Skip to main content

ขนิษฐา คันธะวิชัย


สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม

อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย”


กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น


ในครั้งนี้ฉันอยากจะเขียนถึงงานใหญ่ของชาวมอญในเมืองไทยงานหนึ่งที่ฉันได้ไปร่วม นั่นคือ พิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมานี้เอง งานนี้เราจัดกัน ๑ วัน แต่การเตรียมการนั้นใช้เวลาหลายเดือน เนื่องจากเราทำตามประเพณีมอญโบราณซึ่งมีขั้นตอนเยอะ และเราก็ต้องใช้ปัจจัยเยอะด้วยเช่นกัน


ขบวนแห่ฮะอุ๊บมอญ (สังฆทาน) จากวัดชนะสงครามไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง


ในวันงาน ฉัน ในฐานะคณะกรรมการจัดงาน
(มือใหม่) ของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ ก็ต้องวิ่งวุ่นวายเพื่อช่วยเรื่องประสานงาน ซักซ้อมทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนกิจกรรมที่มีการเปลี่ยนกะทันหันตามเหตุการณ์ และต้อนรับพี่น้องชาวมอญที่มาร่วมงานภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพียงเท่านี้ก็วุ่นและเหนื่อยจนไม่ได้เดินออกไปไหนนอกจากภายในลานพระที่นั่ง มาทราบภายหลังว่าเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังต้องนำเสื่อมาปูเพิ่มให้ประชาชนส่วนหนึ่งนั่งบริเวณลานด้านนอกกำแพงพระที่นั่ง เพราะยังมีพี่น้องชาวมอญอีกหลายท่านไม่สามารถเข้ามานั่งร่วมพิธีภายในลานพระที่นั่งดุสิต เนื่องจากคนเยอะจนที่ไม่เพียงพอ


จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีคนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ฉันไม่ได้นับจำนวนที่แน่นอน แต่เห็นว่าน่าจะเป็นจำนวนมากกว่าสองพันคน ชาวมอญหลายๆ คนมาร่วมพิธีเพราะเห็นว่า นี่คือการบำเพ็ญพระราชกุศลให้กับสมเด็จพระพี่นางฯ หรือบางคนอาจเห็นว่านี่เป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีแบบชาวมอญที่ยึดถือกันมาแต่โบราณ ตอนที่เคลื่อนขบวนจากวัดชนะสงครามมาที่พระที่นั่งดุสิต ฉันสังเกตได้ว่าประชาชนที่ผ่านไปมาบนถนนให้ความสนใจ เนื่องจากมองเห็นสาวๆ แต่งชุดมอญถือฮะอุ๊บที่ใส่เครื่องไทยทานเดินเรียงเป็นแถว ซึ่งเป็นภาพที่ไม่ได้เห็นบ่อยนัก นักท่องเที่ยวหลายๆ คนก็อาจจะเห็นว่านี่เป็นภาพที่แปลกตาแนวๆ amazing Thailand จึงได้ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก


พวงมาลาสักการะพระศพสมเด็จพระพี่นางฯ โดยชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ

 
ต่างคนก็ต่างมองเห็นและมีเหตุผลในมุมของตนเอง แต่สำหรับฉันแล้ว ในงานครั้งนี้ฉันมองเห็น “โสร่งแดง” และการยอมรับการแต่งกายตามวัฒนธรรมในชาติพันธุ์ต่างๆ ของสำนักพระราชวัง”


โสร่งนี้ พ่อเมืองท้องถิ่นใกล้กรุงเทพฯบางท่านเกลียดนักเกลียดหนา ว่าไม่ให้ใส่ รับไม่ได้ ใส่โสร่งมาช่วยพระตามเก็บของบิณฑบาต ใส่กางเกงยังรับได้มากกว่า ฯลฯ แต่ก็โสร่งแบบเดียวกันนี้เองที่สำนักพระราชวังให้การยอมรับ และอนุญาตให้ใส่เข้ามาในพระที่นั่งดุสิตฯเพื่อถวายความเคารพพระศพ (ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรก เพราะเมื่อครั้งที่สมเด็จพระพี่นางฯสิ้นพระชนม์ใหม่ๆ ชาวมอญสังขละฯ ก็เคยเข้ามาถวายสักการะพระศพแล้วครั้งหนึ่ง) เนื่องจากเคารพในวัฒนธรรมประเพณีการแต่งกายตามกลุ่มชาติพันธุ์และคติเบื้องหลังการแต่งกาย ซึ่งตามประเพณีดั้งเดิมของชาวมอญแล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ชุดดำเมื่อมาร่วมงานศพ และนี่คือการส่งเสด็จพระวิญญาณสู่สวรรค์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าโศกเศร้าแต่อย่างใดจึงไม่จำเป็นต้องแต่งดำไว้ทุกข์ (แต่ชาวไทยเชื้อสายมอญในระยะหลังๆ ก็ได้รับอิทธิพลแบบกระแสหลักเข้าไปมาก จึงแต่งกายด้วยชุดดำเมื่อไปร่วมงานศพ แต่กระนั้นก็ไม่เคร่งครัดมากว่าต้องเป็นขาวดำเท่านั้น อาจมีสีสดใสแซมมาบ้าง) และสำหรับงานบำเพ็ญกุศลถวายแด่สมเด็จพระพี่นางฯในครั้งนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่อัญเชิญพวงมาลาเพื่อให้ประธานในพิธีถวายสักการะที่หน้าพระโกศก็เป็นหนุ่มมอญ ๒ นายที่นุ่ง “โสร่งแดง”



มอญรำจากเกาะเกร็ด นนทบุรี
 

มอญร้องไห้จากพระนครศรีอยุธยา


เมื่อปีก่อนคนที่นุ่งโสร่งแดงแบบเดียวกันนี้โดนมองว่าเป็นพวกแรงงานต่างด้าว เป็นภัยต่อความมั่นคง นั่นก็อาจเป็นเพราะคนที่มองนั้นมีพื้นฐานประสบการณ์ในแนวที่ทำให้มองเป็นแบบนั้นได้ง่าย เช่นอาจจะเคยได้ยินแต่ข่าวแรงงานต่างด้าวก่ออาชญากรรม หรือฟังภาษาที่พูดไม่ออกเลยเกิดความไม่เข้าใจและหวาดระแวง หรือมองด้วยกรอบความคิดเรื่องความมั่นคง อาจจะกลัวโดนยึดเมือง กลัวว่ารัฐบาลประเทศข้างเคียงจะไม่พอใจ ฯลฯ ซึ่งทางชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ กลุ่ม NGO ในพื้นที่ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ก็ไม่ได้มองแบบนั้น เพราะเรามีพื้นฐานมาอีกแบบหนึ่ง ทำให้เรามองเห็นว่าการนุ่งโสร่งเป็นเรื่องปกติของชาวมอญ ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่มาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว และก็เป็นการธำรงวัฒนธรรมอันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่สามารถแสดงออกได้ และตอนนี้ฉันก็ได้แต่หวังว่าผู้ใหญ่ท่านนั้นคงจะมีความเข้าใจในประเด็นต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น และมองเห็นอะไรที่กว้างขึ้นบ้างแล้ว



ตัวแทนพระสงฆ์มอญจากทั่วประเทศรับสังฆทานแบบมอญ


อย่างไรก็ตาม ในพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ นี้ ฉันดีใจและขอขอบพระคุณสำนักพระราชวังที่ “มองเห็น” คุณค่าของวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ยอมรับและเปิดโอกาสให้เรามีโอกาสรักษาประเพณีวัฒนธรรมแบบเดิมนี้ไว้ ไม่ได้มีมุมมองว่า เป็นชุดของต่างด้าวหรือไม่น่าพึงประสงค์หรือไม่เรียบร้อยแต่อย่างใด จึงนับว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีในประเด็นเรื่องการธำรงวัฒนธรรม


สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม

อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย”


บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…