Skip to main content

 

ห่างหายกันไปสักพักใหญ่นะคะสำหรับการสอนภาษาอินโดนีเซียผ่านบล็อก “Selamat Datang” คราวนี้ขอเสนอโครงสร้างประโยคบอกเล่าง่ายๆ ในภาษาอินโดนีเซียค่ะ

ศัพท์ใหม่ (Kosa kata baru)

tinggi (adj.) (ติง-กี) = สูง

pendek (adj.) (เป็น-เด็ก) = เตี้ย, สั้น

pandai (adj.) (ปัน-ดัย) = ฉลาด

bodoh (adj.) (โบ-โดะฮฺ) = โง่

pegawai kantor (n.) (เปอ-กา-วัย คัน-ตอรฺ) = พนักงานบริษัท

polisi (n.) (โป-ลี-ซี) = ตำรวจ

mahasiswa (n.) (มา-ฮา-ซิสฺ-วะ) = นักศึกษา

tentara (n.) (เติน-ตา-รา) = ทหาร

guru (n.) (กู-รู) = ครู

dosen (n.) (โด-เซ็น) = อาจารย์ที่สอนในระดับอุดมศึกษา

penulis (n.) (เปอ-นู-ลิสฺ) = นักเขียน

pelukis (n.) (เปอ-ลู-คิสฺ) = จิตกร

makan (v.) (มา-กัน) = กิน

nasi goreng (n.) (นา-ซี โก-เร็ง) = ข้าวผัด

belajar (v.) (เบอ-ลา-จารฺ) = เรียน

universitas (n.) (อู-นี-เฟอรฺ-ซี-ตัสฺ) = มหาวิทยาลัย

pergi (v.) (เปอรฺ-กี) = ไป

kampus (n.) (กัม-ปุสฺ) = บริเวณในมหาวิทยาลัย

tidur (v.) (ตี-ดูรฺ) = นอน

ประโยคบอกเล่าง่ายๆ มี 3 แบบค่ะ

1.   ประธาน + คำคุณศัพท์

ตัวอย่างประโยค:

Saya tinggi. = ฉันสูง

Onanong pendek. = อรอนงค์เตี้ย

Mereka pandai. = พวกเขาฉลาด

Kita bodoh. = พวกเราโง่

สร้างประโยคในภาษาอินโดนีเซียนั้นง่ายมากๆ ค่ะ เพราะไม่ต้องใช้ verb to be เพียงแค่เอาคำคำคุณศัพท์วางต่อประธาน ก็เป็นประโยคได้เลย

2.   ประธาน + คำนาม

ตัวอย่างประโยค:

Kami pegawai kantor. = พวกเราเป็นพนักงานบริษัท

Mereka polisi. = พวกเขาเป็นตำรวจ

Saya orang Thai. = ฉันเป็นคนไทย

Sita mahasiswa di Universitas Thammasat. = สีดาเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3.   ประธาน + คำกริยา

ตัวอย่างประโยค:

Saya makan nasi goreng. = ฉันกินข้าวผัด

Nani belajar di Universitas Indonesia. = นานีเรียนที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย

Peter pergi ke kampus. = ปีเตอร์ไปมหาวิทยาลัย

Mereka tidur. = พวกเขานอนหลับ

 

จะเห็นได้ว่าการสร้างประโยคบอกเล่าแบบที่ 1 และ 2 ในภาษาอินโดนีเซียนั้นง่ายมากๆ ค่ะ เพราะไม่ต้องใช้ verb to be เพียงแค่เอาคำคำคุณศัพท์หรือคำนามวางหลังประธานก็เป็นประโยคได้เลย ส่วนแบบที่สามไวยากรณ์จะคล้ายๆ กับภาษาไทยคือ ประธาน + กริยา + กรรม

คราวหน้าจะเสนอวิธีการสร้างประโยคปฏิเสธและประโยคคำถามนะคะ 

บล็อกของ onanong

onanong
คำในภาษาไทยหลายๆ คำที่คล้ายกับคำในภาษามลายู, อินโดนีเซีย และ ชวา มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตอยู่ไม่น้อย
onanong
ชื่อบล็อก “Selamat Datang”  (อ่านว่า เซอลามัต ดาตัง) นั้นแปลว่า “ยินดีต้อนรับ” ซึ่งใช้กันทั้งในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ไปจนถึงบรูไน, สิงคโปร์ และปาตานี หากคุณพูดภาษามลายูได้ก็หมายความว่าคุณจะพูดกับคนได้เกือบๆ 250 ล้านคน