Skip to main content

คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน พ-ม

ต่อค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา ไทยในพจนานุกรมฉบับมติชน ดิฉันต้องขอชี้แจง (อีกครั้ง-เผื่อ ท่านที่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน) ว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี, สันสกฤต, จีน และ อื่นๆ ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ ส่วนคำใดจะมาทางใดนั้น ณ ตอนนี้ดิฉันไม่มีเวลาค้นคว้าต่อนะคะ และเลขหน้าที่ระบุในตารางด้านล่างนี้หมายถึงเลขหน้าในพจนานุกรมฉบับมติชนนะคะ

สำหรับวันนี้ขอเสนอ พ ถึง ม ค่ะ

อนึ่งเนื่องจากมีท่านผู้อ่านจำนวนหนึ่งต้องการเรียนภาษาอินโดนีเซีย ดังนั้นในโอกาสต่อๆ ไป ดิฉันจะสลับกับการสอนภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อนนะคะ

คำศัพท์

เลขหน้า

ตัวเขียน

ในภาษามลายู/

อินโดนีเซีย *

ตัวเขียน

ในภาษาชวา

คำอ่าน

ความหมาย

- -

 

 

 

 

 

พจน,พจน์

602

wacana  

 

วา-จา-นา

ถ้อยคำ, วจนะการสนทนา,การบรรยาย, การอภิปราย,สุนทรพจน์, คำปราศรัย, วาทกรรม

พรหม,พรหม-

607

brahma

 

บระฮฺ-มา

พรหม

พรหเมศวร

608

parameswara

 

ปา-รา-เมส-วา-รา

พระพรหมผู้เป็นใหญ่

พราหมณ์

611

brahma

 

บระฮฺ-มา

พราหมณ์

พวก

615

puak

 

พู-วัก

 

พวก, หมู่, กลุ่ม

พะงาบ, พะงาบ ๆ

618

tercungap-cungap

 

เตอรฺ-จู-งาบ, เตอรฺ-จู-งาบ-จู-งาบ

อาการอ้าปากและหุบลงช้าๆ สลับกันไป

พันตู

620

pentung

pentung-pentung

 

เปิน-ตุง

เปิน-ตุง-เปิน-ตุง

ไม้ที่เอาไว้ใช้ตี

ทะเลาะวิวาท, ขัดแย้งกัน

พายุ

622

bayu

 

บา-ยู

ลมสายลมเทพเจ้าแห่งสายลมในศาสนาฮินดู

พาหุ

622

bahu

 

บา-ฮู

ไหล่บ่าสะบักกระดูดข้อต่อที่ไหล่ไหล่เขา

พีระ

627

wira

 

วี-ระ

นักรบผู้กล้า

- -

 

 

 

 

 

ภักดี

650

bakti

 

บัก-ตี

การแสดงความจงรักภักดีการแสดงความเคารพการบูชาการอุทิศตัวการบริหารศรัทธาความเชื่อถือความซื่อสัตย์

ภาษา

652

bahasa

 

บา-ฮา-ซา

ภาษา

ภิกขุ, ภิกษุ

653

biksu    

 

บิก-ซู

พระภิกษุ

ภิกษุณี

653

biksuni 

 

บิก-ซู-นี

แม่ชีนางชี, ผู้หญิงที่บวชเป็นพระในพุทธศาสนา

ภูมิ

654

bumi

 

บู-มี

แผ่นดิน

ภูษา

655

busana 

 

บู-ซา-นา

เสื้อผ้าอาภรณ์

- -

 

 

 

 

 

มกุฎ

658

mahkota

 

มะห์-โก-ตา

มงกุฎ, มาลัย,มาลัยสวมศีรษะ,เครื่องประดับสำหรับศีรษะ

มณฑล

658

mandala

 

มาน-ดา-ลา

พื้นที่, เนื้อที่, อาณาบริเวณ, เขต, พื้นที่หรือสนามปฏิบัติการ

มธุ

659

madu

 

มา-ดู

น้ำผึ้ง

มนต์, มนตร์

659

mentera

 

เมิน-เตอ-รา

คำสำหรับสวดหรือเสกเป่า

มนตรี

660

menteri

 

เมิน-เตอ-รี

ที่ปรึกษา, ผู้แนะนำ, ที่ปรึกษาราชการ

มนุษย์

660

manusia

 

มา-นู-เซีย

มนุษย์

มโนราห์

660

menora

 

เมอ-โน-รา

มโนราห์

มลายู

663

Melayu

 

เมอ-ลา-ยู

ชาวมลายู,ภาษามลายู, เกี่ยวกับมลายู (ประเทศภาษา,วัฒนธรรมหรืออื่นๆ)

มหา

664

maha

 

มา-หา

ยิ่งใหญ่

มหาเทพี, มหาเทวี

665

Mahadéwi           

 

มา-หา-เด-วี

เทพเจ้า Batara Durga

มหาภารตะ

665

Mahabharata           

 

มา-หา-ภา-รา-ตะ

โคลงมหาภารตะของอินเดีย

มหาราช

665

maharaja

 

มา-หา-รา-

กษัตริย์, รัฏฐาธิปัตย์, ผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ,ผู้ปกครองประเทศ

มะงุมมะงาหรา

670

mangut

mengung

 

 

มา-งุต

เมอ-งุง

ดูเหมือนคนใจลอย, มึนงง

งง, งงงวย

มะเดหวี

670

 

madewi

มา-เด-วี

ภรรยาที่ตำแหน่งเสมอกันกับสามี (ตามจารีตของชาว Bali)

มะตะบะ

670

martabak

 

มารฺ-ตา-บัก

มัตตะบะ

มะตาหะรี

671

matahati

 

มา-ตา-ฮา-รี

ดวงอาทิตย์, ตะวัน, พระอาทิตย์, ดาวฤกษ์, แสงตะวัน

มะโย่ง

672

makyong

 

มัก-ย่ง

การแสดงละครคล้ายโนรา

มะหะหมัด

674

Muhammad

 

มู-ฮัม-หมัด

ศาสดาของศาสนาอิสลาม

มักกะสัน

674

Makasar

 

มา-กา-ซารฺ

ชาวมากาซาร์, ชื่อเมืองท่าในอินโดนีเซีย (เมืองมากาซาร์)

มังสะ, มางสะ

675

mangsa

 

มัง-ซา

เหยื่อ,สัตว์ที่ล่าหรือจับกินเป็นอาหาร (โดยเฉพาะสัตว์ที่กินเนื้อปลา), การล่าเหยื่อ, สิ่งล่อใจ

มัศญิด, มัสยิด

678

masjid

 

มัส-จิ

มัสยิด

มาธุสร

680

merdu

 

เมอรฺ-ดู

ไพเราะ,สละสลวย,เป็นเสียงดนตรี,เป็นเสียงหวาน

มานุษ,มานุษย

680

manusia

 

มา-นู-เซีย

มนุษย์

มายัง

680

mayang

 

มา-ยัง

ดอกหน้าวัว,หมากจำพวกที่มีดอก

มายา/มารยา

680/681

maya

 

มา-ยา

มายา, สิ่งลวงตา, การหลอกลวง, ภาพหลอน, ความเพ้อฝัน, ความเพ้อคลั่ง, ภาพลวงตา, อาการหลอนประสาท

มาระ

681

marah

 

มา-ระห์

โกรธ, ฉุนเฉียว, ทำให้โกรธ, ความโมโหร้าย, ความเดือดดาล, ความรุนแรง, ความดุเดือด, คนที่โมโหร้าย

มาริ

681

mari

 

มา-รี

มานี่,คำเชื้อเชิญ,คำอำลา

มาลาตี

681

melati  

 

เมอ-ลา-ตี

ต้นมะลิจำพวก Jasminum, ไม้ดอกที่กลิ่นคล้ายมะลิ, สีเหลืองอ่อน

มาศ

681

emas

 

เออ-มาส

ทองคำ,แร่ทอง

มิตร

682

mitra

 

มิต-ตรา

เพื่อน,สหาย,มิตร

มินตรา

682

meniran

petai cina

 

 

เมอ-นีรฺ-รัน

เปอ-ตัย-จี-นา

ต้นไม้ชนิดหนึ่งใบคล้ายใบมะขาม

ต้นกระถิน

มิรันตรี

683

meranti

 

เมอ-รัน-ตี

ต้นไม้ที่มีเนื้อแข็งใช้ในการก่อสร้าง

เมฆ

688

maga

 

เม-

เมฆ

 *เนื่องจากภาษาอินโดนีเซียมีที่มาจากภาษามลายู เพราะฉะนั้นจะกำหนดให้อยู่ในช่องเดียวกัน

 

บล็อกของ onanong

onanong
  คราวนี้จะขอพูดถึงคำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนะคะ คำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนั้นมีอยู่มากมายเพราะเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นและมรรยาทมากเหมือนของไทย การแทนตัวผู้พูดกับผู้ฟังจะขึ้นอยู่กับวัยวุฒิ และสถานะของคนที่เราพูดด้วย
onanong
 มาเรียนภาษาอินโดนีเซียกันต่อนะคะ คราวนี้จะเป็นพยัญชนะและสระประสมนะคะ และแถมด้วยคำที่ออกเสียงใกล้ๆ กันแต่ความหมายไปคนละเรื่องเลยค่ะ
onanong
ตามสัญญานะคะ คราวนี้จะเป็นการสอนภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน วันนี้ขอเริ่มด้วยการออกเสียงพยัญชนะ และสระนะคะ สำหรับผู้ที่ต้องการให้สอนภาษาอินโดนีเซียในระดับที่ยากขึ้นไป อดใจรอหน่อยนะคะ จะค่อยๆ เพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
onanong
คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน พ-ม
onanong
วันที่ 28 ตุลาคมถือเป็นวันกำเนิดภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมีที่มานั้นน่าสนใจยิ่งว่ามาจากการประกาศ“ คำสาบานของเยาวชน” ประธานของสโมสรนักเรียนอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ปี 1928
onanong
“Indonesia Mengajar” เป็นโครงการที่ถ้าเรียกเป็นภาษาไทยก็น่าจะประมาณ “ครูอาสาอินโดนีเซีย” ซึ่งความสำเร็จของมันอาจหมายถึงการทำให้คนอินโดนีเซียหวนคิดถึงยุคสมัยแห่งการสร้างชาติ, คิดถึงชาติที่ unity แต่ในมุมกลับก็มีคำถามบางอย่างเช่นกัน
onanong
ต่อค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน ดิฉันต้องขอชี้แจง (อีกครั้ง-เผื่อท่านที่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน) ว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บาง
onanong
นานมาแล้วมีลูกศิษย์ที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ ขอให้ช่วยสอนคำทักทายภาษาอินโดง่ายๆ เพราะที่นั่นเขามีเพื่อนชาวอินโดอยู่จำนวนหนึ่ง แล้วเขาอยากจะทักทายเพื่อนๆ เป็นภาษาอินโดบ้าง ดิฉันก็เลยจัดให้ และยังเก็บไฟล์ไว้ เลยคิดว่าเผื่อจะมีท่านที่สนใจอยากทราบบ้างค่ะ
onanong
มาแล้วค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี สันสกฤต ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ
onanong
วันนี้ขอสลับพูดถึงคำขวัญของประเทศอินโดนีเซียนะคะ สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการติดตามคำภาษามลายู อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายคำภาษาไทยในพจนานุกรมฉบับมติชนไม่ต้องกังวลนะคะ จะทยอยนำเสนอต่อไปค่ะ และก็ท่านที่คิดว่า...โอ้ย...จะรออ่านจนครบ ฮ เมื่อไหร่เนี่ย ... มันไม่ได้ยาวขนาดนั้นค่ะ คิดว่าซักห้าหกครั้งก็จบพอดีค่ะ