ต่อค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน ดิฉันต้องขอชี้แจง (อีกครั้ง-เผื่อท่านที่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน) ว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี, สันสกฤต, จีน และ อื่นๆ ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ ส่วนคำใดจะมาทางใดนั้น ณ ตอนนี้ดิฉันไม่มีเวลาค้นคว้าต่อนะคะ
สำหรับวันนี้ขอเสนอ บ ถึง ป ค่ะ
คำศัพท์ |
เลขหน้า |
ตัวเขียนในภาษามลายู/ อินโดนีเซีย |
ตัวเขียนในภาษาชวา |
คำอ่าน |
ความหมาย |
- บ - |
|
|
|
|
|
บัง |
493 |
abang |
|
อา-บัง |
พี่ชาย, คำใช้เรียกผู้ชายชาวอิสลามที่อายุมากกว่า |
บันทึง |
496 |
|
kangen |
คา-เงิน |
ต้องการพบอย่างยิ่ง, คิดถึง |
บ้าบ๋า |
500 |
babah |
|
บา-บะฮฺ |
คำสรรพนามเรียกชายสูงอายุ หรือชายกลางคนชาวจีนในอินโดนีเซีย |
บาหลี |
501 |
Bali |
|
บา-ลี |
ชื่อเกาะแห่งหนึ่งทางตะวันออกของเกาะชวา |
บิกู, บีกู |
502 |
biku, biksu |
|
บี-กู, บิก-ซุ |
พระภิกษุ |
บุระ, บุรี, บูรี |
506 |
pura |
|
ปู-รา |
แท่นบูชา, หิ้งบูชา, ศาลเจ้า, อาราม, สถานที่บูชา, สถูป,เจดีย์ปูชนียสถาน, วิหารบูชา |
บุหงัน, บุหงา |
506 |
bunga |
|
บู-งา |
ดอกไม้, ดอกเบี้ย, ดอกไม้ปลอม, ชุดไพ่ดอกสีเดียวกัน |
บุหงาประหงัน |
507 |
|
bunga prangan |
บู-งา-ปรา-งัน |
ดอกพุทธชาด
|
บุหงามลาซอ |
507 |
|
bunga melati |
บู-งา-เมอ-ลา-ตี |
ดอกมะลิ |
บุหรง |
507 |
burung |
|
บู-รุง |
นก |
บุหลัน |
507 |
bulan |
|
บู-ลัน |
เดือน, ดวงจันทร์ |
บูชา |
507 |
puja |
|
ปู-จา |
(การ)บูชา, สักการะ, บวงสรวง, กราบไหว้, สวดมนตร์, สิ่งที่บูชา |
แบหลา |
512 |
|
bela |
เบ-ลา |
การเสียสละ, การบูชายันต์, การพลี, การฆ่าตัวตายตามคนที่รักด้วยความซื่อสัตย์ด้วยวิธีการเดียวกัน |
- ป - |
|
|
|
|
|
ประชา |
525 |
|
praja |
ปรา-จา |
ประชาชน, หมู่คน |
ประตู |
527 |
pintu |
|
ปิน-ตู |
ประตู |
ประเสบันอากุง |
533 |
|
paseban agung |
ปา-เซ-บัน-อา-กุง |
วังลูกหลวง, วังหลานหลวง |
ปราสาท |
537 |
prasasti |
|
ปรา-ซัส-ตี |
บันทึกหรือข้อเขียนที่ปรากฏบนศิลา |
ปอเนาะ |
546 |
pondok |
|
ปอน-เดาะกฺ |
สถานศึกษาเกี่ยวกับคำสอนศาสนาอิสลาม |
ป๊ะ |
546 |
pak, bapak, bapa |
|
ปะกฺ, บา-ปะกฺ, บา-ปา |
พ่อหรือบิดา (ในบางครั้ง “Pak หรือ “Bapak เป็นคำทำหน้าที่แทนคำว่า “นาย” เช่น Pak Abu (นายอาบู)
|
ปะการัง |
546 |
karang |
|
กา-รัง |
หินปะการัง,สิ่งหรือของประดับที่ทำด้วยหินปะการัง,สีหินปะการัง (แดงอมเหลือง,ชมพู),โขดหินปะการัง, เกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากหินปะการัง |
ปะงาบ, ปะงาบๆ |
547 |
terngap-ngap |
|
เตอรฺ-งับ-งับ |
อาการอ้าปากและหุบลงช้าๆ สลับกันไป ฐานเพราะหายใจไม่สะดวก |
ปะตาปา |
547 |
|
petapa |
เปอ-ตา-ปา |
ฤๅษี, นักบวช |
ปะตาระกาหลา |
547 |
|
petarakala |
เปอ-ตา-รา-กา-ลา |
เทวดาผู้ใหญ่ |
ปะตาหลา |
547 |
|
petala |
เปอ-ตา-ลา |
บวช |
ปะหงับ, ปะหงับๆ |
547 |
tercungap-cungap |
|
เตอรฺ-จูงาบ-จูงาบ |
อาการที่ทำปากหงับๆ เพราะเหน็ดเหนื่อย หรือ หายใจไม่สะดวก |
ปะหนัน |
547 |
pengantin pandan |
|
เปอ-งัน-ติน ปัน-ดัน |
ต้นไม้ที่มีดอกกลิ่นหอม ใบเตย, พืชตระกูลใบเตย เช่น ลำเจียก |
ปะหมันอาหยี |
547 |
pakman |
|
ป๊ะ-มัน |
น้า, อา, ลุง (ผู้ชาย) |
ปัตตาเวีย |
550 |
Batavia |
|
บา-ตา-เฟีย |
ปัตตาเวีย ชื่อเก่าของจาการ์ตา |
ปันจุเหร็จ |
551 |
panjul |
|
ปัน-จุล |
มีลักษณะนูนขึ้นที่ด้านหลังศีรษะ |
ปั้นเหน่ง |
551 |
|
peningset |
เปอ-นิง-เซิต |
สิ่งของที่ฝ่ายชายให้แก่ฝ่ายเจ้าบ่ายมอบให้ฝ่ายเจ้าสาวเป็นเครื่องแสดงว่าได้ยอมรับการสู่ขอ |
ปาตี |
555 |
|
Bupati |
บู-ปา-ตี |
ผู้ว่าราชการ, ผู้สำเร็จราชการ |
ปาเตะ |
555 |
patik |
|
ปา-ติก |
ข้า ข้าพเจ้า หม่อมฉัน (ส่วนใหญ่ใช้กรณีสนทนาหรือพูดกับพระราชา(พระมหากษัตริย์) |
ปาเต๊ะ |
555 |
batik |
|
บา-ติก |
ผ้าย้อมสีชนิดหนึ่ง ใช้ขี้ผึ้งเหลวเคลือบบางตอนที่ไม่ต้องการให้มีสีสันหรือลวดลาย |
ปุตตะ |
560 |
putera |
|
ปู-เตอ-รา |
เจ้าชาย,พระราชนัดดา,กษัตริย์,เจ้าผู้ครองนคร,ผู้ดีเด่น, บุตรชาย,คำที่ใช้เรียกคนผู้ชายหรือเด็กผู้ชายที่มีอาวุโสน้อย,เพศชาย |
ปูชา |
562 |
puja |
|
ปู-จา |
การบูชา |
แปลก |
572 |
palik |
|
ปา-ลิก |
แปลก |