Skip to main content

 

ห่างหายกันไปสักพักใหญ่นะคะสำหรับการสอนภาษาอินโดนีเซียผ่านบล็อก “Selamat Datang” คราวนี้ขอเสนอโครงสร้างประโยคบอกเล่าง่ายๆ ในภาษาอินโดนีเซียค่ะ

ศัพท์ใหม่ (Kosa kata baru)

tinggi (adj.) (ติง-กี) = สูง

pendek (adj.) (เป็น-เด็ก) = เตี้ย, สั้น

pandai (adj.) (ปัน-ดัย) = ฉลาด

bodoh (adj.) (โบ-โดะฮฺ) = โง่

pegawai kantor (n.) (เปอ-กา-วัย คัน-ตอรฺ) = พนักงานบริษัท

polisi (n.) (โป-ลี-ซี) = ตำรวจ

mahasiswa (n.) (มา-ฮา-ซิสฺ-วะ) = นักศึกษา

tentara (n.) (เติน-ตา-รา) = ทหาร

guru (n.) (กู-รู) = ครู

dosen (n.) (โด-เซ็น) = อาจารย์ที่สอนในระดับอุดมศึกษา

penulis (n.) (เปอ-นู-ลิสฺ) = นักเขียน

pelukis (n.) (เปอ-ลู-คิสฺ) = จิตกร

makan (v.) (มา-กัน) = กิน

nasi goreng (n.) (นา-ซี โก-เร็ง) = ข้าวผัด

belajar (v.) (เบอ-ลา-จารฺ) = เรียน

universitas (n.) (อู-นี-เฟอรฺ-ซี-ตัสฺ) = มหาวิทยาลัย

pergi (v.) (เปอรฺ-กี) = ไป

kampus (n.) (กัม-ปุสฺ) = บริเวณในมหาวิทยาลัย

tidur (v.) (ตี-ดูรฺ) = นอน

ประโยคบอกเล่าง่ายๆ มี 3 แบบค่ะ

1.   ประธาน + คำคุณศัพท์

ตัวอย่างประโยค:

Saya tinggi. = ฉันสูง

Onanong pendek. = อรอนงค์เตี้ย

Mereka pandai. = พวกเขาฉลาด

Kita bodoh. = พวกเราโง่

สร้างประโยคในภาษาอินโดนีเซียนั้นง่ายมากๆ ค่ะ เพราะไม่ต้องใช้ verb to be เพียงแค่เอาคำคำคุณศัพท์วางต่อประธาน ก็เป็นประโยคได้เลย

2.   ประธาน + คำนาม

ตัวอย่างประโยค:

Kami pegawai kantor. = พวกเราเป็นพนักงานบริษัท

Mereka polisi. = พวกเขาเป็นตำรวจ

Saya orang Thai. = ฉันเป็นคนไทย

Sita mahasiswa di Universitas Thammasat. = สีดาเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3.   ประธาน + คำกริยา

ตัวอย่างประโยค:

Saya makan nasi goreng. = ฉันกินข้าวผัด

Nani belajar di Universitas Indonesia. = นานีเรียนที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย

Peter pergi ke kampus. = ปีเตอร์ไปมหาวิทยาลัย

Mereka tidur. = พวกเขานอนหลับ

 

จะเห็นได้ว่าการสร้างประโยคบอกเล่าแบบที่ 1 และ 2 ในภาษาอินโดนีเซียนั้นง่ายมากๆ ค่ะ เพราะไม่ต้องใช้ verb to be เพียงแค่เอาคำคำคุณศัพท์หรือคำนามวางหลังประธานก็เป็นประโยคได้เลย ส่วนแบบที่สามไวยากรณ์จะคล้ายๆ กับภาษาไทยคือ ประธาน + กริยา + กรรม

คราวหน้าจะเสนอวิธีการสร้างประโยคปฏิเสธและประโยคคำถามนะคะ 

บล็อกของ onanong

onanong
 ศัพท์ใหม่ (Kosa kata baru)Negara-negara (เนอการา เนอการา) ประเทศต่างๆ
onanong
 ห่างหายกันไปสักพักใหญ่นะคะสำหรับการสอนภาษาอินโดนีเซียผ่านบล็อก “Selamat Datang” คราวนี้ขอเสนอโครงสร้างประโยคบอกเล่าง่ายๆ ในภาษาอินโดนีเซียค่ะ
onanong
บทสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการกลุ่ม Tikar Pandan สถาบันทางวัฒนธรรมพร้อมกับสำนักพิมพ์ที่ไม่แสวงหากำไร และมีส่วนร่วมในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนอาเจะห์ ซึ่งเปิดพื้นที่มากกว่าการบอกเล่าแบบที่รัฐผลิตให้วาทกรรมการชื่นชมทหาร  และการบูชาวีรบุรุษของรัฐชาติ หากแต่ประชาชาชนจำนวนมากเช่นกันที่มีประวัติศาสตร์ความเจ็บปวดและเลวร้ายจากทหาร
onanong
 ตามคำเรียกร้องของแฟนบล็อกนะคะ คราวนี้ขอเสนอคำที่แสดงความรู้สึกในภาษาอินโดนีเซียพร้อมกับตัวอย่างการใช้ค่ะ
onanong
 เซอลามัต มาลัม (Selamat malam) สวัสดีตอนค่ำค่ะ ขอยึดเวลา ณ ตอนที่เขียนแล้วกันนะคะ คราวนี้จะขอพูดถึงการนับตัวเลขและลำดับที่ในภาษาอินโดนีเซียนะคะ
onanong
เชื่อว่าชื่อเมืองบันดุง ในประเทศอินโดนีเซียอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยเท่ากับเมืองหลวงอันแสนวุ่นวายอย่างจาการ์ตา, เมืองแห่งการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมฮินดูและธรรมชาติอย่างบาหลี หรือเมืองแห่งวัฒนธรรมชวาอย่างย็อกยาการ์ตา ทั้งๆ ที่บันดุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากเมืองหนึ่ง และมีความเป็นมาน่าสนใจไม่แพ้เมืองอื่นๆ เชียวค่ะ
onanong
 ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งเทศกาลเฉลิมฉลอง ทั้งวันคริสต์มาสและกำลังต่อด้วยปีใหม่ ดังนั้นดิฉันก็เลยถือโอกาสพูดถึงการอวยพรในภาษาอินโดนีเซียนะคะ 
onanong
 ในขณะที่ดิฉันกำลังคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีเพื่อคั่นการสอนภาษาอินโดนีเซีย คิดว่าถ้าสอนภาษาอินโดนีเซียทุกอาทิตย์มันจะน่าเบื่อเกินไป วันนี้ (19 ธันวาคม 2012) ก็ได้อ่านสเตตัสของเพื่อนชาวอาเจะห์ที่ใช้ชื่อว่า “Dody Maubelajar” ซึ่งน่าสนใจมาก ดิฉันจึงได้ขออนุญาตเขาแปลมาเผยแพร่ต่อสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์บาดแผลของประเทศอินโดนีเซีย