Skip to main content

 

ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งเทศกาลเฉลิมฉลอง ทั้งวันคริสต์มาสและกำลังต่อด้วยปีใหม่ ดังนั้นดิฉันก็เลยถือโอกาสพูดถึงการอวยพรในภาษาอินโดนีเซียนะคะ 

คำที่เป็นพระเอกของทุกงานคือคำว่า selamat (เซอลามัต) ถ้าจะแปลเป็นไทยก็อาจจะเทียบได้กับคำว่า “สวัสดี” แต่มีการใช้ที่กว้างกว่า สวัสดี ค่ะ อย่างที่ท่านได้ทราบไปแล้วว่า selamat ใช้ทักทายได้ทั้งเช้า สาย บ่าย เย็น โดยเติมคำบอกเวลาเข้าไป เช่น selamat pagi, selamat siang, selamat sore และ selamat malam

นอกจากจะใช้กับช่วงเวลาต่างๆ ของวันแล้ว selamat ยังใช้ได้กับทุกเทศกาล เช่น

Selamat Ulang Tahun (เซอลามัต อูลัง ตาฮุน)          สุขสันต์วันเกิด

Selamat Hari Raya Idul Fitri (เซอลามัต ฮารี รายา อีดุลฺ ฟีตรี)          สุขสันต์วันฮารีรายอ

Selamat Hari Natal (เซอลามัต ฮารี นาตัลฺ)     สุขสันต์วันคริสต์มาส

Selamat Hari Waisak (เซอลามัต ฮารี ไวซะกฺ) สุขสันต์วันวิสาขบูชา

Selamat Tahun Baru (เซอลามัต ตาฮุน บารู)   สุขสันต์วันปีใหม่

Selamat Hari Ibu (เซอลามัต ฮารี อีบู)          สุขสันต์วันแม่

Selamat Hari Kemerdakaan (เซอลามัต ฮารี เกอเมอรฺเดกาอัน)         สุขสันต์วันประกาศเอกราช

นอกจากนี้ selamat ยังใช้กับการอวยพรเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หรือในโอกาสพิเศษก็ได้ เช่น

Selamat Menikah (เซอลามัต เมอนีกะฮฺ)        สุขสันต์วันแต่งงาน

Selamat Wisuda (เซอลามัต วีซูดา)              ยินดีด้วยที่สำเร็จการศึกษา (ใช้พูดเมื่อไปงานรับปริญญา)

Selamat ujian (เซอลามัต อูเจียน)               ขอให้ทำข้อสอบได้

Selamat makan (เซอลามัต มากัน)              ขอให้รับประทานอาหารให้อร่อย

Selamat bekerja (เซอลามัต เบอรฺเกอรฺจฺา)     ขอให้ทำงานอย่างมีความสุข

Selamat jalan (เซอลามัต จาลัน)                 ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ (คำกล่าวลา ผู้ที่จะอยู่เป็นผู้พูด)

Selamat tinggal (เซอลามัต ติงกัลฺ)               ขอให้อยู่ดีๆ นะ (คำกล่าวลา ผู้ที่จะไปเป็นผู้พูด)

Selamat tidur (เซอลามัต ตีดูรฺ)                             ราตรีสวัสดิ์, นอนหลับฝันดี      

Selamat datang (เซอลามัต ดาตัง)               ยินดีต้อนรับ

selamat ยังใช้โดดๆ ในความหมายว่า “โชคดีนะ” หรือ “ยินดีด้วย” ก็ได้ค่ะ เช่นถ้ามีเพื่อนเราจะทำอะไรสักอย่าง หรือประสบความสำเร็จในเรื่องใดๆ เราก็สามารถพูดกับเขาได้ว่า “Selamat” หรือ “Selamat ya”

 

ส่วนอีกคำที่ใช้ในการอวยพรได้แก่คำว่า “semoga” แปลเป็นไทยได้ว่า “ขอให้..” ในความหมายที่ว่าเราปรารถนาให้สิ่งนั้นๆ บังเกิดขึ้นกับคนที่เราพูดด้วย เช่น

Semoga berbahagia (เซอโมกฺา เบอรฺบาฮาเกีย)                  ขอให้มีความสุข

Semoga cepat sembuh (เซอโมกฺา เจอปัต เซิมบุฮฺ)   ขอให้หาย (จากอาการป่วยไข้) เร็วๆ

Semoga berjaya (เซอโมกฺา เบอรฺจฺายา)                           ขอให้ประสบความสำเร็จ

Semoga sehat (เซอโมกฺา เซฮัต)                          ขอให้สุขภาพแข็งแรง

Semoga umur panjang (เซอโมกฺา อูมูรฺ ปันจัง)                   ขอให้อายุยืน

Semoga tambah cantik (เซอโมกฺา ตัมบะฮฺ จันติก)    ขอให้สวยขึ้น

 

 

บล็อกของ onanong

onanong
  คราวนี้จะขอพูดถึงคำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนะคะ คำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนั้นมีอยู่มากมายเพราะเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นและมรรยาทมากเหมือนของไทย การแทนตัวผู้พูดกับผู้ฟังจะขึ้นอยู่กับวัยวุฒิ และสถานะของคนที่เราพูดด้วย
onanong
 มาเรียนภาษาอินโดนีเซียกันต่อนะคะ คราวนี้จะเป็นพยัญชนะและสระประสมนะคะ และแถมด้วยคำที่ออกเสียงใกล้ๆ กันแต่ความหมายไปคนละเรื่องเลยค่ะ
onanong
ตามสัญญานะคะ คราวนี้จะเป็นการสอนภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน วันนี้ขอเริ่มด้วยการออกเสียงพยัญชนะ และสระนะคะ สำหรับผู้ที่ต้องการให้สอนภาษาอินโดนีเซียในระดับที่ยากขึ้นไป อดใจรอหน่อยนะคะ จะค่อยๆ เพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
onanong
คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน พ-ม
onanong
วันที่ 28 ตุลาคมถือเป็นวันกำเนิดภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมีที่มานั้นน่าสนใจยิ่งว่ามาจากการประกาศ“ คำสาบานของเยาวชน” ประธานของสโมสรนักเรียนอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ปี 1928
onanong
“Indonesia Mengajar” เป็นโครงการที่ถ้าเรียกเป็นภาษาไทยก็น่าจะประมาณ “ครูอาสาอินโดนีเซีย” ซึ่งความสำเร็จของมันอาจหมายถึงการทำให้คนอินโดนีเซียหวนคิดถึงยุคสมัยแห่งการสร้างชาติ, คิดถึงชาติที่ unity แต่ในมุมกลับก็มีคำถามบางอย่างเช่นกัน
onanong
ต่อค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน ดิฉันต้องขอชี้แจง (อีกครั้ง-เผื่อท่านที่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน) ว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บาง
onanong
นานมาแล้วมีลูกศิษย์ที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ ขอให้ช่วยสอนคำทักทายภาษาอินโดง่ายๆ เพราะที่นั่นเขามีเพื่อนชาวอินโดอยู่จำนวนหนึ่ง แล้วเขาอยากจะทักทายเพื่อนๆ เป็นภาษาอินโดบ้าง ดิฉันก็เลยจัดให้ และยังเก็บไฟล์ไว้ เลยคิดว่าเผื่อจะมีท่านที่สนใจอยากทราบบ้างค่ะ
onanong
มาแล้วค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี สันสกฤต ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ
onanong
วันนี้ขอสลับพูดถึงคำขวัญของประเทศอินโดนีเซียนะคะ สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการติดตามคำภาษามลายู อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายคำภาษาไทยในพจนานุกรมฉบับมติชนไม่ต้องกังวลนะคะ จะทยอยนำเสนอต่อไปค่ะ และก็ท่านที่คิดว่า...โอ้ย...จะรออ่านจนครบ ฮ เมื่อไหร่เนี่ย ... มันไม่ได้ยาวขนาดนั้นค่ะ คิดว่าซักห้าหกครั้งก็จบพอดีค่ะ