมีอยู่มากมายเพราะเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นและมรรยาทมากเหมือนของไทย การแทนตัวผู้พูดกับผู้ฟังจะขึ้นอยู่กับวัยวุฒิ และสถานะของคนที่เราพูดด้วย

 

เอกพจน์

พหูพจน์

สรรพนามบุรุษที่ 1

(แทนคนพูด)

 

saya  (ซา-ยา) แปลว่า “ฉัน”

ใช้เมื่อพูดกับคนทั่วไปทั้งที่อายุมากกว่าหรือน้อยกว่า เป็นคำสุภาพ สำหรับคนที่เพิ่งเรียนภาษาอินโดนีเซีย แนะนำให้ใช้คำนี้เวลาคุยกับคนอื่นค่ะ ถ้ารู้สึกว่าสนิทพอแล้วจะใช้คำถัดไปก็ได้ค่ะ

aku  (อา-กู) แปลว่า “ฉัน”

ใช้เมื่อพูดกับคนอายุเท่ากันหรือน้อยกว่า หรืออายุมากกว่าก็ได้หากรู้สึกว่าสนิทกัน

gue (กู-เว) แปลว่า “ฉัน, ข้า, กู”

ใช้เมื่อพูดกับคนอายุเท่ากันหรือน้อยกว่า เป็นศัพท์วัยรุ่น (แต่ก็เห็นคนที่ไม่วัยรุ่นหลายคนใช้กันค่ะ) สรรพนามในภาพยนตร์ส่วนใหญ่ใช้คำนี้ค่ะ คำนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีน และเพิ่งแพร่หลายเมื่อสักประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมา

kita = คี-ตา, กี-ตา แปลว่า “พวกเรา”

รวมคนฟังด้วย เช่น Kita makan yuk! แปลว่า “พวกเรากินกันเถอะ” หมายถึงพวกเราทุกคนในที่นี้

kami = คา-มี, กา-มี แปลว่า “พวกเรา”

ไม่รวมคนฟัง เช่น Kami akan pergi. แปลว่า “พวกเราจะไป (แกไม่เกี่ยว)” หมายความว่า พวกเรา (ที่กำลังเป็นผู้พูด) จะไป คนฟังไม่ได้ไปด้วย

สรรพนามบุรุษที่ 2

(แทนคนฟัง)

 

saudara (เซา-ดา-รา)  แปลว่า “ท่าน”

ใช้กับคนที่เราเคารพมากๆ หรือมียศถาบรรดาศักดิ์สูงส่ง หรือเป็นการเรียกแบบเป็นทางการมากๆ

ibu (อี-บู) แปลว่า “คุณผู้หญิง, คุณ”

จริงๆ แล้ว “อีบู” แปลอีกแบบว่า “แม่” แต่ในกรณีที่เป็นสรรพนาม จะใช้เรียกผู้หญิงที่เราคุยด้วย โดยมากมักจะเรียกหญิงที่สูงวัยกว่าเรา แต่บางครั้งก็เป็นคำเรียกที่สุภาพใช้เรียกผู้หญิงที่เป็นผู้ใหญ่ เทียบเท่ากับ Mrs. ในภาษาอังกฤษ

bapak (บา-ปะกฺ) แปลว่า “คุณผู้ชาย, คุณ”

คำว่า “บา-ปะกฺ” แปลได้อีกแบบว่า “พ่อ” แต่ในกรณีที่เป็นสรรพนาม จะใช้เรียกผู้ชายที่เราคุยด้วย โดยมากมักจะเรียกชายที่สูงวัยกว่าเรา แต่บางครั้งก็เป็นคำเรียกที่สุภาพใช้เรียกผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่ เทียบเท่ากับ Mr. ในภาษาอังกฤษ

mas (มัสฺ) แปลว่า “พี่ผู้ชาย, คุณ”

ใช้เรียกผู้ชายที่เราคุยด้วยที่ยังไม่แก่เท่า bapak หรือใช้เรียกคนทั่วไปตามร้านขายของ, ร้านอาหาร ก็ได้ค่ะ

mbak  (เอิม-บะกฺ) แปลว่า “พี่ผู้หญิง, คุณ”

ใช้เรียกผู้หญิงที่เราคุยด้วยที่ยังไม่แก่เท่า ibu หรือใช้เรียกคนทั่วไปตามร้านขายของ, ร้านอาหาร ก็ได้ค่ะ

Anda (อัน-ดา) แปลว่า “คุณ”

ใช้เรียกได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ใช้ได้กับคนทั่วไปทั้งที่อายุมากกว่าไม่มาก (ถ้ามากกว่ามากๆ หรือต้องการแสดงความสุภาพก็ใช้ bapak หรือ ibu เลยค่ะ) หรือน้อยกว่า เป็นคำสุภาพ สำหรับคนที่เพิ่งเรียนภาษาอินโดนีเซีย แนะนำให้ใช้คำนี้เวลาคุยกับคนอื่นค่ะ ถ้ารู้สึกว่าสนิทพอแล้วจะใช้คำถัดไปก็ได้ค่ะ ที่สำคัญคำว่า Anda ไม่ว่าอยู่ที่ไหนในประโยคก็ต้องเขียนด้วยตัวใหญ่เสมอค่ะ

kamu (กา-มู) แปลว่า “เธอ”

ใช้เรียกคนที่อายุเท่ากันหรือน้อยกว่า หรืออายุมากกว่าก็ได้หากรู้สึกว่าสนิทกัน

engkau, kau (เอิง-เกา, เกา) แปลว่า “เอ็ง, แก”

ใช้เรียกคนที่อายุเท่ากันหรือน้อยกว่า หรืออายุมากกว่าก็ได้หากรู้สึกว่าสนิทกัน ปัจจุบันไม่ค่อยพบคำนี้ในภาษาพูดปกติ มักพบในเพลงหรือบทกวีมากกว่า

lu (ลู) แปลว่า “มึง, แก”

ใช้เรียกคนอายุเท่ากันหรือน้อยกว่า เป็นศัพท์วัยรุ่น (แต่ก็เห็นคนที่ไม่วัยรุ่นหลายคนใช้กันค่ะ) สรรพนามในภาพยนตร์ส่วนใหญ่ใช้คำนี้ค่ะ คำนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีน และเพิ่งแพร่หลายเมื่อสักประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมา

saudara-saudari (เซา-ดา-รา เซา-ดา-รี) แปลว่า “ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี”

ใช้ในงานที่เป็นทางการมากๆ

 

ibu-ibu (อี-บู อี-บู) แปลว่า “คุณผู้หญิงหลายคน, พวกคุณ”

ในภาษาอินโดนีเซีย การซ้ำคำเป็นการแสดงพหูพจน์

ibu-ibu semua (อี-บู อี-บู เซอ-มัว) แปลว่า “คุณผู้หญิงหลายคน, พวกคุณ”

เซอมัว แปลว่า “ทั้งหมด, ทั้งหลาย”

bapak-bapak (บา-ปะกฺ บา-ปะกฺ) แปลว่า “คุณผู้ชายทั้งหลาย, พวกคุณ”

bapak-bapak semua (บา-ปะกฺ บา-ปะกฺ เซอ-มัว) แปลว่า “คุณผู้ชายทั้งหลาย, พวกคุณ”

bapak-bapak ibu-ibu semua (บา-ปะกฺ บา-ปะกฺ อี-บู อี-บู เซอ-มัว) แปลว่า “คุณผู้ชาย คุณผู้หญิงทั้งหลาย, พวกคุณ”

Anda semua (อัน-ดา เซอ-มัว) แปลว่า “พวกคุณทั้งหลาย, พวกคุณทั้งหมด”

Anda sekalian (อัน-ดา เซอ-กา-เลียน) แปลว่า “พวกคุณทั้งหลาย, พวกคุณทั้งหมด”

kalian (กา-เลียน) แปลว่า “พวกคุณ”

 

สรรพนามบุรุษที่ 3

(แทนคนที่เราพูดถึง)

beliau (บอ-เลียว) แปลว่า “ท่าน”

เมื่อพูดถึงคนที่เราเคารพมากๆ หรือมียศถาบรรดาศักดิ์สูงส่ง

dia (เดีย) แปลว่า “เขา, เธอ, มัน”

ใช้เมื่อพูดถึงคนอื่น ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และบางครั้งใช้เรียกสัตว์ได้ด้วย

ia (เอีย) แปลว่า “เขา, เธอ, มัน”

เป็นคำย่อของ dia

 

mereka (เมอ-เร-กะ) แปลว่า “พวกเขา, พวกมัน”

ใช้เมื่อพูดถึงกลุ่มคนอื่น ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และบางครั้งใช้เรียกสัตว์ได้ด้วย

 

 

 

บล็อกของ onanong

onanong
 ศัพท์ใหม่ (Kosa kata baru)Negara-negara (เนอการา เนอการา) ประเทศต่างๆ
onanong
 ห่างหายกันไปสักพักใหญ่นะคะสำหรับการสอนภาษาอินโดนีเซียผ่านบล็อก “Selamat Datang” คราวนี้ขอเสนอโครงสร้างประโยคบอกเล่าง่ายๆ ในภาษาอินโดนีเซียค่ะ
onanong
บทสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการกลุ่ม Tikar Pandan สถาบันทางวัฒนธรรมพร้อมกับสำนักพิมพ์ที่ไม่แสวงหากำไร และมีส่วนร่วมในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนอาเจะห์ ซึ่งเปิดพื้นที่มากกว่าการบอกเล่าแบบที่รัฐผลิตให้วาทกรรมการชื่นชมทหาร  และการบูชาวีรบุรุษของรัฐชาติ หากแต่ประชาชาชนจำนวนมากเช่นกันที่มีประวัติศาสตร์ความเจ็บปวดและเลวร้ายจากทหาร
onanong
 ตามคำเรียกร้องของแฟนบล็อกนะคะ คราวนี้ขอเสนอคำที่แสดงความรู้สึกในภาษาอินโดนีเซียพร้อมกับตัวอย่างการใช้ค่ะ
onanong
 เซอลามัต มาลัม (Selamat malam) สวัสดีตอนค่ำค่ะ ขอยึดเวลา ณ ตอนที่เขียนแล้วกันนะคะ คราวนี้จะขอพูดถึงการนับตัวเลขและลำดับที่ในภาษาอินโดนีเซียนะคะ
onanong
เชื่อว่าชื่อเมืองบันดุง ในประเทศอินโดนีเซียอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยเท่ากับเมืองหลวงอันแสนวุ่นวายอย่างจาการ์ตา, เมืองแห่งการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมฮินดูและธรรมชาติอย่างบาหลี หรือเมืองแห่งวัฒนธรรมชวาอย่างย็อกยาการ์ตา ทั้งๆ ที่บันดุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากเมืองหนึ่ง และมีความเป็นมาน่าสนใจไม่แพ้เมืองอื่นๆ เชียวค่ะ
onanong
 ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งเทศกาลเฉลิมฉลอง ทั้งวันคริสต์มาสและกำลังต่อด้วยปีใหม่ ดังนั้นดิฉันก็เลยถือโอกาสพูดถึงการอวยพรในภาษาอินโดนีเซียนะคะ 
onanong
 ในขณะที่ดิฉันกำลังคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีเพื่อคั่นการสอนภาษาอินโดนีเซีย คิดว่าถ้าสอนภาษาอินโดนีเซียทุกอาทิตย์มันจะน่าเบื่อเกินไป วันนี้ (19 ธันวาคม 2012) ก็ได้อ่านสเตตัสของเพื่อนชาวอาเจะห์ที่ใช้ชื่อว่า “Dody Maubelajar” ซึ่งน่าสนใจมาก ดิฉันจึงได้ขออนุญาตเขาแปลมาเผยแพร่ต่อสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์บาดแผลของประเทศอินโดนีเซีย