Skip to main content

 

การช่วงชิงความหมายและความทรงจำทางประวัติศาสตร์: เมื่อวานนี่เป็นวันครบรอบเหตุการณ์ Gestapu (Gerakan 30 September) ซึ่งย่อมาจาก "ขบวนการวันที่ 30 กันยายน" แต่วันนี้วันที่ 1 ตุลาคม เรียกว่าวัน Gestok (Gerakan 1 Oktober) ย่อมาจาก "ขบวนการวันที่ 1 ตุลาคม" และมีความสำคัญคือ กองทัพอินโดนีเซียได้สถาปนาให้เป็นวัน Hari Kesaktian Pancasila ซึ่งน่าจะแปลเป็นไทยประมาณ "วันปัญจสีลาอันศักดิ์สิทธิ์" เพื่อรำลึกถึงนายทหารที่ถูกสังหารโดยกลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น PKI (คอมมิวนิสต์) ในฐานะที่เป็นผู้พิทักษ์ปัญจสีลา (ปัญจสีลาเป็นอุดมการณ์ของชาติอินโดนีเซีย ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือประนีประนอมความแตกต่างหลากหลายทางแนวคิดทางการเมืองในสมัยสร้างชาติโดยซูการ์โน จริงๆ แล้วซูการ์โนเอาปัญจสีลามาควบคุมแนวคิดรัฐอิสลามในขณะนั้น หลังจากยุคซูการ์โน ปัญจสีลาถูกเอามาใช้อย่างเข้มข้นมาก จนถึงทุกวันนี้ยังได้เห็นฉากเด็กๆ นักเรียนอินโดนีเซียท่องปัญจสีลาในภาพยนตร์หลายๆ เรื่อง)

ข้าพเจ้าก็ไม่แน่ใจว่าคนอินโดนีเซียส่วนใหญ่จดจำเกสตาปู หรือ เกสต๊อก ได้มากกว่ากัน ไม่แน่ใจว่าจดจำการสังหารหมู่สมาชิกและผู้สนับสนุน PKI จำนวนเรือนแสนถึงล้าน หรือ จะจดจำความโหดเหี้ยมของ PKI ในการพยายามทำรัฐประหารที่ถูกถ่ายทอดผ่านแบบเรียน, หนังสือประวัติศาสตร์, อนุสาวรีย์, ภาพยนตร์ และเรื่องเล่ามากกว่า 3 ทศวรรษ ได้มากกว่ากัน...

บล็อกของ onanong

onanong
  คราวนี้จะขอพูดถึงคำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนะคะ คำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนั้นมีอยู่มากมายเพราะเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นและมรรยาทมากเหมือนของไทย การแทนตัวผู้พูดกับผู้ฟังจะขึ้นอยู่กับวัยวุฒิ และสถานะของคนที่เราพูดด้วย
onanong
 มาเรียนภาษาอินโดนีเซียกันต่อนะคะ คราวนี้จะเป็นพยัญชนะและสระประสมนะคะ และแถมด้วยคำที่ออกเสียงใกล้ๆ กันแต่ความหมายไปคนละเรื่องเลยค่ะ
onanong
ตามสัญญานะคะ คราวนี้จะเป็นการสอนภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน วันนี้ขอเริ่มด้วยการออกเสียงพยัญชนะ และสระนะคะ สำหรับผู้ที่ต้องการให้สอนภาษาอินโดนีเซียในระดับที่ยากขึ้นไป อดใจรอหน่อยนะคะ จะค่อยๆ เพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
onanong
คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน พ-ม
onanong
วันที่ 28 ตุลาคมถือเป็นวันกำเนิดภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมีที่มานั้นน่าสนใจยิ่งว่ามาจากการประกาศ“ คำสาบานของเยาวชน” ประธานของสโมสรนักเรียนอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ปี 1928
onanong
“Indonesia Mengajar” เป็นโครงการที่ถ้าเรียกเป็นภาษาไทยก็น่าจะประมาณ “ครูอาสาอินโดนีเซีย” ซึ่งความสำเร็จของมันอาจหมายถึงการทำให้คนอินโดนีเซียหวนคิดถึงยุคสมัยแห่งการสร้างชาติ, คิดถึงชาติที่ unity แต่ในมุมกลับก็มีคำถามบางอย่างเช่นกัน
onanong
ต่อค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน ดิฉันต้องขอชี้แจง (อีกครั้ง-เผื่อท่านที่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน) ว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บาง
onanong
นานมาแล้วมีลูกศิษย์ที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ ขอให้ช่วยสอนคำทักทายภาษาอินโดง่ายๆ เพราะที่นั่นเขามีเพื่อนชาวอินโดอยู่จำนวนหนึ่ง แล้วเขาอยากจะทักทายเพื่อนๆ เป็นภาษาอินโดบ้าง ดิฉันก็เลยจัดให้ และยังเก็บไฟล์ไว้ เลยคิดว่าเผื่อจะมีท่านที่สนใจอยากทราบบ้างค่ะ
onanong
มาแล้วค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี สันสกฤต ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ
onanong
วันนี้ขอสลับพูดถึงคำขวัญของประเทศอินโดนีเซียนะคะ สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการติดตามคำภาษามลายู อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายคำภาษาไทยในพจนานุกรมฉบับมติชนไม่ต้องกังวลนะคะ จะทยอยนำเสนอต่อไปค่ะ และก็ท่านที่คิดว่า...โอ้ย...จะรออ่านจนครบ ฮ เมื่อไหร่เนี่ย ... มันไม่ได้ยาวขนาดนั้นค่ะ คิดว่าซักห้าหกครั้งก็จบพอดีค่ะ