Skip to main content

 

ศัพท์ใหม่ (Kosa kata baru)

Negara-negara (เนอการา เนอการา) ประเทศต่างๆ

Thailand (ไต-ลาน)     = ประเทศไทย .... แหม ท่านผู้อ่านอาจจะบอกว่าประเทศไทยเรียกว่า Thailand ก็รู้อยู่แล้ว จะบอกทำไม ... แต่เนื่องจากว่าคนอินโดนีเซียเค้าจะออกเสียงประเทศเราว่า “ไตลาน” ค่ะ ... ซึ่งดิฉันมักจะเล่นมุขกลับไปเสมอเวลาคนบอกว่าดิฉันมาจากไตลานว่า “ดิฉันไม่ได้มาจากเมืองอึนะ” เพราะว่าคำว่า “ไต” (tai, tahi) ในภาษาอินโดนีเซียแปลว่า อึ หรือ อุจจาระนั่นแหละค่ะ

Kambodia (กัม-โบ-เดีย)        = กัมพูชา

Cina (จี-นา)              = จีน

Jepang (เจอ-ปัง)       = ญี่ปุ่น

Inggris / Inggeris (อิง-กริสฺ / อิง-เกอ-ริสฺ)      = อังกฤษ

Prancis / Perancis (ปรานจิสฺ / เปอ-ราน-จิสฺ) = ฝรั่งเศส

Belanda (เบอ-ลัน-ดา) = เนเธอร์แลนด์

Korea Utara (โค-เรีย อู-ตา-รา) = เกาหลีเหนือ

Korea Selatan (โค-เรีย เซอ-ลา-ตัน) = เกาหลีใต้

Amerika serikat (อา-เม-รี-กา เซอ-รี-กัต)        = สหรัฐอเมริกา

Mesir (เม-ซีรฺ)           = อียิปต์

Yunani (ยู-นา-นี)        = กรีซ

Spanyol (สปัน-ญอลฺ)  = สเปน

 

คราวที่แล้วพูดถึงโครงสร้างประโยคบอกเล่าในภาษาอินโดนีเซียไปแล้วนะคะ จุดที่ง่ายที่สุดของภาษาอินโดนีเซียคือไม่ต้องใช้ verb to be ในการสร้างประโยคเหมือนอย่างเช่นภาษาอังกฤษ  

สำหรับคราวนี้จะพูดถึงประโยคปฏิเสธบ้างค่ะ วิธีการทำประโยคบอกเล่าให้เป็นปฏิเสธนั้นง่ายมาก เพียงแค่เอาคำว่า tidak (ตีดัก) หรือ bukan (บูกัน) วางไว้หน้าคำกิริยา, คุณศัพท์ หรือคำนาม เท่านี้ก็จะเปลี่ยนประโยคนั้นๆ เป็นประโยคปฏิเสธแล้วค่ะ

tidak ใช้วางหน้าคำกริยา และคำคุณศัพท์ แปลว่า “ไม่”

          bukan ใช้วางหน้าคำนาม แปลว่า “ไม่ใช่”

ตัวอย่างประโยคนะคะ

การใช้ tidak

Saya tidak tinggi. = ฉันไม่สูง

Onanong tidak pendek. = อรอนงค์ไม่เตี้ย

Mereka tidak pandai. = พวกเขาไม่ฉลาด

Kita tidak bodoh. = พวกเราไม่โง่

Saya tidak makan nasi goreng. = ฉันไม่กินข้าวผัด

Nani tidak belajar di Universitas Indonesia. = นานีไม่ได้เรียนที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย

Peter tidak pergi ke kampus. = ปีเตอร์ไม่ไปมหาวิทยาลัย

Mereka tidak tidur. = พวกเขาไม่นอน

 

การใช้ bukan

Kami bukan pegawai kantor. = พวกเราไม่ใช่พนักงานบริษัท

Mereka bukan polisi. = พวกเขาไม่ใช่ตำรวจ

Saya bukan orang Thai. = ฉันไม่ใช่คนไทย

Sita bukan mahasiswa di Universitas Thammasat. = สีดาไม่ใช่นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

บล็อกของ onanong

onanong
คำในภาษาไทยหลายๆ คำที่คล้ายกับคำในภาษามลายู, อินโดนีเซีย และ ชวา มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตอยู่ไม่น้อย
onanong
ชื่อบล็อก “Selamat Datang”  (อ่านว่า เซอลามัต ดาตัง) นั้นแปลว่า “ยินดีต้อนรับ” ซึ่งใช้กันทั้งในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ไปจนถึงบรูไน, สิงคโปร์ และปาตานี หากคุณพูดภาษามลายูได้ก็หมายความว่าคุณจะพูดกับคนได้เกือบๆ 250 ล้านคน