Skip to main content

ภาสกร อินทุมาร


ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”

 


15_9_01

วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี


วันวาน


พระที่ดูจะเป็นตำนานคู่วัดบ้านเก่า และเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านอยู่จนถึงทุกวันนี้ ก็คือ หลวงพ่อเปิ้น ปภาโส (พระครูเปิ้นพุทธสรเถร) หลวงพ่อเปิ้นเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคสมัยก่อนสงครามโลกซึ่งมีผู้คนเลื่อมใสศรัทธากราบไหว้ทั่วไปทั้งในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ในวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี จะมีงานประเพณี “พระครูหลวงพ่อเปิ้นวัดบ้านเก่า” ซึ่งงานประเพณีนี้เองก็ได้สะท้อนให้เห็นว่า หลวงพ่อเปิ้นเป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญของชาวบ้าน

15_9_03

หลวงพ่อเปิ้น (พระครูหลวงพ่อเปิ้นพุทธสรเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านเก่า


หลวงพ่อเปิ้นเป็นชาวมอญบ้านกระทุ่มมืด อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เมื่อท่านสูญเสียบิดามารดาเป็นกำพร้าตั้งแต่ยังเยาว์ ญาติของท่านจึงนำไปอุปการะยังบ้านเก่า ชุมชนมอญในจังหวัดชลบุรี คำว่า “เปิ้น” นั้นเป็นภาษามอญ แปลว่า “แน่นอน มั่นคง แท้จริง” หลวงพ่อเปิ้นเกิดเมื่อ พ.. ๒๓๘๐ อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี มรณะภาพเมื่อ พ.. ๒๔๖๐ รวมอายุ ๘๐ ปี และอยู่ในสมณเพศ ๖๐ พรรษา ท่านเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการรูปแรกของวัดบ้านเก่า ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูเปิ้นพุทธสรเถร เมื่อ พ.. ๒๔๒๑ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอพานทอง รวมทั้งเป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อ พ.. ๒๔๒๕


มีเรื่องเล่ากันว่าท่านเป็นคนตรงโผงผาง รักษาระเบียบวินัยเคร่งครัด ในวัดห้ามกินเหล้า เด็ดขาด ทำให้คนเมาเหล้าไม่กล้าเดินผ่านหน้าวัด หรือหากจะเมาแต่เมื่อผ่านหน้าวัดก็จะสงบปากสงบคำเดินตัวตรง เป็นต้น เรื่องความเคร่งครัดของท่านอาจส่งผลให้ชาวบ้านกลัวท่านและไม่กล้าทำผิด แต่ก็มีเรื่องที่ส่งผลต่อศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อท่านเป็นอย่างยิ่งด้วยเช่นกัน ซึ่งนั่นก็คือเรื่องราวที่ท่านต่อสู้กับฝรั่งที่เข้ามามีปัญหากับชาวบ้าน โดยเรื่องมีอยู่ว่า ในช่วงเวลาที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่นั้น ซึ่งหากนับเวลาย้อนขึ้นไปก็น่าจะเป็นเวลานับร้อยปี ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกได้ขยายตัวเข้ามาในย่านบ้านเก่าและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีการรุกล้ำที่ทำกินของชาวบ้านซึ่งขณะนั้นยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพื่อนำไปเป็นพื้นที่เพาะปลูกของตน ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อเปิ้นซึ่งเป็นที่พึ่งของชาวบ้านจึงออกไป “สู้” กับ “ฝรั่ง” ด้วยการไปยืนขวางไม่ให้ฝรั่งรุกล้ำพื้นที่ รวมทั้งถกสบงเปิดก้นใส่ฝรั่ง ทำให้ลูกปืนในลำกล้องปืนของฝรั่งที่เตรียมจะยิงท่านนั้นยิงไม่ออก เหตุการณ์นี้ได้ทำให้ฝรั่งฟ้องร้องไปยังกรุงเทพ เกิดเป็นคดีความระหว่างฝรั่งกับหลวงพ่อเปิ้นขึ้น แต่ในที่สุดหลวงพ่อก็ชนะคดี จนทำให้สมเด็จพระสังฆราชในสมัยนั้นต้องขอดูตัวพระบ้านนอกที่ต่อสู้จนเอาชนะฝรั่งได้ และก็ได้มีเรื่องเล่าต่อมาว่า ฝรั่งที่มีเรื่องกับหลวงพ่อนั้นเสียชีวิตหลังจากเกิดเรื่อง เพราะมีถั่วเขียวงอกอยู่ในท้อง

15_9_02

คลองพานทอง ช่วงที่ไหลผ่านวัด ชาวบ้านนิยมเรียกว่าคลองบ้านเก่า


ศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อหลวงพ่อเปิ้น ส่งผลให้เกิดเรื่องเล่าอื่นๆตามมา อาทิ เมื่อครั้งวัดบ้านเก่าสร้างรูปหล่อของท่าน ได้เกิดปาฏิหาริย์ขึ้นขณะประกอบพิธี กล่าวคือ น้ำในคลองพานทองที่ไหลผ่านหลังวัดซึ่งปกติเป็นน้ำเค็มนั้นได้กลายเป็นน้ำจืด เป็นต้น เรื่องเล่าเหล่านี้ ทั้งเรื่องฝรั่งตายเพราะถั่วเขียวงอกในท้อง หรือเรื่องน้ำเค็มกลายเป็นน้ำจืด หากมองด้วยสายตาของนักวิทยาศาสตร์ ก็อาจเห็นว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ความเป็นไปได้หรือไม่นั้นดูจะไม่ใช่สิ่งสำคัญ เพราะสิ่งที่สำคัญกว่านั้น ก็คือความจริงที่ว่า เรื่องเล่าเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อหลวงพ่อเปิ้น และได้ทำหน้าที่ธำรงศรัทธานั้นไว้จนถึงปัจจุบัน และศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อนั้น ก็มาจากการที่หลวงพ่อสามารถต่อสู้กับภัยคุกคามที่มาจากภายนอก และเป็นที่พึ่งของชาวบ้านได้อย่างแท้จริง


วันนี้


หลวงพ่อเปิ้นเป็นพระมอญ พูดภาษามอญ สวดแบบมอญ และชอบฉันปลาร้ากับผักชะคราม งานศพหลวงพ่อเปิ้นก็ยังมีการจุดลูกหนู ในวันที่หลวงพ่อเปิ้นยังมีชีวิตอยู่ บ้านเก่าหรือบ้านมอญจึงยังคงมีความเป็นมอญอย่างชัดเจน ไม่เพียงแต่หลวงพ่อเท่านั้นที่พูดภาษามอญ ชาวบ้านก็พูดภาษามอญเช่นกัน แต่ทุกวันนี้ แม้ชาวบ้านจะยังคงยืนยันว่าชุมชนนี้เป็นชุมชนมอญมาแต่ดั้งเดิม แต่ก็ไม่มีใครพูดภาษามอญ พระที่วัดก็สวดแบบมอญไม่ได้แล้ว ที่เป็นเช่นนี้ “หลวงพ่อหงษ์ พานทอง” หรือ “พระอธิการหงษ์ ขันติโก” รักษาการเจ้าอาวาสวัดบ้านเก่า บอกว่าเป็นเพราะ “หนังสือ”


15_9_05

พระอธิการหงษ์ พานทอง รักษาการเจ้าอาวาสวัดพานทองรูปปัจจุบัน


หลวงพ่อหงษ์เกิดในปี พ.. ๒๔๗๑ ท่านเล่าว่าเมื่อสมัยเด็กๆ ยายของท่านเล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับคนมอญและชุมชนมอญให้ฟัง รวมทั้งเล่าว่าคนบ้านเก่า-บ้านมอญแห่งอำเภอพานทองจำนวนมากเป็นญาติกับคนมอญย่านวัดชีปะขาว มหาชัย ในอดีต ผู้คนของทั้งสองชุมชนนี้ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอแม้ว่าจะต้องเดินทางด้วยเรือและใช้เวลาถึง ๓ วัน แต่ทว่าในปัจจุบันที่การเดินทางไม่ลำบากเหมือนเมื่อก่อน ผู้คนกลับไม่มีเวลาไปมาหาสู่กัน


หลวงพ่อหงษ์บวชในปี พ.. ๒๔๙๑ แต่ในปี พ.. ๒๕๐๑ ได้ลาสิกขาบทไปครั้งหนึ่ง และกลับมาบวชอีกครั้งในปี พ.. ๒๕๓๒ ด้วยความเป็นคนบ้านเก่า หลวงพ่อหงษ์จึงเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด หลวงพ่อเล่าว่า โยมพ่อของท่านยังพูดและอ่านภาษามอญได้ แต่คนรุ่นท่านพูดมอญไม่ได้แล้ว ท่านเองก็พูดไม่ได้ โดยท่านเห็นว่ามูลเหตุของการที่คนบ้านเก่าไม่สามารถพูดและอ่านเขียนภาษามอญได้ก็คือ “การศึกษาสมัยใหม่” หรือที่ท่านใช้คำว่า “หนังสือ” ที่เข้ามายังชุมชนผ่านทางระบบโรงเรียนของรัฐส่วนกลาง การเรียนหนังสือไทยได้ทำให้ภาษาดั้งเดิมถูกลืมเลือน ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ก็มิได้เกิดขึ้นกับชุมชนมอญแห่งบ้านเก่าเท่านั้น แต่ได้เกิดขึ้นทั่วไปกับชุมชนท้องถิ่นทั้งประเทศ และมิใช่เพียงลูกหลานของชุมชนมอญเท่านั้นที่ไม่พูดภาษามอญ ลูกหลานของชุมชนชาติพันธุ์อื่นๆก็เป็นเช่นเดียวกันที่ลืมเลือน “ภาษาแม่” ของตนจนอาจถึงขั้นปฏิเสธ เพราะภาษาแม่ของตนนั้น “เข้าไม่ได้” กับระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน


นอกจาก “หนังสือ” จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับชุมชนมอญบ้านเก่าแล้วนั้น หลวงพ่อหงษ์ยังเห็นว่า “ความเจริญ” ก็คืออีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลง โรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นรายรอบชุมชน ได้พาลูกหลานคนหนุ่มสาวออกไปสู่วิถีชีวิตแบบใหม่ที่ห่างไกลจากวิถีดั้งเดิมของคนรุ่นก่อน ความเจริญได้พาลูกหลานมอญออกไปจากความเป็นมอญจนยากที่จะเรียกกลับคืนมา


หลวงพ่อหงษ์ไม่ได้ลุกขึ้นต่อสู้กับภัยคุกคามที่มาจากภายนอกดังเช่นที่หลวงพ่อเปิ้นสู้ในครั้งอดีต เพราะภัยคุกคามสมัยใหม่ที่ผ่านมาทางนโยบายของรัฐเช่นนี้ยิ่งใหญ่เกินกำลังของพระรูปหนึ่งที่จะต่อสู้ได้ แต่ท่านก็มองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยการพินิจพิเคราะห์ถึงที่มาของมัน ซึ่งหากใครจะได้มีโอกาสสนทนากับท่าน ก็คงจะเกิดปัญญาในการรู้เท่าทันถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับชุมชน


วันวานถึงวันนี้


จากวันวานจนถึงวันนี้ พระมอญแห่งบ้านเก่าเมืองชลบุรีได้ตั้งคำถามต่อเหตุปัจจัยจากภายนอกที่เข้ามากระทำต่อชุมชน ในอดีต พระของชุมชนแห่งนี้ได้ทำหน้าที่เป็นที่พึ่งของชาวบ้านด้วยการลุกขึ้นสู้จนชนะ แต่พระมอญของวันนี้คงมิอาจหาญที่จะสู้กับเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลงได้ ถึงกระนั้นก็ดี พระมอญของวันนี้ก็ยังคงเป็นที่พึ่งทางความคิดของคนในชุมชนได้ คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ คนในชุมชนจะยังเห็นพระเป็นที่พึ่งอยู่หรือไม่... เท่านั้นเอง




บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…