Skip to main content

เซอลามัต มาลัม (Selamat malam) สวัสดีตอนกลางคืนค่ะ ขอยึดเวลา ณ ตอนที่เขียนแล้วกันนะคะ คราวนี้จะขอพูดถึงคำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนะคะ

คำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนั้นมีอยู่มากมายเพราะเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นและมรรยาทมากเหมือนของไทย การแทนตัวผู้พูดกับผู้ฟังจะขึ้นอยู่กับวัยวุฒิ และสถานะของคนที่เราพูดด้วย

 

เอกพจน์

พหูพจน์

สรรพนามบุรุษที่ 1

(แทนคนพูด)

 

saya  (ซา-ยา) แปลว่า “ฉัน”

ใช้เมื่อพูดกับคนทั่วไปทั้งที่อายุมากกว่าหรือน้อยกว่า เป็นคำสุภาพ สำหรับคนที่เพิ่งเรียนภาษาอินโดนีเซีย แนะนำให้ใช้คำนี้เวลาคุยกับคนอื่นค่ะ ถ้ารู้สึกว่าสนิทพอแล้วจะใช้คำถัดไปก็ได้ค่ะ

aku  (อา-กู) แปลว่า “ฉัน”

ใช้เมื่อพูดกับคนอายุเท่ากันหรือน้อยกว่า หรืออายุมากกว่าก็ได้หากรู้สึกว่าสนิทกัน

gue (กู-เว) แปลว่า “ฉัน, ข้า, กู”

ใช้เมื่อพูดกับคนอายุเท่ากันหรือน้อยกว่า เป็นศัพท์วัยรุ่น (แต่ก็เห็นคนที่ไม่วัยรุ่นหลายคนใช้กันค่ะ) สรรพนามในภาพยนตร์ส่วนใหญ่ใช้คำนี้ค่ะ คำนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีน และเพิ่งแพร่หลายเมื่อสักประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมา

kita = คี-ตา, กี-ตา แปลว่า “พวกเรา”

รวมคนฟังด้วย เช่น Kita makan yuk! แปลว่า “พวกเรากินกันเถอะ” หมายถึงพวกเราทุกคนในที่นี้

kami = คา-มี, กา-มี แปลว่า “พวกเรา”

ไม่รวมคนฟัง เช่น Kami akan pergi. แปลว่า “พวกเราจะไป (แกไม่เกี่ยว)” หมายความว่า พวกเรา (ที่กำลังเป็นผู้พูด) จะไป คนฟังไม่ได้ไปด้วย

สรรพนามบุรุษที่ 2

(แทนคนฟัง)

 

saudara (เซา-ดา-รา)  แปลว่า “ท่าน”

ใช้กับคนที่เราเคารพมากๆ หรือมียศถาบรรดาศักดิ์สูงส่ง หรือเป็นการเรียกแบบเป็นทางการมากๆ

ibu (อี-บู) แปลว่า “คุณผู้หญิง, คุณ”

จริงๆ แล้ว “อีบู” แปลอีกแบบว่า “แม่” แต่ในกรณีที่เป็นสรรพนาม จะใช้เรียกผู้หญิงที่เราคุยด้วย โดยมากมักจะเรียกหญิงที่สูงวัยกว่าเรา แต่บางครั้งก็เป็นคำเรียกที่สุภาพใช้เรียกผู้หญิงที่เป็นผู้ใหญ่ เทียบเท่ากับ Mrs. ในภาษาอังกฤษ

bapak (บา-ปะกฺ) แปลว่า “คุณผู้ชาย, คุณ”

คำว่า “บา-ปะกฺ” แปลได้อีกแบบว่า “พ่อ” แต่ในกรณีที่เป็นสรรพนาม จะใช้เรียกผู้ชายที่เราคุยด้วย โดยมากมักจะเรียกชายที่สูงวัยกว่าเรา แต่บางครั้งก็เป็นคำเรียกที่สุภาพใช้เรียกผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่ เทียบเท่ากับ Mr. ในภาษาอังกฤษ

mas (มัสฺ) แปลว่า “พี่ผู้ชาย, คุณ”

ใช้เรียกผู้ชายที่เราคุยด้วยที่ยังไม่แก่เท่า bapak หรือใช้เรียกคนทั่วไปตามร้านขายของ, ร้านอาหาร ก็ได้ค่ะ

mbak  (เอิม-บะกฺ) แปลว่า “พี่ผู้หญิง, คุณ”

ใช้เรียกผู้หญิงที่เราคุยด้วยที่ยังไม่แก่เท่า ibu หรือใช้เรียกคนทั่วไปตามร้านขายของ, ร้านอาหาร ก็ได้ค่ะ

Anda (อัน-ดา) แปลว่า “คุณ”

ใช้เรียกได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ใช้ได้กับคนทั่วไปทั้งที่อายุมากกว่าไม่มาก (ถ้ามากกว่ามากๆ หรือต้องการแสดงความสุภาพก็ใช้ bapak หรือ ibu เลยค่ะ) หรือน้อยกว่า เป็นคำสุภาพ สำหรับคนที่เพิ่งเรียนภาษาอินโดนีเซีย แนะนำให้ใช้คำนี้เวลาคุยกับคนอื่นค่ะ ถ้ารู้สึกว่าสนิทพอแล้วจะใช้คำถัดไปก็ได้ค่ะ ที่สำคัญคำว่า Anda ไม่ว่าอยู่ที่ไหนในประโยคก็ต้องเขียนด้วยตัวใหญ่เสมอค่ะ

kamu (กา-มู) แปลว่า “เธอ”

ใช้เรียกคนที่อายุเท่ากันหรือน้อยกว่า หรืออายุมากกว่าก็ได้หากรู้สึกว่าสนิทกัน

engkau, kau (เอิง-เกา, เกา) แปลว่า “เอ็ง, แก”

ใช้เรียกคนที่อายุเท่ากันหรือน้อยกว่า หรืออายุมากกว่าก็ได้หากรู้สึกว่าสนิทกัน ปัจจุบันไม่ค่อยพบคำนี้ในภาษาพูดปกติ มักพบในเพลงหรือบทกวีมากกว่า

lu (ลู) แปลว่า “มึง, แก”

ใช้เรียกคนอายุเท่ากันหรือน้อยกว่า เป็นศัพท์วัยรุ่น (แต่ก็เห็นคนที่ไม่วัยรุ่นหลายคนใช้กันค่ะ) สรรพนามในภาพยนตร์ส่วนใหญ่ใช้คำนี้ค่ะ คำนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีน และเพิ่งแพร่หลายเมื่อสักประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมา

saudara-saudari (เซา-ดา-รา เซา-ดา-รี) แปลว่า “ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี”

ใช้ในงานที่เป็นทางการมากๆ

 

ibu-ibu (อี-บู อี-บู) แปลว่า “คุณผู้หญิงหลายคน, พวกคุณ”

ในภาษาอินโดนีเซีย การซ้ำคำเป็นการแสดงพหูพจน์

ibu-ibu semua (อี-บู อี-บู เซอ-มัว) แปลว่า “คุณผู้หญิงหลายคน, พวกคุณ”

เซอมัว แปลว่า “ทั้งหมด, ทั้งหลาย”

bapak-bapak (บา-ปะกฺ บา-ปะกฺ) แปลว่า “คุณผู้ชายทั้งหลาย, พวกคุณ”

bapak-bapak semua (บา-ปะกฺ บา-ปะกฺ เซอ-มัว) แปลว่า “คุณผู้ชายทั้งหลาย, พวกคุณ”

bapak-bapak ibu-ibu semua (บา-ปะกฺ บา-ปะกฺ อี-บู อี-บู เซอ-มัว) แปลว่า “คุณผู้ชาย คุณผู้หญิงทั้งหลาย, พวกคุณ”

Anda semua (อัน-ดา เซอ-มัว) แปลว่า “พวกคุณทั้งหลาย, พวกคุณทั้งหมด”

Anda sekalian (อัน-ดา เซอ-กา-เลียน) แปลว่า “พวกคุณทั้งหลาย, พวกคุณทั้งหมด”

kalian (กา-เลียน) แปลว่า “พวกคุณ”

 

สรรพนามบุรุษที่ 3

(แทนคนที่เราพูดถึง)

beliau (บอ-เลียว) แปลว่า “ท่าน”

เมื่อพูดถึงคนที่เราเคารพมากๆ หรือมียศถาบรรดาศักดิ์สูงส่ง

dia (เดีย) แปลว่า “เขา, เธอ, มัน”

ใช้เมื่อพูดถึงคนอื่น ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และบางครั้งใช้เรียกสัตว์ได้ด้วย

ia (เอีย) แปลว่า “เขา, เธอ, มัน”

เป็นคำย่อของ dia

 

mereka (เมอ-เร-กะ) แปลว่า “พวกเขา, พวกมัน”

ใช้เมื่อพูดถึงกลุ่มคนอื่น ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และบางครั้งใช้เรียกสัตว์ได้ด้วย

 

 

 

บล็อกของ onanong

onanong
  คราวนี้จะขอพูดถึงคำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนะคะ คำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนั้นมีอยู่มากมายเพราะเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นและมรรยาทมากเหมือนของไทย การแทนตัวผู้พูดกับผู้ฟังจะขึ้นอยู่กับวัยวุฒิ และสถานะของคนที่เราพูดด้วย
onanong
 มาเรียนภาษาอินโดนีเซียกันต่อนะคะ คราวนี้จะเป็นพยัญชนะและสระประสมนะคะ และแถมด้วยคำที่ออกเสียงใกล้ๆ กันแต่ความหมายไปคนละเรื่องเลยค่ะ
onanong
ตามสัญญานะคะ คราวนี้จะเป็นการสอนภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน วันนี้ขอเริ่มด้วยการออกเสียงพยัญชนะ และสระนะคะ สำหรับผู้ที่ต้องการให้สอนภาษาอินโดนีเซียในระดับที่ยากขึ้นไป อดใจรอหน่อยนะคะ จะค่อยๆ เพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
onanong
คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน พ-ม
onanong
วันที่ 28 ตุลาคมถือเป็นวันกำเนิดภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมีที่มานั้นน่าสนใจยิ่งว่ามาจากการประกาศ“ คำสาบานของเยาวชน” ประธานของสโมสรนักเรียนอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ปี 1928
onanong
“Indonesia Mengajar” เป็นโครงการที่ถ้าเรียกเป็นภาษาไทยก็น่าจะประมาณ “ครูอาสาอินโดนีเซีย” ซึ่งความสำเร็จของมันอาจหมายถึงการทำให้คนอินโดนีเซียหวนคิดถึงยุคสมัยแห่งการสร้างชาติ, คิดถึงชาติที่ unity แต่ในมุมกลับก็มีคำถามบางอย่างเช่นกัน
onanong
ต่อค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน ดิฉันต้องขอชี้แจง (อีกครั้ง-เผื่อท่านที่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน) ว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บาง
onanong
นานมาแล้วมีลูกศิษย์ที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ ขอให้ช่วยสอนคำทักทายภาษาอินโดง่ายๆ เพราะที่นั่นเขามีเพื่อนชาวอินโดอยู่จำนวนหนึ่ง แล้วเขาอยากจะทักทายเพื่อนๆ เป็นภาษาอินโดบ้าง ดิฉันก็เลยจัดให้ และยังเก็บไฟล์ไว้ เลยคิดว่าเผื่อจะมีท่านที่สนใจอยากทราบบ้างค่ะ
onanong
มาแล้วค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี สันสกฤต ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ
onanong
วันนี้ขอสลับพูดถึงคำขวัญของประเทศอินโดนีเซียนะคะ สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการติดตามคำภาษามลายู อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายคำภาษาไทยในพจนานุกรมฉบับมติชนไม่ต้องกังวลนะคะ จะทยอยนำเสนอต่อไปค่ะ และก็ท่านที่คิดว่า...โอ้ย...จะรออ่านจนครบ ฮ เมื่อไหร่เนี่ย ... มันไม่ได้ยาวขนาดนั้นค่ะ คิดว่าซักห้าหกครั้งก็จบพอดีค่ะ