Skip to main content

ขนิษฐา คันธะวิชัย
สมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ

รื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...

เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย

งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฝรั่งเศส เนเธอแลนด์ ฯลฯ แม้แต่ในเมืองมอญเองก็ไม่ได้มีงานวันชาติเพียงแค่ในหมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น ทุกหมู่บ้านต่างก็จัดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยมอญทั่วโลกยึดเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันชาติมอญ  เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวันก่อตั้งเมืองหงสาวดี เมืองหลวงของชาวมอญนั่นเอง ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 22 กุมภาพันธ์

สำหรับในประเทศไทยปีนี้ถือฤกษ์สะดวก จัดงาน“รำลึกบรรพชนมอญ” ในวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล และก็เป็นเพียงการทำบุญให้บรรพชนและมีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์และธำรงค์วัฒนธรรม ไม่ได้มีการเปิดไฮด์ปาร์คด่าประเทศเพื่อนบ้าน หรือมีจุดมุ่งหมายแฝงทางการเมืองแต่อย่างใด เพียงแค่นี้ก็ยังทำให้หน่วยงานความมั่นคงในจังหวัดสมุทรสาครก็แทบจะนั่งไม่ติดเลยทีเดียว  

ฉันได้รับคำเชิญให้ไปร่วมงานวันชาติจากผู้ใหญ่ชาวมอญที่เคยติดต่องานกับฉัน ในเมื่อผู้ใหญ่บอกว่าจะส่งบัตร “เชิญ” มาให้ ฉันเป็นเด็กจะไม่ไปได้อย่างไร ในที่สุดฉันก็เข้าไปในหมู่บ้านบ่อญี่ปุ่นตั้งแต่คืนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ โดยการดูแลของทหารหน่วยประสานมอญ และน้องๆ เยาวชนมอญที่มาจากเมืองมอญ พวกเราต้องเบียดกันไปบนรถปิ๊กอัพคันเดียวถึง 24 คน  แต่น้องๆ ทุกคนก็ไม่บ่นถึงความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าหน้าปะทะลมและฝุ่นแดง ในทางตรงกันข้าม กลับร้องเพลงภาษามอญกันอย่างสนุกสนาน แม้ฉันจะไม่เข้าใจเนื้อเพลง แต่สีหน้าและแววตาของคนร้องก็ทำให้ฉันรู้สึกได้ถึงความเบิกบานใจและความมุ่งมั่นของน้องๆ ฉันจึงรู้สึกเบิกบานใจและสนุกสนานไปด้วย สมาชิกคนหนึ่งบอกฉันว่าเพลงนี้เป็นเพลงปลุกใจ เนื้อหาเกี่ยวกับการไม่ลืมถึงเป้าหมายสูงสุดคือ การได้ปกครองตนเอง และการได้ชาติมอญกลับคืนมา

พวกเราไปถึงบ้านบ่อญี่ปุ่นเวลาเกือบสองทุ่ม งานมหรสพเริ่มแล้ว จริงๆ แล้วคืนก่อนนั้นก็มีงานเช่นกันแต่เป็นการแสดงศิลปวัฒนธรรม ส่วนคืนวันที่ 21 ที่ฉันไปถึงนั้นนี้มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ เหมือนตลาดนัดทั่วไปที่ฉันเคยเห็นในเมืองไทย ฉันแวะร้านขายหมาก ซึ่งมีทั้งหมากป้ายปูนที่ชายชาวมอญชอบเคี้ยว และหมากที่ใส่มะพร้าวย้อมสีที่เพื่อนฉันบอกว่าผู้หญิงจะเลือกเคี้ยวหมากชนิดนี้มากกว่า และก็มีหมากฝรั่ง ลูกอม นับว่าเป็นร้านขายของแก้เหงาปากจริงๆ ฉันอยากจะลองซื้อหมากป้ายปูนมาเคี้ยวสักคำจะได้เป็นประสบการณ์ชีวิต แต่ก็กลัว “ยันหมาก” เลยได้แต่หยิบหมากฝรั่งที่ฉันนำติดตัวมาขึ้นมาเคี้ยวเล่นแทน แต่ฉันก็ได้อุดหนุนแม่ค้าไปนิดหนึ่ง ในตอนแรกฉันไม่รู้ว่าจะใช้เงินสกุลไหนซื้อของในหมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น แต่ในเมื่อเขาบอกราคามาเป็นบาท ฉันจึงจ่ายเงินบาทไปปกติ ซึ่งก็เหมือนกับเมืองที่อยู่ติดชายแดนไทยทั่วไปที่เราใช้เงินบาทซื้อของได้เลย  

เดินไปอีกนิดก็เห็นซุ้มรณรงค์เรื่องป้องกันโรคเอดส์และการสอนวิธีคุมกำเนิด จัดโดยองค์กรเอกชนที่มาจากฝั่งไทย มีคำอธิบายทั้งภาษามอญและภาษาไทย น้องๆไปตอบคำถามได้ของรางวัลเป็นผงซักฟอก สมุด ดินสอ (และถุงยางอนามัย?) มากันหลายคน นอกจากนี้ยังมีหนังกลางแปลงและมีนักร้องนักดนตรีที่ไปจากฝั่งไทย เล่นเพลงไทย  เล่นเพลงไทยจริงๆ ไม่ได้พิมพ์ผิด

20080305 เยาวชนมอญในมือแม่ และธงชาติมอญในมือเยาวชน
เยาวชนมอญในมือแม่ และธงชาติมอญในมือเยาวชน

ฉันไม่นึกว่าจะได้ฟังเพลง “รักจางที่บางปะกง” หรือเพลงของ “พลพล” ในเมืองมอญ แล้วก็ไม่นึกด้วยว่าจะได้ยินเพลง “Slow Motion” ของโจอี้บอย ดังกระหึ่มออกมาจากบ้านคนมอญในเมืองมอญ แต่ว่าก็ว่าเถิด โลกาภิวัตน์เข้าไปถึงทุกหนทุกแห่ง แม้หมู่บ้านชนบทอย่างบ่อญี่ปุ่นก็คงไม่ใช่ข้อยกเว้น หรืออาจเป็นเพราะบ้านบ่อญี่ปุ่นเป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดชายแดนไทย และมีคนมาทำงานในเมืองไทย จึงรับวัฒนธรรมและกระแสต่างๆ จากไทยไปมากก็เป็นได้ วัยรุ่นบางคนก็พูดภาษาไทยชัดมากและด่ากันเป็นภาษาไทยอย่างคล่องแคล่ว ภาษาอังกฤษก็พอพูดกันได้ เวลาที่ฉันสื่อสารภาษามอญอย่างกระท่อนกระแท่นออกไปแล้วเขาไม่รู้เรื่อง ฉันก็จะพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งเขาก็ตอบฉันมาเป็นภาษาอังกฤษกันได้ทุกคน มากบ้างน้อยบ้าง เพราะมีอาสาสมัครที่เป็นฝรั่งมาสอนภาษาอังกฤษ อย่างในวันงานฉันก็เห็นอาสาสมัครที่เป็นฝรั่งประมาณ 3-4 คนมาร่วมงาน

วันที่ 22 กุมภาพันธ์อันเป็นวันงาน พวกเราตื่นมาแต่งตัวกันแต่เช้า ฉันสู้อุตส่าห์จำคำของศิษย์พี่ฉันซึ่งเป็นมอญเมืองไทยได้ว่า
“สไบเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงมอญ สมัยที่รุ่นพี่เด็ก ยังเคยได้ยินคนแก่ดุสาวๆ ถึงขั้นร้องไห้ เพราะว่าไม่ได้ห่มสไบมาวัด เพราะมีคำพยากรณ์ทำนายไว้ทำนองว่าเมื่อโลกจะถึงกาลวิบัตินั้นจะเกิดเหตุวิปริตให้เห็นหลายประการ เช่นน้ำจะท่วมโลก กาจะออกไข่เป็นหงส์ รวมทั้งผู้หญิงมอญจะพากันทิ้งสไบ”

จะเห็นได้ว่าสไบเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงมอญ ฉันจึงนำสไบสีแดงติดตัวมาด้วย เพราะรู้ว่าต้องใส่ชุดมอญ แต่ปรากฎว่าในกลุ่มที่ฉันไปด้วยนั้นมีเพียงฉันคนเดียวที่คล้องสไบ ส่วนคนอื่นใส่แต่เพียงเสื้อขาว หรือเสื้อยืดสีขาวพิมพ์ข้อความภาษามอญ มีน้อยคนนักที่ห่มสไบ เห็นแต่เพียงนางรำเท่านั้น

อ้าว ผู้หญิงมอญที่บ่อญี่ปุ่นไม่ห่มสไบกันแล้ว เอ...หรือว่าเขาใส่เฉพาะเวลาไปวัด นี่เป็น Culture shock อันหนึ่งที่ฉันพบตั้งแต่มาเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวมอญ สิ่งที่ฉันฟัง “บรรยาย” มา กับสิ่งที่ฉันเรียนรู้ในสถานการณ์จริงนั้นไม่เหมือนกัน แต่ก็เข้าใจว่าเพราะสังคมมอญเองก็มีความหลากหลายอยู่ในตัวและต้องปรับตัวไปตามสภาพภูมิสังคมที่ต่างกัน จะให้มีความเชื่อ รายละเอียดประเพณีรวมทั้งความนึกคิดแบบเป็นพิมพ์เดียวกันคงเป็นไปไม่ได้ ฉันก็ต้องเรียนรู้ต่อไป

20080305 ขบวนธงสวนสนามของทหารมอญ
ขบวนธงสวนสนามของทหารมอญ

คนในหมู่บ้านเริ่มเดินทางมาบริเวณสนามที่จัดงานตั้งแต่เช้าตรู่ เช้านี้ฉันจึงได้เห็นว่ามีการประดับธงชาติมอญไว้หน้าบ้านทุกๆ บ้าน ทุกๆคนพร้อมใจกันแต่งโสร่งแดง ผ้าถุงแดง เสื้อขาว ส่วนชายก็ใส่เสื้อขาวตารางแดง ซึ่งถือกันว่าเป็นชุดประจำชาติมอญ นอกจากคนในหมู่บ้านแล้ว ยังมีชาวมอญในหมู่บ้านอื่นที่อยู่ใกล้เคียง เช่นชาวมอญจากสังขละมาร่วมงานด้วยจึงมีคนเต็มสนาม

20080305 แถวเยาวชนมอญจากหมู่บ้านต่างๆ ที่มาร่วมในพิธี
แถวเยาวชนมอญจากหมู่บ้านต่างๆ ที่มาร่วมในพิธี

ส่วนงานนั้นเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 7.00 น. มีการสวนสนามของทหารมอญที่ประจำการณ์อยู่แถบเจดีย์สามองค์ หัวแถวเป็นขบวนกลองสวนสนาม ตามด้วยขบวนธงชาติมอญ ขบวนทหารชายและทหารหญิง จากนั้นเป็นการกล่าวสุนทรพจน์โดยนายชานตอย รองเลขาธิการพรรคมอญใหม่ (Nai Chan Toik – Joint Secretary of New Mon State Party) นายทหารมอญระดับสูง ประธานจัดงาน และตัวแทนมอญเมืองไทย แม้ฉันจะฟังภาษามอญไม่ออกแต่ก็พอจับใจความได้ว่าหลายๆ ท่านได้พูดย้อนไปตั้งแต่พระเจ้าสมละ และวิมละ กษัตริย์สองพี่น้องที่เกี่ยวข้องกับตำนานการสร้างเมืองหงสาวดี

 

20080305 การกล่าวสุนทรพจน์ของตัวแทนพรรคมอญใหม่
การกล่าวสุนทรพจน์ของตัวแทนพรรคมอญใหม่


ในตอนหนึ่งของการกล่าวสุนทรพจน์ ผู้ใหญ่ในงานท่านหนึ่งกล่าวว่า เราชาวมอญควรก้าวตามกระแสโลกาภิวัฒน์ให้ทัน และควรเพิ่มพูนความรู้เพื่อก้าวไปข้างหน้า อย่าคิดแต่เรื่องหนหลังอย่างเดียว ผู้ใหญ่อีกท่านได้กล่าวถึงสถานการณ์ “สมองไหล” ว่า ปัญหาปัจจุบันของชาวมอญนี้คือคนมอญที่มีความรู้นั้นได้ไปเรียน ไปทำงานหรือทำธุรกิจในประเทศอื่นแล้วไม่ได้กลับมา ซึ่งคนมอญควรอยู่ในประเทศของเรา จริงๆ แล้วผู้ที่กล่าวสุนทรพจน์มีมากกว่านี้ แต่นี่เป็นข้อความที่เพื่อนมอญของฉันแปลให้ฟัง ในขณะที่ข้อความอื่นเธอไม่ได้แปล ฉันเข้าใจว่านี่คงเป็นข้อความที่โดนใจเธอ และเธอเห็นด้วย ถึงแปลให้ฉันฟังอย่างกระตือรือร้นโดยที่ฉันไม่ต้องถาม

20080305 กองทหารเกียรติยศหน้าปะรำพิธีและผู้มาร่วมงาน
กองทหารเกียรติยศหน้าปะรำพิธีและผู้มาร่วมงาน

สิ่งที่ฉันชอบในงานนี้คือการร้องเพลงของเยาวชนมอญนี่เอง หลังจากประธานในพิธีเดินทางกลับ ก็มีการแสดงบนเวที หนึ่งในนั้นคือการร้องเพลงของเยาวชนมอญ ซึ่งมีเนื้อหาในทำนองว่า ชาวมอญควรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อประเทศของเรา เราหวังว่าวันหนึ่งเราจะได้เลือกผู้นำที่ดีมาปกครองประเทศของเรา หงส์จะบินคืนสู่แผ่นดินมอญ การที่มอญไม่มีประเทศเพราะถูก “เขา” รังแก อย่างไรก็ตาม เหตุที่ฉันชอบนั้นไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาในเพลง แต่เป็นเพราะว่าในขณะที่ฉันถ่ายรูปเหล่านักร้องบนเวทีนั้น คนข้างล่างเวทีที่อยู่ใกล้ๆฉันก็พากันร่วมร้องเพลงนี้ด้วย เมื่อมองเข้าไปในสายตาของแต่ละคน ก็เห็นประกายแบบเดียวกับที่ฉันเห็นจากน้องเยาวชนมอญกลุ่มที่ฉันเดินทางมาด้วย เป็นประกายของความมีจุดมุ่งหมาย สิ่งนี้ทำให้ฉันอดชื่นชมไม่ได้ แม้ฉันจะไม่ใช่ชาวมอญ แต่เมื่อได้มาอยู่ในสถานที่ที่มีรัศมีแห่งความหวัง ความเบิกบานใจและความมุ่งมั่นเปล่งประกายเช่นนี้ ก็ย่อมทำให้ฉันมีความสุขและปลาบปลื้มไปด้วย

เยาวชนมอญ...แม้จะเปิดเพลงโจอี้บอยดังลั่น แต่หน้าบ้านก็ยังประดับธงมอญ
เยาวชนมอญ...แม้จะด่ากันเป็นภาษาไทยบ้าง แต่ก็นุ่งโสร่งแดงมางานวันชาติมอญ

แม้ว่ากำลังทหารและอาวุธอาจจะสู้เขาไม่ได้ แต่ก็มี “สำนึกรักชาติของเยาวชนมอญ” ที่ฉันเห็นว่าเป็น “ยุทธปัจจัย” ที่สำคัญกว่ากระสุนปืนหรืออาวุธทรงอานุภาพใดๆ

นี่คือความประทับใจของฉันที่มีต่อเยาวชนมอญและงานวันชาติมอญ ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น
   

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
การบริภาษผู้ที่มาทำให้เราไม่พอใจนั้นมีอยู่ด้วยกันทุกชนชาติ หากแต่ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงคิดว่าจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถระบายอารมณ์พลุ่งพล่านนั้นลงได้ ว่าแต่ว่า คำที่คนชาติหนึ่งด่ากันแล้วนำเอาไปด่าใส่คนอีกชาติหนึ่งมันจะเจ็บแสบอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือคนด่าจะเป็นฝ่ายเจ็บเสียเอง
องค์ บรรจุน
บางท่านอาจเคยรู้มาบ้างแล้วว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทยสยาม แต่บรรดาคนเกือบทั้งหมดในจำนวนนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อสายไทยสยามของท่านนั้นแท้จริงแล้วคือ มอญ ด้วยสายเลือดข้างมารดานั้นคือ คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) หลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีคนแรก ต้นสกุล นนทนาคร
องค์ บรรจุน
แม้พุทธศาสนาจะมีต้นกำเนิดมาจากชมพูทวีป แต่ชนชาติต่างๆ ได้มีการแลกรับปรับใช้ในแบบของตนเอง เกิดลัทธินิกายผิดแผกแตกต่างกันไป สำหรับพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นเป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเถรวาทของมอญ ซึ่งเลื่องชื่อเรื่องความเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติของสงฆ์และความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแน่นแฟ้นของพุทธศาสนิกชนมอญ ข้อหนึ่งที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้คือ พุทธประวัติตอนที่พระนางพิมพาสยายผมลงเช็ดพระบาทองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธประวัติตอนนี้มีกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของมอญเท่านั้น นอกจากนี้ชาวมอญยังได้นำมาใช้ในชีวิตจริงกับกษัตริย์และราชวงศ์อีกด้วย…
องค์ บรรจุน
ตลาดน้ำเกิดใหม่ใกล้กรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วอึดใจ ท่ามกลางธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ ผู้คนให้การต้อนรับแบบน้ำใสใจจริง และเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์รายรอบที่น่าสนใจ แม้จะเป็นตลาดน้ำเกิดใหม่เมื่อไม่นานแต่ก็ไม่มีการเสริมแต่งอย่างฝืนธรรมชาติ ซ้ำยังโดดเด่นด้วยของกินของใช้และของฝากหลากหลายโดยพ่อค้าแม่ขายคนในท้องถิ่น เปิดขายทุกวันเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่เช้าตรู่เรื่อยไปจนแดดร่มลมตก จากนั้นตลาดก็จะวายไปเองตามวิถีทางของมัน  
องค์ บรรจุน
ป้าขจี (สงวนนามสกุล) เป็นคนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในหลายวัฒนธรรม คลุกคลีกับผู้คนตั้งแต่เหนือสุดจนเกือบใต้สุดแดนสยาม อีกทั้งยังมีการผสมผสานหลายชาติพันธุ์ในตัวของป้า กับวัยที่ผ่านสุขทุกข์มาแล้วกว่า ๗๖ ปี จิตใจที่โน้มเอียงเลือกจะอยู่ข้างวัฒนธรรมแบบใดหรือยอมรับการผสมผสานของสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตมากน้อยเพียงใดนั้น คงเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่หล่อหลอมป้าขจีมาตั้งแต่วัยเด็ก
องค์ บรรจุน
ไม่รู้ว่าทำไมนักวิชาการที่ชอบใช้ทฤษฎีเมืองนอกเมืองนา ประเภทท่องจำขี้ปากฝรั่งมาพูด (สังเกตดูจากบทความวิชาการที่มักมีวงเล็บภาษาอังกฤษ มีเชิงอรรถในแต่ละหน้าเกือบครึ่งหน้ากระดาษ ฉันไม่ได้รังเกียจหลักการวิชาการของต่างชาติที่มีมาก่อนเรา เพียงแต่สงสัยว่า ตรงไหนกันหนอคือความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากสมองของคนเขียน...?) ชอบเอาทฤษฎีมาทดสอบพฤติกรรมเอากับคนเล็กคนน้อย คนที่ไม่ค่อยมีปากมีเสียงในสังคม โดยมักมีคำถามและ “คำพิพากษา” ต่อคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เมื่อพบเจอคนชาติพันธุ์นุ่งห่มชุดประจำชาติของเขาในกิจกรรมสำคัญ ก็ล้วนมีคำพูดถากถางเสียดสี และพูดคุยกันในกลุ่มของตัวเองแบบเห็นเป็นเรื่องขำ
องค์ บรรจุน
ถึงทุกวันนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันแล้วว่า พม่าย้ายเมืองหลวงจาก ร่างกุ้ง (Rangoon) ไปยังเมืองเนปิดอว์ (Naypyitaw หรือ Naypyidaw) หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไม เหตุผลที่คาดเดากันไปก็มีหลายอย่าง ทั้งความเชื่อถือของนายพลตานฉ่วยตามคำทำนายของโหรส่วนตัว ภัยคุกคามจากอเมริกา หรือข่าวล่าสุดเรื่องการสะสมอาวุธ สร้างอุโมงค์ใต้ดินซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือเมื่อไม่นาน เพื่อลำเลียงพลและสรรพาวุธป้องกันตนเองและควบคุมชนกลุ่มน้อยต่างๆ
องค์ บรรจุน
เม้ยเผื่อน เล่าว่า ตนเองเกิดที่ย่านวัดน่วมกานนท์ ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับบ้านปากบ่อและอยู่ภายในตำบลเดียวกันและเป็นหมู่บ้านของสามีและเครือญาติทางสามี
องค์ บรรจุน
  ผมไม่ได้คิดฝันว่าจะเป็นนักวิชาการมาแต่ต้น สู้เรียนเพิ่มจากระดับปริญญาตรีในศาสตร์คนละแขนงต่างขั้ว แค่หวังเพียงจะได้รับฟังและพูดคุยอธิบายความกับนักวิชาการทั้งหลายให้รู้เรื่องบ้างเท่านั้น
องค์ บรรจุน
ผมเป็นคนมหาชัย แม้ว่ามหาชัยเป็นเพียงแค่ชื่อตำบลหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แต่คนทั่วไปกลับรู้จักคุ้นเคยมากกว่าชื่อจังหวัด เช่นเดียวกับ แม่กลอง ซึ่งเปรียบเหมือนชื่อเล่นที่คนเคยปากมากกว่าชื่อสมุทรสงคราม ทั้งที่เป็นเพียงชื่อตำบลเล็กๆ เท่านั้น ทั้งสองจังหวัดนี้อยู่ชายทะเลอ่าวไทย สมุทรสาครมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านท่าจีน ไม่ต่างจากสมุทรสงครามที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านแม่กลอง
องค์ บรรจุน
มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยมีรัฐเอกราชปกครองตนเองอยู่ตอนใต้ของประเทศพม่า ปัจจุบันอยู่ในฐานะชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า ขณะที่มอญส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามายังดินแดนไทย และมีฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยเช่นเดียวกัน ชนชาติมอญ มีประวัติศาสตร์และอารยธรรมสืบเนื่องมายาวนาน แม้ปัจจุบันจะไม่มีรัฐปกครองตนเอง แต่วัฒนธรรมมอญทางด้านศาสนา ภาษา วรรณคดี สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ความเชื่อและประเพณีพิธีกรรมของชนชาติในภูมิภาคนี้ ล้วนได้รับอิทธิพลจากมอญ
องค์ บรรจุน
ราชาธิราช คือ วรรณคดีไทยที่แปลมาจากพงศาวดารมอญ โดยมีการแต่งเติมรายละเอียดบางอย่าง จึงไม่ใช่ประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารมอญ แม้คนมอญจำนวนมากเชื่อว่า “ราชาธิราช” เป็นพงศาวดารชาติมอญก็ตาม เพราะได้รับอิทธิพลจากการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และคณะ แปลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ นำมาสู่การจัดพิมพ์จำหน่ายโดยหมอบรัดเลย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ และอีกหลายสำนักพิมพ์มากกว่า ๒๒ ครั้ง ไม่นับแบบเรียน การแสดงลิเก ละครพันทาง ละครเวที และละครโทรทัศน์