Skip to main content

คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน พ-ม

ต่อค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา ไทยในพจนานุกรมฉบับมติชน ดิฉันต้องขอชี้แจง (อีกครั้ง-เผื่อ ท่านที่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน) ว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี, สันสกฤต, จีน และ อื่นๆ ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ ส่วนคำใดจะมาทางใดนั้น ณ ตอนนี้ดิฉันไม่มีเวลาค้นคว้าต่อนะคะ และเลขหน้าที่ระบุในตารางด้านล่างนี้หมายถึงเลขหน้าในพจนานุกรมฉบับมติชนนะคะ

สำหรับวันนี้ขอเสนอ พ ถึง ม ค่ะ

อนึ่งเนื่องจากมีท่านผู้อ่านจำนวนหนึ่งต้องการเรียนภาษาอินโดนีเซีย ดังนั้นในโอกาสต่อๆ ไป ดิฉันจะสลับกับการสอนภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อนนะคะ

คำศัพท์

เลขหน้า

ตัวเขียน

ในภาษามลายู/

อินโดนีเซีย *

ตัวเขียน

ในภาษาชวา

คำอ่าน

ความหมาย

- -

 

 

 

 

 

พจน,พจน์

602

wacana  

 

วา-จา-นา

ถ้อยคำ, วจนะการสนทนา,การบรรยาย, การอภิปราย,สุนทรพจน์, คำปราศรัย, วาทกรรม

พรหม,พรหม-

607

brahma

 

บระฮฺ-มา

พรหม

พรหเมศวร

608

parameswara

 

ปา-รา-เมส-วา-รา

พระพรหมผู้เป็นใหญ่

พราหมณ์

611

brahma

 

บระฮฺ-มา

พราหมณ์

พวก

615

puak

 

พู-วัก

 

พวก, หมู่, กลุ่ม

พะงาบ, พะงาบ ๆ

618

tercungap-cungap

 

เตอรฺ-จู-งาบ, เตอรฺ-จู-งาบ-จู-งาบ

อาการอ้าปากและหุบลงช้าๆ สลับกันไป

พันตู

620

pentung

pentung-pentung

 

เปิน-ตุง

เปิน-ตุง-เปิน-ตุง

ไม้ที่เอาไว้ใช้ตี

ทะเลาะวิวาท, ขัดแย้งกัน

พายุ

622

bayu

 

บา-ยู

ลมสายลมเทพเจ้าแห่งสายลมในศาสนาฮินดู

พาหุ

622

bahu

 

บา-ฮู

ไหล่บ่าสะบักกระดูดข้อต่อที่ไหล่ไหล่เขา

พีระ

627

wira

 

วี-ระ

นักรบผู้กล้า

- -

 

 

 

 

 

ภักดี

650

bakti

 

บัก-ตี

การแสดงความจงรักภักดีการแสดงความเคารพการบูชาการอุทิศตัวการบริหารศรัทธาความเชื่อถือความซื่อสัตย์

ภาษา

652

bahasa

 

บา-ฮา-ซา

ภาษา

ภิกขุ, ภิกษุ

653

biksu    

 

บิก-ซู

พระภิกษุ

ภิกษุณี

653

biksuni 

 

บิก-ซู-นี

แม่ชีนางชี, ผู้หญิงที่บวชเป็นพระในพุทธศาสนา

ภูมิ

654

bumi

 

บู-มี

แผ่นดิน

ภูษา

655

busana 

 

บู-ซา-นา

เสื้อผ้าอาภรณ์

- -

 

 

 

 

 

มกุฎ

658

mahkota

 

มะห์-โก-ตา

มงกุฎ, มาลัย,มาลัยสวมศีรษะ,เครื่องประดับสำหรับศีรษะ

มณฑล

658

mandala

 

มาน-ดา-ลา

พื้นที่, เนื้อที่, อาณาบริเวณ, เขต, พื้นที่หรือสนามปฏิบัติการ

มธุ

659

madu

 

มา-ดู

น้ำผึ้ง

มนต์, มนตร์

659

mentera

 

เมิน-เตอ-รา

คำสำหรับสวดหรือเสกเป่า

มนตรี

660

menteri

 

เมิน-เตอ-รี

ที่ปรึกษา, ผู้แนะนำ, ที่ปรึกษาราชการ

มนุษย์

660

manusia

 

มา-นู-เซีย

มนุษย์

มโนราห์

660

menora

 

เมอ-โน-รา

มโนราห์

มลายู

663

Melayu

 

เมอ-ลา-ยู

ชาวมลายู,ภาษามลายู, เกี่ยวกับมลายู (ประเทศภาษา,วัฒนธรรมหรืออื่นๆ)

มหา

664

maha

 

มา-หา

ยิ่งใหญ่

มหาเทพี, มหาเทวี

665

Mahadéwi           

 

มา-หา-เด-วี

เทพเจ้า Batara Durga

มหาภารตะ

665

Mahabharata           

 

มา-หา-ภา-รา-ตะ

โคลงมหาภารตะของอินเดีย

มหาราช

665

maharaja

 

มา-หา-รา-

กษัตริย์, รัฏฐาธิปัตย์, ผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ,ผู้ปกครองประเทศ

มะงุมมะงาหรา

670

mangut

mengung

 

 

มา-งุต

เมอ-งุง

ดูเหมือนคนใจลอย, มึนงง

งง, งงงวย

มะเดหวี

670

 

madewi

มา-เด-วี

ภรรยาที่ตำแหน่งเสมอกันกับสามี (ตามจารีตของชาว Bali)

มะตะบะ

670

martabak

 

มารฺ-ตา-บัก

มัตตะบะ

มะตาหะรี

671

matahati

 

มา-ตา-ฮา-รี

ดวงอาทิตย์, ตะวัน, พระอาทิตย์, ดาวฤกษ์, แสงตะวัน

มะโย่ง

672

makyong

 

มัก-ย่ง

การแสดงละครคล้ายโนรา

มะหะหมัด

674

Muhammad

 

มู-ฮัม-หมัด

ศาสดาของศาสนาอิสลาม

มักกะสัน

674

Makasar

 

มา-กา-ซารฺ

ชาวมากาซาร์, ชื่อเมืองท่าในอินโดนีเซีย (เมืองมากาซาร์)

มังสะ, มางสะ

675

mangsa

 

มัง-ซา

เหยื่อ,สัตว์ที่ล่าหรือจับกินเป็นอาหาร (โดยเฉพาะสัตว์ที่กินเนื้อปลา), การล่าเหยื่อ, สิ่งล่อใจ

มัศญิด, มัสยิด

678

masjid

 

มัส-จิ

มัสยิด

มาธุสร

680

merdu

 

เมอรฺ-ดู

ไพเราะ,สละสลวย,เป็นเสียงดนตรี,เป็นเสียงหวาน

มานุษ,มานุษย

680

manusia

 

มา-นู-เซีย

มนุษย์

มายัง

680

mayang

 

มา-ยัง

ดอกหน้าวัว,หมากจำพวกที่มีดอก

มายา/มารยา

680/681

maya

 

มา-ยา

มายา, สิ่งลวงตา, การหลอกลวง, ภาพหลอน, ความเพ้อฝัน, ความเพ้อคลั่ง, ภาพลวงตา, อาการหลอนประสาท

มาระ

681

marah

 

มา-ระห์

โกรธ, ฉุนเฉียว, ทำให้โกรธ, ความโมโหร้าย, ความเดือดดาล, ความรุนแรง, ความดุเดือด, คนที่โมโหร้าย

มาริ

681

mari

 

มา-รี

มานี่,คำเชื้อเชิญ,คำอำลา

มาลาตี

681

melati  

 

เมอ-ลา-ตี

ต้นมะลิจำพวก Jasminum, ไม้ดอกที่กลิ่นคล้ายมะลิ, สีเหลืองอ่อน

มาศ

681

emas

 

เออ-มาส

ทองคำ,แร่ทอง

มิตร

682

mitra

 

มิต-ตรา

เพื่อน,สหาย,มิตร

มินตรา

682

meniran

petai cina

 

 

เมอ-นีรฺ-รัน

เปอ-ตัย-จี-นา

ต้นไม้ชนิดหนึ่งใบคล้ายใบมะขาม

ต้นกระถิน

มิรันตรี

683

meranti

 

เมอ-รัน-ตี

ต้นไม้ที่มีเนื้อแข็งใช้ในการก่อสร้าง

เมฆ

688

maga

 

เม-

เมฆ

 *เนื่องจากภาษาอินโดนีเซียมีที่มาจากภาษามลายู เพราะฉะนั้นจะกำหนดให้อยู่ในช่องเดียวกัน

 

บล็อกของ onanong

onanong
 ศัพท์ใหม่ (Kosa kata baru)Negara-negara (เนอการา เนอการา) ประเทศต่างๆ
onanong
 ห่างหายกันไปสักพักใหญ่นะคะสำหรับการสอนภาษาอินโดนีเซียผ่านบล็อก “Selamat Datang” คราวนี้ขอเสนอโครงสร้างประโยคบอกเล่าง่ายๆ ในภาษาอินโดนีเซียค่ะ
onanong
บทสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการกลุ่ม Tikar Pandan สถาบันทางวัฒนธรรมพร้อมกับสำนักพิมพ์ที่ไม่แสวงหากำไร และมีส่วนร่วมในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนอาเจะห์ ซึ่งเปิดพื้นที่มากกว่าการบอกเล่าแบบที่รัฐผลิตให้วาทกรรมการชื่นชมทหาร  และการบูชาวีรบุรุษของรัฐชาติ หากแต่ประชาชาชนจำนวนมากเช่นกันที่มีประวัติศาสตร์ความเจ็บปวดและเลวร้ายจากทหาร
onanong
 ตามคำเรียกร้องของแฟนบล็อกนะคะ คราวนี้ขอเสนอคำที่แสดงความรู้สึกในภาษาอินโดนีเซียพร้อมกับตัวอย่างการใช้ค่ะ
onanong
 เซอลามัต มาลัม (Selamat malam) สวัสดีตอนค่ำค่ะ ขอยึดเวลา ณ ตอนที่เขียนแล้วกันนะคะ คราวนี้จะขอพูดถึงการนับตัวเลขและลำดับที่ในภาษาอินโดนีเซียนะคะ
onanong
เชื่อว่าชื่อเมืองบันดุง ในประเทศอินโดนีเซียอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยเท่ากับเมืองหลวงอันแสนวุ่นวายอย่างจาการ์ตา, เมืองแห่งการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมฮินดูและธรรมชาติอย่างบาหลี หรือเมืองแห่งวัฒนธรรมชวาอย่างย็อกยาการ์ตา ทั้งๆ ที่บันดุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากเมืองหนึ่ง และมีความเป็นมาน่าสนใจไม่แพ้เมืองอื่นๆ เชียวค่ะ
onanong
 ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งเทศกาลเฉลิมฉลอง ทั้งวันคริสต์มาสและกำลังต่อด้วยปีใหม่ ดังนั้นดิฉันก็เลยถือโอกาสพูดถึงการอวยพรในภาษาอินโดนีเซียนะคะ 
onanong
 ในขณะที่ดิฉันกำลังคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีเพื่อคั่นการสอนภาษาอินโดนีเซีย คิดว่าถ้าสอนภาษาอินโดนีเซียทุกอาทิตย์มันจะน่าเบื่อเกินไป วันนี้ (19 ธันวาคม 2012) ก็ได้อ่านสเตตัสของเพื่อนชาวอาเจะห์ที่ใช้ชื่อว่า “Dody Maubelajar” ซึ่งน่าสนใจมาก ดิฉันจึงได้ขออนุญาตเขาแปลมาเผยแพร่ต่อสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์บาดแผลของประเทศอินโดนีเซีย