Skip to main content

ขนิษฐา คันธะวิชัย


สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม

อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย”


กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น


ในครั้งนี้ฉันอยากจะเขียนถึงงานใหญ่ของชาวมอญในเมืองไทยงานหนึ่งที่ฉันได้ไปร่วม นั่นคือ พิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมานี้เอง งานนี้เราจัดกัน ๑ วัน แต่การเตรียมการนั้นใช้เวลาหลายเดือน เนื่องจากเราทำตามประเพณีมอญโบราณซึ่งมีขั้นตอนเยอะ และเราก็ต้องใช้ปัจจัยเยอะด้วยเช่นกัน


ขบวนแห่ฮะอุ๊บมอญ (สังฆทาน) จากวัดชนะสงครามไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง


ในวันงาน ฉัน ในฐานะคณะกรรมการจัดงาน
(มือใหม่) ของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ ก็ต้องวิ่งวุ่นวายเพื่อช่วยเรื่องประสานงาน ซักซ้อมทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนกิจกรรมที่มีการเปลี่ยนกะทันหันตามเหตุการณ์ และต้อนรับพี่น้องชาวมอญที่มาร่วมงานภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพียงเท่านี้ก็วุ่นและเหนื่อยจนไม่ได้เดินออกไปไหนนอกจากภายในลานพระที่นั่ง มาทราบภายหลังว่าเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังต้องนำเสื่อมาปูเพิ่มให้ประชาชนส่วนหนึ่งนั่งบริเวณลานด้านนอกกำแพงพระที่นั่ง เพราะยังมีพี่น้องชาวมอญอีกหลายท่านไม่สามารถเข้ามานั่งร่วมพิธีภายในลานพระที่นั่งดุสิต เนื่องจากคนเยอะจนที่ไม่เพียงพอ


จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีคนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ฉันไม่ได้นับจำนวนที่แน่นอน แต่เห็นว่าน่าจะเป็นจำนวนมากกว่าสองพันคน ชาวมอญหลายๆ คนมาร่วมพิธีเพราะเห็นว่า นี่คือการบำเพ็ญพระราชกุศลให้กับสมเด็จพระพี่นางฯ หรือบางคนอาจเห็นว่านี่เป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีแบบชาวมอญที่ยึดถือกันมาแต่โบราณ ตอนที่เคลื่อนขบวนจากวัดชนะสงครามมาที่พระที่นั่งดุสิต ฉันสังเกตได้ว่าประชาชนที่ผ่านไปมาบนถนนให้ความสนใจ เนื่องจากมองเห็นสาวๆ แต่งชุดมอญถือฮะอุ๊บที่ใส่เครื่องไทยทานเดินเรียงเป็นแถว ซึ่งเป็นภาพที่ไม่ได้เห็นบ่อยนัก นักท่องเที่ยวหลายๆ คนก็อาจจะเห็นว่านี่เป็นภาพที่แปลกตาแนวๆ amazing Thailand จึงได้ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก


พวงมาลาสักการะพระศพสมเด็จพระพี่นางฯ โดยชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ

 
ต่างคนก็ต่างมองเห็นและมีเหตุผลในมุมของตนเอง แต่สำหรับฉันแล้ว ในงานครั้งนี้ฉันมองเห็น “โสร่งแดง” และการยอมรับการแต่งกายตามวัฒนธรรมในชาติพันธุ์ต่างๆ ของสำนักพระราชวัง”


โสร่งนี้ พ่อเมืองท้องถิ่นใกล้กรุงเทพฯบางท่านเกลียดนักเกลียดหนา ว่าไม่ให้ใส่ รับไม่ได้ ใส่โสร่งมาช่วยพระตามเก็บของบิณฑบาต ใส่กางเกงยังรับได้มากกว่า ฯลฯ แต่ก็โสร่งแบบเดียวกันนี้เองที่สำนักพระราชวังให้การยอมรับ และอนุญาตให้ใส่เข้ามาในพระที่นั่งดุสิตฯเพื่อถวายความเคารพพระศพ (ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรก เพราะเมื่อครั้งที่สมเด็จพระพี่นางฯสิ้นพระชนม์ใหม่ๆ ชาวมอญสังขละฯ ก็เคยเข้ามาถวายสักการะพระศพแล้วครั้งหนึ่ง) เนื่องจากเคารพในวัฒนธรรมประเพณีการแต่งกายตามกลุ่มชาติพันธุ์และคติเบื้องหลังการแต่งกาย ซึ่งตามประเพณีดั้งเดิมของชาวมอญแล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ชุดดำเมื่อมาร่วมงานศพ และนี่คือการส่งเสด็จพระวิญญาณสู่สวรรค์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าโศกเศร้าแต่อย่างใดจึงไม่จำเป็นต้องแต่งดำไว้ทุกข์ (แต่ชาวไทยเชื้อสายมอญในระยะหลังๆ ก็ได้รับอิทธิพลแบบกระแสหลักเข้าไปมาก จึงแต่งกายด้วยชุดดำเมื่อไปร่วมงานศพ แต่กระนั้นก็ไม่เคร่งครัดมากว่าต้องเป็นขาวดำเท่านั้น อาจมีสีสดใสแซมมาบ้าง) และสำหรับงานบำเพ็ญกุศลถวายแด่สมเด็จพระพี่นางฯในครั้งนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่อัญเชิญพวงมาลาเพื่อให้ประธานในพิธีถวายสักการะที่หน้าพระโกศก็เป็นหนุ่มมอญ ๒ นายที่นุ่ง “โสร่งแดง”



มอญรำจากเกาะเกร็ด นนทบุรี
 

มอญร้องไห้จากพระนครศรีอยุธยา


เมื่อปีก่อนคนที่นุ่งโสร่งแดงแบบเดียวกันนี้โดนมองว่าเป็นพวกแรงงานต่างด้าว เป็นภัยต่อความมั่นคง นั่นก็อาจเป็นเพราะคนที่มองนั้นมีพื้นฐานประสบการณ์ในแนวที่ทำให้มองเป็นแบบนั้นได้ง่าย เช่นอาจจะเคยได้ยินแต่ข่าวแรงงานต่างด้าวก่ออาชญากรรม หรือฟังภาษาที่พูดไม่ออกเลยเกิดความไม่เข้าใจและหวาดระแวง หรือมองด้วยกรอบความคิดเรื่องความมั่นคง อาจจะกลัวโดนยึดเมือง กลัวว่ารัฐบาลประเทศข้างเคียงจะไม่พอใจ ฯลฯ ซึ่งทางชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ กลุ่ม NGO ในพื้นที่ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ก็ไม่ได้มองแบบนั้น เพราะเรามีพื้นฐานมาอีกแบบหนึ่ง ทำให้เรามองเห็นว่าการนุ่งโสร่งเป็นเรื่องปกติของชาวมอญ ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่มาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว และก็เป็นการธำรงวัฒนธรรมอันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่สามารถแสดงออกได้ และตอนนี้ฉันก็ได้แต่หวังว่าผู้ใหญ่ท่านนั้นคงจะมีความเข้าใจในประเด็นต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น และมองเห็นอะไรที่กว้างขึ้นบ้างแล้ว



ตัวแทนพระสงฆ์มอญจากทั่วประเทศรับสังฆทานแบบมอญ


อย่างไรก็ตาม ในพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ นี้ ฉันดีใจและขอขอบพระคุณสำนักพระราชวังที่ “มองเห็น” คุณค่าของวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ยอมรับและเปิดโอกาสให้เรามีโอกาสรักษาประเพณีวัฒนธรรมแบบเดิมนี้ไว้ ไม่ได้มีมุมมองว่า เป็นชุดของต่างด้าวหรือไม่น่าพึงประสงค์หรือไม่เรียบร้อยแต่อย่างใด จึงนับว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีในประเด็นเรื่องการธำรงวัฒนธรรม


สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม

อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย”


บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…