Skip to main content

ถึงทุกวันนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันแล้วว่า พม่าย้ายเมืองหลวงจาก ร่างกุ้ง (Rangoon) ไปยังเมืองเนปิดอว์ (Naypyitaw หรือ Naypyidaw) หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไม เหตุผลที่คาดเดากันไปก็มีหลายอย่าง ทั้งความเชื่อถือของนายพลตานฉ่วยตามคำทำนายของโหรส่วนตัว ภัยคุกคามจากอเมริกา หรือข่าวล่าสุดเรื่องการสะสมอาวุธ สร้างอุโมงค์ใต้ดินซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือเมื่อไม่นาน เพื่อลำเลียงพลและสรรพาวุธป้องกันตนเองและควบคุมชนกลุ่มน้อยต่างๆ

\\/--break--\>
ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับพม่า แต่คนไทยรู้จักพม่าแค่เพียงความทรงจำในอดีต ในฐานะผู้ร้ายที่เคยเผาบ้านเผาเมืองเมื่อสองร้อยปีก่อน ขณะที่เราเอ็นดูลาวด้วยเป็นบ้านพี่เมืองน้อง แต่ลาวก็ไม่อยากเป็นน้อง ขออยู่ในฐานะเสมอกัน เพราะลึกๆ แล้วลาวก็น่าจะชังไทยเหมือนกับที่ไทยชังพม่า หากใช้เหตุผลเดียวกัน คือ คนไทยเคยเผาบ้านเมืองลาวเอาไว้เมื่อสองร้อยปีก่อน


ไม่ว่าไทยกับพม่าจะรักหรือชังกันเพียงใด แต่ในฐานะปุถุชน เราควรทำความเข้าใจมากขึ้นตามรอบวงที่โลกได้หมุนเวียนไป ด้วยสงครามในอดีตนั้นเป็นสงครามกษัตริย์ ที่มุ่งรบกันเพื่อศักดิ์ศรี มิใช่สงครามระหว่างรัฐ อย่างน้อยในฐานะมนุษย์ก็ควรเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อประชาชนชาวพม่า อย่างคนที่มีลมหายใจ ดิ้นรนลี้ภัยสงคราม และขาดไร้โอกาสในชีวิต


คนไทยคุ้นเคยกับชื่อ “พม่า” (พรหม / Brahma) ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนเป็น “เบอร์มาร์” (Burma) ตามคำเรียกของอังกฤษเจ้าอาณานิคม และเปลี่ยนเป็น “เมียนมาร์” (Myanmar) เมื่อปี ๒๕๓๒ ภายหลังได้เอกราชอีกครั้ง


พม่ามีภาพลักษณ์ในการใช้กำลังต่อประชาชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และที่แตกต่างทางความคิดเห็นในประเทศของตนตลอดเวลา การย้ายเมืองหลวงหลายต่อหลายหน มีทั้งที่เป็นไปด้วยสัญชาติญาณการเอาตัวรอด การแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ ชัยภูมิได้เปรียบทางกองทัพ หรือเพราะเชื่อถือโชคลาง เราอาจเข้าใจความคิดแบบกษัตริย์ (และผู้นำ) พม่า จากเหตุผลของการย้ายเมืองหลวงในหลายๆ ครั้งนี้ก็เป็นได้ แม้ในทุกครั้งประชาชนพม่าไม่เคยมีส่วนร่วมในการรู้เห็น


การย้ายเมืองหลวงของพม่าครั้งล่าสุดคือเมื่อธันวาคม ๒๕๔๘ จากย่างกุ้งไปยังเมืองเนปิดอว์ ใจกลางของประเทศ ไกลจากเมืองหลวงเดิมประมาณ ๔๐๐ กม. และหากนับการเริ่มต้นการอพยพในประวัติศาสตร์พม่า จากตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเข้ามายังพม่าตอนบน ตั้งอาณาจักรพุกามขึ้นโดยพระเจ้าอโนรธา ใน พ.. ๑๕๘๗ ถือเป็นการอพยพเพื่อสร้างเมืองหลวงครั้งแรก


การย้ายเมืองแต่ละครั้งในที่นี้นั่นไม่ได้หมายรวมเฉพาะที่ขุดรากถอนโคน ตอกเสาเข็มก่ออิฐฉาบกำแพงกันใหม่เท่านั้น เพราะเพียงแต่มีสิ่งบอกเหตุ ผู้นำพม่าก็พร้อมจะย้ายที่กิน ที่นอน ที่ว่าราชการเพื่อเอาเคล็ด ในแต่ละครั้งอาจกินเวลาแรมเดือนกระทั่งนานหลายปี


ครั้งที่สอง ภายหลังพุกามของพม่าตกเป็นของไทใหญ่ พ.. ๑๘๔๑ พระเจ้าธิหะสู หรือสีหสู กษัตริย์ไทใหญ่สั่งให้เผาพุกามทิ้ง ย้ายมาสร้าง “เมืองพินยา” ขึ้นใหม่เมื่อ พ.. ๑๘๔๒


ครั้งที่สาม เกิดขึ้นเมื่อ พ.. ๑๙๐๗ ชื่อว่า “กรุงอังวะ” (กรุงรัตนบุระอังวะ) พระเจ้าธาโดมินพญา ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าไทใหญ่ ๓ องค์ ได้สร้างเมืองใหม่แห่งนี้ขึ้น


ครั้งที่สี่ ภายหลังพระเจ้าธาโดมินพญาสวรรคต เกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์ พระราชโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าธิหะสู หรือสีหสู ได้มาตั้ง “เมืองสาแกง” (เมืองจักกาย) ในราว พ.. ๑๘๕๓


ครั้งที่ห้า พระเจ้ากาเลกตองนะโย ได้รับการสนับสนุนจากไทใหญ่เมืองอองบาง (สีป่อ) ตั้งเมืองอังวะขึ้นใหม่ ในปี พ.. ๑๙๖๙


ครั้งที่หก พระเจ้ามินกินโย หรือมังกินโย (มหาศิริชัยสุระ) ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอูที่เป็นพม่าองค์แรก เพราะก่อนหน้านี้ล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจของไทใหญ่ มอญ และอยุธยา โดยเมืองตองอูเป็นเมืองเก่าและใช้เป็นที่หลบซ่อนของผู้คนเมื่อเมืองพุกามเสียแก่ไทใหญ่เมื่อ พ.. ๑๘๔๑


ครั้งที่เจ็ด พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ (ผู้ชนะสิบทิศ) มีชัยเหนือมอญเมืองหงสาวดี พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ต้องการรวมมอญและพม่าให้เป็นชาติเดียวกัน ไม่ต้องการให้มอญคิดกู้ชาติอีก จึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เมื่อ พ.. ๒๐๘๙ จนตลอดรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนอง


ครั้งที่แปด หลังพระเจ้านันทบุเรง โอรสพระเจ้าบุเรงนอง พ่ายแพ้ พระเจ้าตองอูยึดเมืองหงสาวดีได้ ในปี พ.. ๒๑๔๒ แต่ไม่ได้ปกครองเมืองหงสาวดี กลับไปอยู่ที่เมืองตองอู อาจเป็นด้วยเกรงในอำนาจของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่กำลังยกกองทัพที่มีอานุภาพเข้มแข็งติดตามขึ้นมา


ครั้งที่เก้า หลังสมัยของพระเจ้านันทบุเรง บรรดาเมืองของพม่าล้วนแตกเป็นเสี่ยง ต่างตั้งตนเป็นใหญ่ ต่อมาในสมัยของพระมหาธรรมราชา (พระเจ้าอนันกะเพตลุน) ได้ปราบปรามเมืองต่างๆ ให้อยู่ในอำนาจ และกลับไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองอังวะ


ครั้งที่สิบ ปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา ทรงมีพระสติและความคิดผิดปกติ ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงอังวะมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เมื่อ พ.. ๒๑๕๖ หวังให้เมืองหงสาวดีกลับเจริญรุ่งเรืองดังเดิม


ครั้งที่สิบเอ็ด พระเจ้าธาลุน พระเจ้าอาของพระเจ้ามินเรทิพพา กษัตริย์องค์ก่อน และเป็นพระอนุชาของพระมหาธรรมราชา บิดาของพระเจ้ามินเรทิพพา หลังยึดอำนาจจากพระนัดดาได้แล้ว จึงย้ายไปอยู่ที่กรุงอังวะ ในปี พ.. ๒๑๗๘


ครั้งที่สิบสอง หลังมอญก่อการกบฏ จนราชวงศ์ตองอูสูญสิ้น พระเจ้าอลองพญา (อองไจยะ) ลุกขึ้นกอบกู้เอกราชคืนสำเร็จ สถาปนา “เมืองชเวโบ” ขึ้นเมื่อ พ.. ๒๒๙๕


ครั้งที่สิบสาม พระเจ้าอลองพญาตีเมืองเก่าๆ ของพม่าคืน รุกคืบผนวกเอาหัวเมืองมอญได้แก่ สิเรียม หงสาวดี และตะเกิง (ร่างกุ้ง) ทางใต้สุด เข้าเป็นของพม่า ตั้งแต่ พ.. ๒๒๙๘ ได้บูรณะเมืองตะเกิงขึ้นใหม่พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า “ร่างกุ้ง” แปลว่าสิ้นสุดสงคราม


ครั้งที่สิบสี่ หลังมังลอก (พระเจ้านองดอว์คยี) สิ้นพระชนม์ ขณะนั้น มังหม่อง พระโอรสยังเป็นทารกอยู่ พระเจ้ามังระ (พระเจ้าสินพยูซิน) ซึ่งเป็นพระอนุชามังลอกยึดครองราชบัลลังก์ สั่งการให้มังหม่องบวชตลอดชีวิต จากนั้นจึงได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงอังวะ พ.. ๒๓๐๘


ครั้งที่สิบห้า พระเจ้าโบดอว์พญา (พระเจ้าปดุง) พระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าอลองพญา ทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ เมืองอมรปุระ เมื่อ พ.. ๒๓๒๕


ครั้งที่สิบหก ในรัชสมัยพระเจ้ามินดง เริ่มได้รับผลกระทบจากการทำสงครามและการคุกคามจากอังกฤษ จึงย้ายจากเมืองอมรปุระมาอยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ในปี พ.. ๒๔๐๐


ครั้งที่สิบเจ็ด หลังพระเจ้าธีบ่อเสียเอกราชแก่อังกฤษเมื่อปี พ.. ๒๔๒๘ อังกฤษจัดการปกครองพม่าใหม่ให้ขึ้นตรงต่อผู้สำเร็จราชการที่อินเดีย และย้ายเมืองหลวงของพม่ามาอยู่ที่ “มะละแหม่ง” ในเขตมอญ


การย้ายเมืองครั้งล่าสุดของพม่า ครั้งที่ ๑๘ หลังจากอังกฤษและพม่าได้ทำสัญญาลงนามมอบเอกราชเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.. ๒๔๙๐ “พม่าย้ายเมืองหลวงกลับไปที่ “เมืองร่างกุ้ง”ภายหลังการเลือกตั้ง ทหารได้เข้ามาปกครองประเทศ ชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เคยร่วมต่อสู้เพื่อเอกราชสมัยนายพลอองซาน ที่เคยสัญญากันไว้ว่ากลุ่มต่างๆ จะรวมกันอยู่ในสหภาพพม่าเป็นเวลา ๑๐ ปี หลังจากนั้นสามารถแยกตัวเป็นอิสระได้ แต่ภายหลังได้รับเอกราชแล้ว สัญญาดังกล่าวถูกฉีกทิ้งโดยคณะทหารพม่า นับแต่นั้นประชาชนทุกหมู่เหล่าถูกกดขี่ จำกัดสิทธิ และถูกปราบปรามอย่างรุนแรง โดยไม่รับฟังเสียงทักท้วงจากนานาชาติ การปกครองประเทศในระบบสหภาพ ที่ประกอบด้วยรัฐต่างๆ ได้แก่ กะเหรี่ยง อาระกัน คะฉิ่น คะยา ฉิ่น ฉาน และมอญ แต่ในความเป็นจริงรัฐเหล่านั้นมีอยู่แต่ในกระดาษ ไม่เคยได้รับการปฏิบัติ


ข่าวลือที่ว่าระบบผังเมืองย่างกุ้งที่อังกฤษเป็นผู้จัดทำไว้ ตกอยู่ในมือของกองทัพสหรัฐ พม่าจึงมีมาตรการป้องกันการโจมตีจากทหารอเมริกัน ด้วยการสร้างอุโมงค์ใต้ดินและขีปนาวุธทั้งหลายขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้ว่ากองทัพพม่าจะพ้นรัศมีการทำลายล้างดังกล่าว


คนที่ไม่มีความรู้ด้านการเมืองอย่างผมเชื่อว่า ประสบการณ์ที่เคยผิดพลาดเมื่อครั้งเหตุการณ์กบฏชนกลุ่มน้อยเมื่อต้นราชวงศ์ตองอู และในอีกหลายครั้ง เพราะพม่าตั้งเมืองหลวงค่อนไปทางเหนือหรือใต้มากเกินไป เมืองหลวงใหม่ที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของประเทศพม่าพอดิบพอดีนี้ สามารถควบคุมดูแลชนกลุ่มน้อยครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสามารถควบคุมสันญาณโทรคมนาคมทั้งในและนอกประเทศได้ดี พร้อมรองรับข้อตกลงทางธุรกิจเซ็นสัญญากับนายกพลัดถิ่นที่พนมเปญเมื่อก่อนหน้านี้


เมื่อทบทวนประวัติศาสตร์พม่าตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันอย่างละเอียดจะพบว่า การย้ายเมืองของพม่าในหลายครั้งอยู่บนความเชื่อส่วนบุคคล ข้อสังเกตจากการที่ผมได้เดินทางไปพม่าเมื่อต้นปี พ.. ๒๕๔๘ พบผู้นำพม่ากำลังประกอบพิธีหลวง ต่อชะตาเมืองอย่างขะมักเขม้นบนลานพระธาตุอินทร์แขวน (พระเจดีย์ไจ้ทีโย)


แขวงเมืองพยีปะนา” ที่ตั้งเมืองหลวงล่าสุดของพม่าในเมืองเนปิดอว์อาจบอกอะไรได้บางอย่าง คนมอญ พม่า ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) และไทใหญ่หลายคนเชื่อว่า เป็นความเชื่อด้านโชคลางของพม่า เพราะเมืองพยีปะนานั้น เป็นเมืองเก่าของมอญ ที่อยู่ตรงแดนกันชนระหว่างเมืองมอญและพม่ามาตั้งแต่สมัยพระเจ้าราชาธิราช มอญเรียกว่า “เมืองเปรียงปะนาน” ซึ่งแปลว่า “ที่เตรียมพล” ก่อนพม่าและมอญจะยกทัพโจมตีกันและกัน พม่าจึงต้องการได้ทั้งชื่อ และชัย (ภูมิ)


มอญเมืองไทยหลายคนเชื่อว่า “เป็นไปตามแหม่งเจ้น” หรือคำพญากรณ์โบราณที่ว่า วันหนึ่งมอญจะได้เมืองคืนโดยไม่เสียเลือดเนื้อ เพราะพม่าทิ้งเมืองตะเกิง (ร่างกุ้ง) ของมอญเอาไว้ให้เฉยๆ (ข้อนี้เห็นทีจะยาก เพราะพม่าเคยพูดใส่หน้าแม่ทัพมอญที่ร้องขอความกรุณามาแล้วว่า แผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาล ไม่ใช่แค่ดงกระเจี๊ยบ จะได้ยกให้กันง่ายๆ)


ในเมื่อรัฐบาลทหารพม่าออกมายืนยันชัดเจนว่า เหตุผลที่ย้ายเมืองหลวงเพราะ ย่างกุ้ง เป็นเมืองท่าที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง สภาพเก่า ผังเมืองคับแคบ ไม่สามารถขยายเมืองออกไปได้ตามการเติบโตของเมืองที่ควรเป็น เราก็คงได้แต่นิ่งฟัง แม้จะรู้ตัวว่าเชื่อยาก การย้ายเมืองของพม่าครั้งนี้ หากไม่นับโชคลาง และตัดทิ้งเรื่องความเกรงกลัวในอำนาจอเมริกันของนายพลตานฉ่วย ด้วยในระยะหลังพม่าก็มีจีนอยู่เคียงข้างเสมอแล้ว เชื่อว่าเหตุผลที่น่าสนใจก็คือ พม่ากำลังเข้าใกล้จุดแตกหักจากพื้นฐานจิตใจอันโหดร้ายที่เคยก่อไว้กับชนกลุ่มน้อยต่างๆ แม้แต่ประชาชนชาวพม่าแท้ของตนเอง ด้วยเชื่อว่า วันเวลาที่ความคับแค้นเหล่านั้นจะประทุออกมาอย่างไม่อาจควบคุมใกล้มาถึงในเร็ววัน

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
การบริภาษผู้ที่มาทำให้เราไม่พอใจนั้นมีอยู่ด้วยกันทุกชนชาติ หากแต่ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงคิดว่าจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถระบายอารมณ์พลุ่งพล่านนั้นลงได้ ว่าแต่ว่า คำที่คนชาติหนึ่งด่ากันแล้วนำเอาไปด่าใส่คนอีกชาติหนึ่งมันจะเจ็บแสบอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือคนด่าจะเป็นฝ่ายเจ็บเสียเอง
องค์ บรรจุน
บางท่านอาจเคยรู้มาบ้างแล้วว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทยสยาม แต่บรรดาคนเกือบทั้งหมดในจำนวนนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อสายไทยสยามของท่านนั้นแท้จริงแล้วคือ มอญ ด้วยสายเลือดข้างมารดานั้นคือ คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) หลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีคนแรก ต้นสกุล นนทนาคร
องค์ บรรจุน
แม้พุทธศาสนาจะมีต้นกำเนิดมาจากชมพูทวีป แต่ชนชาติต่างๆ ได้มีการแลกรับปรับใช้ในแบบของตนเอง เกิดลัทธินิกายผิดแผกแตกต่างกันไป สำหรับพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นเป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเถรวาทของมอญ ซึ่งเลื่องชื่อเรื่องความเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติของสงฆ์และความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแน่นแฟ้นของพุทธศาสนิกชนมอญ ข้อหนึ่งที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้คือ พุทธประวัติตอนที่พระนางพิมพาสยายผมลงเช็ดพระบาทองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธประวัติตอนนี้มีกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของมอญเท่านั้น นอกจากนี้ชาวมอญยังได้นำมาใช้ในชีวิตจริงกับกษัตริย์และราชวงศ์อีกด้วย…
องค์ บรรจุน
ตลาดน้ำเกิดใหม่ใกล้กรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วอึดใจ ท่ามกลางธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ ผู้คนให้การต้อนรับแบบน้ำใสใจจริง และเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์รายรอบที่น่าสนใจ แม้จะเป็นตลาดน้ำเกิดใหม่เมื่อไม่นานแต่ก็ไม่มีการเสริมแต่งอย่างฝืนธรรมชาติ ซ้ำยังโดดเด่นด้วยของกินของใช้และของฝากหลากหลายโดยพ่อค้าแม่ขายคนในท้องถิ่น เปิดขายทุกวันเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่เช้าตรู่เรื่อยไปจนแดดร่มลมตก จากนั้นตลาดก็จะวายไปเองตามวิถีทางของมัน  
องค์ บรรจุน
ป้าขจี (สงวนนามสกุล) เป็นคนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในหลายวัฒนธรรม คลุกคลีกับผู้คนตั้งแต่เหนือสุดจนเกือบใต้สุดแดนสยาม อีกทั้งยังมีการผสมผสานหลายชาติพันธุ์ในตัวของป้า กับวัยที่ผ่านสุขทุกข์มาแล้วกว่า ๗๖ ปี จิตใจที่โน้มเอียงเลือกจะอยู่ข้างวัฒนธรรมแบบใดหรือยอมรับการผสมผสานของสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตมากน้อยเพียงใดนั้น คงเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่หล่อหลอมป้าขจีมาตั้งแต่วัยเด็ก
องค์ บรรจุน
ไม่รู้ว่าทำไมนักวิชาการที่ชอบใช้ทฤษฎีเมืองนอกเมืองนา ประเภทท่องจำขี้ปากฝรั่งมาพูด (สังเกตดูจากบทความวิชาการที่มักมีวงเล็บภาษาอังกฤษ มีเชิงอรรถในแต่ละหน้าเกือบครึ่งหน้ากระดาษ ฉันไม่ได้รังเกียจหลักการวิชาการของต่างชาติที่มีมาก่อนเรา เพียงแต่สงสัยว่า ตรงไหนกันหนอคือความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากสมองของคนเขียน...?) ชอบเอาทฤษฎีมาทดสอบพฤติกรรมเอากับคนเล็กคนน้อย คนที่ไม่ค่อยมีปากมีเสียงในสังคม โดยมักมีคำถามและ “คำพิพากษา” ต่อคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เมื่อพบเจอคนชาติพันธุ์นุ่งห่มชุดประจำชาติของเขาในกิจกรรมสำคัญ ก็ล้วนมีคำพูดถากถางเสียดสี และพูดคุยกันในกลุ่มของตัวเองแบบเห็นเป็นเรื่องขำ
องค์ บรรจุน
ถึงทุกวันนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันแล้วว่า พม่าย้ายเมืองหลวงจาก ร่างกุ้ง (Rangoon) ไปยังเมืองเนปิดอว์ (Naypyitaw หรือ Naypyidaw) หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไม เหตุผลที่คาดเดากันไปก็มีหลายอย่าง ทั้งความเชื่อถือของนายพลตานฉ่วยตามคำทำนายของโหรส่วนตัว ภัยคุกคามจากอเมริกา หรือข่าวล่าสุดเรื่องการสะสมอาวุธ สร้างอุโมงค์ใต้ดินซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือเมื่อไม่นาน เพื่อลำเลียงพลและสรรพาวุธป้องกันตนเองและควบคุมชนกลุ่มน้อยต่างๆ
องค์ บรรจุน
เม้ยเผื่อน เล่าว่า ตนเองเกิดที่ย่านวัดน่วมกานนท์ ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับบ้านปากบ่อและอยู่ภายในตำบลเดียวกันและเป็นหมู่บ้านของสามีและเครือญาติทางสามี
องค์ บรรจุน
  ผมไม่ได้คิดฝันว่าจะเป็นนักวิชาการมาแต่ต้น สู้เรียนเพิ่มจากระดับปริญญาตรีในศาสตร์คนละแขนงต่างขั้ว แค่หวังเพียงจะได้รับฟังและพูดคุยอธิบายความกับนักวิชาการทั้งหลายให้รู้เรื่องบ้างเท่านั้น
องค์ บรรจุน
ผมเป็นคนมหาชัย แม้ว่ามหาชัยเป็นเพียงแค่ชื่อตำบลหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แต่คนทั่วไปกลับรู้จักคุ้นเคยมากกว่าชื่อจังหวัด เช่นเดียวกับ แม่กลอง ซึ่งเปรียบเหมือนชื่อเล่นที่คนเคยปากมากกว่าชื่อสมุทรสงคราม ทั้งที่เป็นเพียงชื่อตำบลเล็กๆ เท่านั้น ทั้งสองจังหวัดนี้อยู่ชายทะเลอ่าวไทย สมุทรสาครมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านท่าจีน ไม่ต่างจากสมุทรสงครามที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านแม่กลอง
องค์ บรรจุน
มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยมีรัฐเอกราชปกครองตนเองอยู่ตอนใต้ของประเทศพม่า ปัจจุบันอยู่ในฐานะชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า ขณะที่มอญส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามายังดินแดนไทย และมีฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยเช่นเดียวกัน ชนชาติมอญ มีประวัติศาสตร์และอารยธรรมสืบเนื่องมายาวนาน แม้ปัจจุบันจะไม่มีรัฐปกครองตนเอง แต่วัฒนธรรมมอญทางด้านศาสนา ภาษา วรรณคดี สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ความเชื่อและประเพณีพิธีกรรมของชนชาติในภูมิภาคนี้ ล้วนได้รับอิทธิพลจากมอญ
องค์ บรรจุน
ราชาธิราช คือ วรรณคดีไทยที่แปลมาจากพงศาวดารมอญ โดยมีการแต่งเติมรายละเอียดบางอย่าง จึงไม่ใช่ประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารมอญ แม้คนมอญจำนวนมากเชื่อว่า “ราชาธิราช” เป็นพงศาวดารชาติมอญก็ตาม เพราะได้รับอิทธิพลจากการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และคณะ แปลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ นำมาสู่การจัดพิมพ์จำหน่ายโดยหมอบรัดเลย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ และอีกหลายสำนักพิมพ์มากกว่า ๒๒ ครั้ง ไม่นับแบบเรียน การแสดงลิเก ละครพันทาง ละครเวที และละครโทรทัศน์