มาแล้วค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน อนึ่ง ดิฉันต้องขอชี้แจงว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี สันสกฤต ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ ส่วนคำใดจะมาทางใดนั้น ณ ตอนนี้ยังไม่มีเวลาค้นคว้าต่อ ขอติดไว้ก่อนนะคะ
สำหรับวันนี้ขอเสนอ ค ถึง น ค่ะ
คำศัพท์ |
เลขหน้า |
ตัวเขียนในภาษามลายู/ อินโดนีเซีย* |
ตัวเขียนในภาษาชวา |
คำอ่าน |
ความหมาย |
- ค - |
|
|
|
|
|
คช, คชา |
156 |
gajah |
|
กา-จะฮฺ |
ช้าง
|
ครุ, ครู |
166, 167 |
guru |
|
กู-รู |
ครู |
ครุฑ
|
167 |
garuda |
|
กา-รู-ดา |
พญาครุฑ (สัตว์สมมุติในนิยายเป็นพาหนะของพระอินทร์), สัญลักษณ์ทางราชการของอินโดนีเซีย |
ควาย |
173 |
kerbau |
|
เคอรฺ-เบา |
ควาย, คำที่ใช้เรียกคนโง่ |
คากิ |
180 |
kaki |
|
คา-กิ |
เท้า, ขา (ทั้งสัตว์และคน) |
คุลิก่า |
188 |
guliga |
|
กู-ลี-กา |
ก้อนหินที่พบในร่างกายของสัตว์ (งู, เม่น เป็นต้น) ที่มีคุณสมบัติในการถอนพิษ |
- ฆ - |
|
|
|
|
|
ฆ้อง |
202 |
gong kemong |
|
ก็อง เคอ-ม็อง |
ฆ้องขนาดใหญ่ (ใช้ตีในการเปิดพิธีต่างๆ ) ฆ้องขนาดเล็กในวงกาเมอลันชวา |
- จ - |
|
|
|
|
|
จรัล |
217 |
jalan |
|
จา-ลัน |
เดิน, ถนน
|
จาโบ๊
|
227 |
cabo |
|
จา-โบ |
ผู้หญิง |
จำปาดะ |
229 |
cempedak |
|
เจิม-เปอ-ดะกฺ |
ต้นจำปาดะ |
จุบ |
235 |
Kecup, cup |
|
เคอ-จุป |
เสียงจูบ, จูบเสียงดังจุ๊บ |
จูบ |
236 |
cucup |
|
จู-จุป
|
จูบ, ดูด, ดูดด้วยปาก,การดูด |
- ช - |
|
|
|
|
|
ชนิด |
257 |
jenis |
|
เจอ-นิส |
ชนิด, จำพวก,ประเภท, กลุ่ม, พรรคพวก, พันธุ์, ลักษณะ,คุณสมบัติ, แบบ, รูปแบบ, ตัวอย่าง,ลักษณะ,ท่าทาง,อากัปกิริยา
|
ชวา |
261 |
Jawa |
|
จา-วา |
ชวา
|
- ด - |
|
|
|
|
|
ดะโต๊ะ |
315 |
datuk |
|
ดา-ตุก |
หัวหน้าครอบครัว,หรือผู้นำ,สรรพนามเรียกบุคคลที่มียศตำแหน่งสูง |
ดะหมัง |
315 |
demang |
|
เดอ-มัง |
ผู้ใหญ่บ้านชวา, ผู้เชี่ยวชาญในประเพณีดั้งเดิม, เจ้าหน้าที่ปกครองหมู่บ้าน |
ดาหงัน |
320 |
|
dangan |
ดา-หงัน |
การทำศึกสงคราม |
- ต - |
|
|
|
|
|
ตรี |
343 |
tri |
|
ตรี |
สาม |
ตรีมูรตี |
344 |
trimurti |
|
ตรี-มูรฺ-ตี |
เทวดาสามองค์ในศาสนาฮินดูที่เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ พระพรหม พระวิษณุหรือพระนารายณ์ และพระศิวะ |
ตะกร้อ |
350 |
takraw |
|
ตา-เกรา |
ตะกร้อ |
ตุนาหงัน |
380 |
tunangan |
|
ตู-นา-งัน |
หมั้น, หมั้นหมาย |
- ท - |
|
|
|
|
|
ทวิ, ทวี |
415 |
dwi |
|
ดวี |
สอง |
ทักษิณ |
422 |
daksina |
|
ดะกฺ-ซี-นา |
ขวา, ทางขวา, ทิศใต้
|
ทีฆายุ |
433 |
dirgahayu |
|
ดีรฺ-กา-ฮา-ยุ |
มีชีวิตยืนนาน, ยืนนาน
|
ทุกข-, ทุกข์ |
434 |
duka |
|
ดู-กา |
ความเศร้าโศก,ความระทมทุกข์,ความคับข้องใจ,ความเสียใจ |
ทุเรียน |
436 |
durian |
|
ดู-เรียน |
ทุเรียน |
ทูต |
436 |
duta |
|
ดู-ตา |
ทูต |
เทว-, เทวดา |
438 |
dewa |
|
เด-วา |
เทพ, เทวดา (ผู้ชาย) |
เทวี |
438 |
dewi |
|
เด-วี |
เทพ, เทวดา (ผู้หญิง) |
โทษ, โทษา |
443 |
dosa |
|
โด-ซา |
บาป, อกุศล, ความชั่ว, ความชั่วร้าย |
- น - |
|
|
|
|
|
นคร, นคร- |
452 |
negara |
|
เนอ-กา-รา |
มลรัฐ,รัฐ,ประเทศ,ชาติ,ประชาชาติ,อาณาเขตของประเทศ |
นรก |
454 |
neraga |
|
เนอ-รา-กา |
นรก |
นาค |
562 |
naga |
|
นา-กา |
งูใหญ่, มังกร |
เนื่องจากภาษาอินโดนีเซียมีที่มาจากภาษามลายู เพราะฉะนั้นจะกำหนดให้อยู่ในช่องเดียวกัน