Skip to main content

มาแล้วค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน อนึ่ง ดิฉันต้องขอชี้แจงว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี สันสกฤต ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ ส่วนคำใดจะมาทางใดนั้น ณ ตอนนี้ยังไม่มีเวลาค้นคว้าต่อ ขอติดไว้ก่อนนะคะ

สำหรับวันนี้ขอเสนอ ค ถึง น ค่ะ

 

คำศัพท์

เลขหน้า

ตัวเขียนในภาษามลายู/

อินโดนีเซีย*

ตัวเขียนในภาษาชวา

คำอ่าน

ความหมาย

- -

 

 

 

 

 

คช, คชา

156

gajah

 

-จะฮฺ

ช้าง

ครุ, ครู

166, 167

guru

 

กู-รู

ครู

ครุฑ

167

garuda

 

-รู-ดา

พญาครุฑ (สัตว์สมมุติในนิยายเป็นพาหนะของพระอินทร์), สัญลักษณ์ทางราชการของอินโดนีเซีย

ควาย

173

kerbau

 

เคอรฺ-เบา

ควาย, คำที่ใช้เรียกคนโง่

คากิ

180

kaki

 

คา-กิ

เท้า, ขา (ทั้งสัตว์และคน)

คุลิก่า

188

guliga

 

กู-ลี-

ก้อนหินที่พบในร่างกายของสัตว์ (งู, เม่น เป็นต้น) ที่มีคุณสมบัติในการถอนพิษ

- -

 

 

 

 

 

ฆ้อง

202

gong

kemong

 

ก็อง

เคอ-ม็อง

ฆ้องขนาดใหญ่ (ใช้ตีในการเปิดพิธีต่างๆ )

ฆ้องขนาดเล็กในวงกาเมอลันชวา

- -

 

 

 

 

 

จรัล

217

jalan

 

-ลัน

เดิน, ถนน

 

จาโบ๊

227

cabo

 

จา-โบ

ผู้หญิง

จำปาดะ

229

cempedak

 

เจิม-เปอ-ดะกฺ

ต้นจำปาดะ

จุบ

235

Kecup, cup

 

เคอ-จุป

เสียงจูบ, จูบเสียงดังจุ๊บ

จูบ

236

cucup

 

จู-จุป

จูบ, ดูด, ดูดด้วยปาก,การดูด

- -

 

 

 

 

 

ชนิด

257

jenis

 

-นิส

ชนิด, จำพวก,ประเภท, กลุ่ม, พรรคพวก, พันธุ์, ลักษณะ,คุณสมบัติ, แบบ, รูปแบบ, ตัวอย่าง,ลักษณะ,ท่าทาง,อากัปกิริยา

ชวา

261

Jawa

 

-วา

ชวา

- -

 

 

 

 

 

ดะโต๊ะ

315

datuk

 

ดา-ตุก

หัวหน้าครอบครัว,หรือผู้นำ,สรรพนามเรียกบุคคลที่มียศตำแหน่งสูง

ดะหมัง

315

demang

 

เดอ-มัง

ผู้ใหญ่บ้านชวา, ผู้เชี่ยวชาญในประเพณีดั้งเดิม, เจ้าหน้าที่ปกครองหมู่บ้าน

ดาหงัน

320

 

dangan

ดา-หงัน

การทำศึกสงคราม

- -

 

 

 

 

 

ตรี

343

tri

 

ตรี

สาม

ตรีมูรตี

344

trimurti

 

ตรี-มูรฺ-ตี

เทวดาสามองค์ในศาสนาฮินดูที่เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ  พระพรหม  พระวิษณุหรือพระนารายณ์  และพระศิวะ

ตะกร้อ

350

takraw

 

ตา-เกรา

ตะกร้อ

ตุนาหงัน

380

tunangan

 

ตู-นา-งัน

หมั้น, หมั้นหมาย

- -

 

 

 

 

 

ทวิ, ทวี

415

dwi

 

ดวี

สอง

ทักษิณ

422

daksina        

 

ดะกฺ-ซี-นา

ขวา, ทางขวา, ทิศใต้

ทีฆายุ

433

dirgahayu

 

ดีรฺ--ฮา-ยุ

มีชีวิตยืนนาน, ยืนนาน

ทุกข-, ทุกข์

434

duka

 

ดู-กา

ความเศร้าโศก,ความระทมทุกข์,ความคับข้องใจ,ความเสียใจ

ทุเรียน

436

durian

 

ดู-เรียน

ทุเรียน

ทูต

436

duta

 

ดู-ตา

ทูต

เทว-, เทวดา

438

dewa

 

เด-วา

เทพ, เทวดา (ผู้ชาย)

เทวี

438

dewi

 

เด-วี

เทพ, เทวดา (ผู้หญิง)

โทษ, โทษา

443

dosa

 

โด-ซา

บาป, อกุศล, ความชั่ว, ความชั่วร้าย

- -

 

 

 

 

 

นคร, นคร-

452

negara

 

เนอ--รา

มลรัฐ,รัฐ,ประเทศ,ชาติ,ประชาชาติ,อาณาเขตของประเทศ

นรก

454

neraga

 

เนอ-รา-

นรก

นาค

562

naga

 

นา-

งูใหญ่, มังกร



* เนื่องจากภาษาอินโดนีเซียมีที่มาจากภาษามลายู เพราะฉะนั้นจะกำหนดให้อยู่ในช่องเดียวกัน

 

 เนื่องจากภาษาอินโดนีเซียมีที่มาจากภาษามลายู เพราะฉะนั้นจะกำหนดให้อยู่ในช่องเดียวกัน

บล็อกของ onanong

onanong
  คราวนี้จะขอพูดถึงคำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนะคะ คำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนั้นมีอยู่มากมายเพราะเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นและมรรยาทมากเหมือนของไทย การแทนตัวผู้พูดกับผู้ฟังจะขึ้นอยู่กับวัยวุฒิ และสถานะของคนที่เราพูดด้วย
onanong
 มาเรียนภาษาอินโดนีเซียกันต่อนะคะ คราวนี้จะเป็นพยัญชนะและสระประสมนะคะ และแถมด้วยคำที่ออกเสียงใกล้ๆ กันแต่ความหมายไปคนละเรื่องเลยค่ะ
onanong
ตามสัญญานะคะ คราวนี้จะเป็นการสอนภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน วันนี้ขอเริ่มด้วยการออกเสียงพยัญชนะ และสระนะคะ สำหรับผู้ที่ต้องการให้สอนภาษาอินโดนีเซียในระดับที่ยากขึ้นไป อดใจรอหน่อยนะคะ จะค่อยๆ เพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
onanong
คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน พ-ม
onanong
วันที่ 28 ตุลาคมถือเป็นวันกำเนิดภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมีที่มานั้นน่าสนใจยิ่งว่ามาจากการประกาศ“ คำสาบานของเยาวชน” ประธานของสโมสรนักเรียนอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ปี 1928
onanong
“Indonesia Mengajar” เป็นโครงการที่ถ้าเรียกเป็นภาษาไทยก็น่าจะประมาณ “ครูอาสาอินโดนีเซีย” ซึ่งความสำเร็จของมันอาจหมายถึงการทำให้คนอินโดนีเซียหวนคิดถึงยุคสมัยแห่งการสร้างชาติ, คิดถึงชาติที่ unity แต่ในมุมกลับก็มีคำถามบางอย่างเช่นกัน
onanong
ต่อค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน ดิฉันต้องขอชี้แจง (อีกครั้ง-เผื่อท่านที่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน) ว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บาง
onanong
นานมาแล้วมีลูกศิษย์ที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ ขอให้ช่วยสอนคำทักทายภาษาอินโดง่ายๆ เพราะที่นั่นเขามีเพื่อนชาวอินโดอยู่จำนวนหนึ่ง แล้วเขาอยากจะทักทายเพื่อนๆ เป็นภาษาอินโดบ้าง ดิฉันก็เลยจัดให้ และยังเก็บไฟล์ไว้ เลยคิดว่าเผื่อจะมีท่านที่สนใจอยากทราบบ้างค่ะ
onanong
มาแล้วค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี สันสกฤต ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ
onanong
วันนี้ขอสลับพูดถึงคำขวัญของประเทศอินโดนีเซียนะคะ สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการติดตามคำภาษามลายู อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายคำภาษาไทยในพจนานุกรมฉบับมติชนไม่ต้องกังวลนะคะ จะทยอยนำเสนอต่อไปค่ะ และก็ท่านที่คิดว่า...โอ้ย...จะรออ่านจนครบ ฮ เมื่อไหร่เนี่ย ... มันไม่ได้ยาวขนาดนั้นค่ะ คิดว่าซักห้าหกครั้งก็จบพอดีค่ะ