Skip to main content

 

ห่างหายกันไปสักพักใหญ่นะคะสำหรับการสอนภาษาอินโดนีเซียผ่านบล็อก “Selamat Datang” คราวนี้ขอเสนอโครงสร้างประโยคบอกเล่าง่ายๆ ในภาษาอินโดนีเซียค่ะ

ศัพท์ใหม่ (Kosa kata baru)

tinggi (adj.) (ติง-กี) = สูง

pendek (adj.) (เป็น-เด็ก) = เตี้ย, สั้น

pandai (adj.) (ปัน-ดัย) = ฉลาด

bodoh (adj.) (โบ-โดะฮฺ) = โง่

pegawai kantor (n.) (เปอ-กา-วัย คัน-ตอรฺ) = พนักงานบริษัท

polisi (n.) (โป-ลี-ซี) = ตำรวจ

mahasiswa (n.) (มา-ฮา-ซิสฺ-วะ) = นักศึกษา

tentara (n.) (เติน-ตา-รา) = ทหาร

guru (n.) (กู-รู) = ครู

dosen (n.) (โด-เซ็น) = อาจารย์ที่สอนในระดับอุดมศึกษา

penulis (n.) (เปอ-นู-ลิสฺ) = นักเขียน

pelukis (n.) (เปอ-ลู-คิสฺ) = จิตกร

makan (v.) (มา-กัน) = กิน

nasi goreng (n.) (นา-ซี โก-เร็ง) = ข้าวผัด

belajar (v.) (เบอ-ลา-จารฺ) = เรียน

universitas (n.) (อู-นี-เฟอรฺ-ซี-ตัสฺ) = มหาวิทยาลัย

pergi (v.) (เปอรฺ-กี) = ไป

kampus (n.) (กัม-ปุสฺ) = บริเวณในมหาวิทยาลัย

tidur (v.) (ตี-ดูรฺ) = นอน

ประโยคบอกเล่าง่ายๆ มี 3 แบบค่ะ

1.   ประธาน + คำคุณศัพท์

ตัวอย่างประโยค:

Saya tinggi. = ฉันสูง

Onanong pendek. = อรอนงค์เตี้ย

Mereka pandai. = พวกเขาฉลาด

Kita bodoh. = พวกเราโง่

สร้างประโยคในภาษาอินโดนีเซียนั้นง่ายมากๆ ค่ะ เพราะไม่ต้องใช้ verb to be เพียงแค่เอาคำคำคุณศัพท์วางต่อประธาน ก็เป็นประโยคได้เลย

2.   ประธาน + คำนาม

ตัวอย่างประโยค:

Kami pegawai kantor. = พวกเราเป็นพนักงานบริษัท

Mereka polisi. = พวกเขาเป็นตำรวจ

Saya orang Thai. = ฉันเป็นคนไทย

Sita mahasiswa di Universitas Thammasat. = สีดาเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3.   ประธาน + คำกริยา

ตัวอย่างประโยค:

Saya makan nasi goreng. = ฉันกินข้าวผัด

Nani belajar di Universitas Indonesia. = นานีเรียนที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย

Peter pergi ke kampus. = ปีเตอร์ไปมหาวิทยาลัย

Mereka tidur. = พวกเขานอนหลับ

 

จะเห็นได้ว่าการสร้างประโยคบอกเล่าแบบที่ 1 และ 2 ในภาษาอินโดนีเซียนั้นง่ายมากๆ ค่ะ เพราะไม่ต้องใช้ verb to be เพียงแค่เอาคำคำคุณศัพท์หรือคำนามวางหลังประธานก็เป็นประโยคได้เลย ส่วนแบบที่สามไวยากรณ์จะคล้ายๆ กับภาษาไทยคือ ประธาน + กริยา + กรรม

คราวหน้าจะเสนอวิธีการสร้างประโยคปฏิเสธและประโยคคำถามนะคะ 

บล็อกของ onanong

onanong
  คราวนี้จะขอพูดถึงคำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนะคะ คำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนั้นมีอยู่มากมายเพราะเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นและมรรยาทมากเหมือนของไทย การแทนตัวผู้พูดกับผู้ฟังจะขึ้นอยู่กับวัยวุฒิ และสถานะของคนที่เราพูดด้วย
onanong
 มาเรียนภาษาอินโดนีเซียกันต่อนะคะ คราวนี้จะเป็นพยัญชนะและสระประสมนะคะ และแถมด้วยคำที่ออกเสียงใกล้ๆ กันแต่ความหมายไปคนละเรื่องเลยค่ะ
onanong
ตามสัญญานะคะ คราวนี้จะเป็นการสอนภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน วันนี้ขอเริ่มด้วยการออกเสียงพยัญชนะ และสระนะคะ สำหรับผู้ที่ต้องการให้สอนภาษาอินโดนีเซียในระดับที่ยากขึ้นไป อดใจรอหน่อยนะคะ จะค่อยๆ เพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
onanong
คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน พ-ม
onanong
วันที่ 28 ตุลาคมถือเป็นวันกำเนิดภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมีที่มานั้นน่าสนใจยิ่งว่ามาจากการประกาศ“ คำสาบานของเยาวชน” ประธานของสโมสรนักเรียนอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ปี 1928
onanong
“Indonesia Mengajar” เป็นโครงการที่ถ้าเรียกเป็นภาษาไทยก็น่าจะประมาณ “ครูอาสาอินโดนีเซีย” ซึ่งความสำเร็จของมันอาจหมายถึงการทำให้คนอินโดนีเซียหวนคิดถึงยุคสมัยแห่งการสร้างชาติ, คิดถึงชาติที่ unity แต่ในมุมกลับก็มีคำถามบางอย่างเช่นกัน
onanong
ต่อค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน ดิฉันต้องขอชี้แจง (อีกครั้ง-เผื่อท่านที่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน) ว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บาง
onanong
นานมาแล้วมีลูกศิษย์ที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ ขอให้ช่วยสอนคำทักทายภาษาอินโดง่ายๆ เพราะที่นั่นเขามีเพื่อนชาวอินโดอยู่จำนวนหนึ่ง แล้วเขาอยากจะทักทายเพื่อนๆ เป็นภาษาอินโดบ้าง ดิฉันก็เลยจัดให้ และยังเก็บไฟล์ไว้ เลยคิดว่าเผื่อจะมีท่านที่สนใจอยากทราบบ้างค่ะ
onanong
มาแล้วค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี สันสกฤต ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ
onanong
วันนี้ขอสลับพูดถึงคำขวัญของประเทศอินโดนีเซียนะคะ สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการติดตามคำภาษามลายู อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายคำภาษาไทยในพจนานุกรมฉบับมติชนไม่ต้องกังวลนะคะ จะทยอยนำเสนอต่อไปค่ะ และก็ท่านที่คิดว่า...โอ้ย...จะรออ่านจนครบ ฮ เมื่อไหร่เนี่ย ... มันไม่ได้ยาวขนาดนั้นค่ะ คิดว่าซักห้าหกครั้งก็จบพอดีค่ะ