Skip to main content

องค์ บรรจุน


สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน แนบเนียนเสียจนคนมอญรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งอาจหลงลืมไปแล้ว


วัฒนธรรมประเพณีมอญล้วนมีที่มาที่ไปด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่คนเก่าเมื่อก่อนไม่ได้บอกเล่าหรืออธิบายกันตรงๆ เป็นแต่ทำกุศโลบายให้ลูกหลานปฏิบัติตาม เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี อนุชนรุ่นหลังจึงไม่เข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีของตนถ่องแท้ รู้แต่เพียงว่าเคยเห็นปู่ย่าตายายปฏิบัติสืบต่อกันมาก็ปฏิบัติสืบต่อกันไป หรือไม่ก็เห็นเป็นขบขัน เลิกล้มกันไป โดยไม่รู้ที่มา รวมทั้งมองไม่เห็นปริศนาธรรมที่ปู่ย่าตายายได้บรรจงแฝงแง่คิดเอาไว้ในพิธีกรรมเหล่านั้น หนึ่งในพิธีกรรมที่เข้าใจยากเหล่านั้น ได้แก่ พิธีแย่งศพ


แย่งศพเพื่ออะไร .....ทำไมต้องแย่งศพ?”


พิธีแย่งศพของมอญนั้น เชื่อกันว่ามีที่มาจากกษัตริย์มอญ คือ พระเจ้าธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.. ๒๐๑๓-๒๐๓๕) ดังปรากฏอยู่ในพงศาวดารมอญ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รับสั่งให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และคณะ แปลออกมาเป็นวรรณคดีไทยเรื่อง ราชาธิราช กล่าวถึงตอนที่พระนางตะละเจ้าท้าว (เช็งสอบู) นางกษัตริย์มอญเสด็จสวรรคต พระเจ้าธรรมเจดีย์ได้คิดกุศโลบาย เพื่อสร้างความชอบธรรมในการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ โดยแฝงไว้ในพิธี “แย่งศพ” ก่อนพระราชทานเพลิงศพพระมารดาเลี้ยง


อยู่มาตะละนางพระยาท้าวเสด็จทิวงคต พระชน มายุได้เจ็ดสิบเอ็ดปี อยู่ในราชสมบัติได้ห้าสิบเอ็ดปี ลุศักราช ๘๙๖ ปี พระเจ้าหงสาวดีจึงสั่งให้ทำพระเมรุมาศ โดยขนาดสูงใหญ่ในท่ามกลางเมือง ให้ตกแต่งด้วยสรรพเครื่องประดับทั้งปวงเป็นอันงามอย่างยิ่ง แล้วตรัสปรึกษาเสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวงว่า สมเด็จพระราชมารดาเลี้ยงของเรานี้มีพระคุณเป็นอันมาก ทรงอุปถัมภ์บำรุงเรามาจนได้เป็นเจ้าแผ่นดิน เราคิดจะสนองพระเดชพระคุณให้ถึงขนาด ท่านทั้งปวงจะเห็นประการใด เสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวงได้ฟังพระราชโองการตรัสปรึกษาดังนั้นก็กราบทูลว่า ข้าพเจ้าทั้งปวงเป็นทาสปัญญา การทั้งนี้สุดแต่พระองค์จะทรงพระดำริเถิด ข้าพเจ้าทั้งปวงจะทำตามรับสั่งทุกประการ พระเจ้าหงสาวดีจึ่งตรัสว่า เราจะทำไว้ให้เป็นอย่างในการปลงศพ จะได้มีผลานิสงส์ยิ่งขึ้นไป จึงสั่งให้ทำเป็นรูปเหรา มีล้อหน้าแลท้าย สรรพไปด้วยไม้มะเดื่อแลไม้ทองกวาว แล้วจึงทำเป็นรัตนบัลลังก์บุษบก ตั้งบนหลังเหรา ให้แต่งการประดับจงงดงาม เร่งให้สำเร็จในเดือนหน้าจงได้ เสนาบดีทั้งปวงรับสั่งแล้วก็ออกมาให้แจก หมายเกณฑ์กันเร่งกระทำทุกพนักงาน เดือนหนึ่งก็สำเร็จดังพระราชบัญชาทุกประการ ทั้งพระเมรุมาศซึ่งทำมาก่อนนั้นก็แล้วลงด้วย พระเจ้าหงสาวดีได้ทราบว่าการทั้งปวงเสร็จแล้ว จึ่งให้หมายบอกกำหนดงานในเดือนเก้า ขึ้นเก้าค่ำ จะเชิญพระศพไปยังพระเมรุมาศ…


ครั้นถึงเดือนเก้าขึ้นเก้าค่ำ เสนาพฤฒามาตย์ราชกระวีมนตรีมุขทั้งปวง อีกเมืองเอกโทตรีจัตวาก็มาพร้อมกัน พระเจ้าหงสาวดีจึ่งให้ตั้งขบวนแห่อัญเชิญพระศพสมเด็จตะละนางพระยาท้าว ลงสู่บุษบกบัลลังก์เหนือหลังเหรา แล้วตรัสสั่งเสนาบดีให้แยกกันเป็นสองพวก จะได้แย่งชิงพระศพเป็นผลานิสงส์ เสนาบดีทั้งปวงก็แบ่งกันออกเป็นสองแผนก โดยพระราชบัญชาพระเจ้าหงสาวดีจึ่งเสด็จดำเนินด้วยพระบาท ทรงจับเชือกแล้วตั้งพระสัตยาธิษฐานว่า ข้าพเจ้ามีความกตัญญูรู้พระคุณสมเด็จพระราชมารดาเลี้ยง จึ่งคิดทำการให้ลือปรากฏไปทุกพระนคร ขอคุณพระรัตนตรัยจงเป็นที่พึ่ง ถ้าบุญข้าพเจ้าจะวัฒนาการสืบไปแล้ว ขอให้ชิงพระศพสมเด็จพระราชมารดาจงได้มาดังใจคิดเถิด ครั้นตั้งสัตยาธิษฐานแล้ว จึงตรัสสั่งให้จับเชือกชักพร้อมกัน…


ขณะนั้นเป็นการโกลาหลสนุกยิ่งนัก เสนาบดีแลไพร่พลทั้งปวงก็เข้าแย่งชักเชือกเป็นอลหม่าน พระศพนั้นก็บันดาลได้มาข้างพระเจ้าหงสาวดี เสียงชนทั้งปวงโห่ร้องพิลึกลั่นทั้งนคร พระเจ้าหงสาวดีก็ทรงพระโสมนัสนัก จึ่งให้ชักแห่พระศพไปพร้อมด้วยเครื่องสูงไสว ทั้งกรรชิง กลิ้งกลด อภิรุม ชุมสาย พรายพรรณ พัดโบก และจามรทานตะวันอันพรรณราย สล้างสลอนด้วยธงเทียวทั้งหลายเขียวเหลืองขาวแดงดารดาษ เสียงสนั่นพิณพาทย์เครื่องประโคมฆ้องกลองกึกก้องโกลาหล สะพรึบพร้อมด้วยหมู่พลอันจัดเข้าในขบวนแห่แหน ดูอเนกเนืองแน่นประหนึ่งจะนับมิได้ การแห่พระศพครั้งนี้ครึกครื้นเป็นมโหฬารดิเรก เปรียบประดุจการแห่อย่างเอกของนางอัปสรกัญญาทั้งเจ็ดองค์ ซึ่งแห่พระเศียรท้าวกบิล พรหมผู้เป็นปิตุรงค์ กับด้วยทวยเทพยเจ้าทั้งปวงอันเวียนเลียบเหลี่ยมไศลหลวงประทักษิณษิเนรุราช ครั้นถึงพระเมรุมาศ จึงให้เชิญพระศพขึ้นตั้งยังมหาบุษบกเบญจาสุวรรณ ให้มีงานมหรสพสมโภชเจ็ดวันเจ็ดคืน จุดดอกไม้เพลิงถวายพระศพ มีพระธรรมเทศนาและพระสงฆ์ราชาคณะฐานานุกรมเปรียญอันดับสวดสดับปกรณ์ถวายไทยทานแก่พระสงฆ์ และโปรยทานกัลปพฤกษ์แก่ยาจกวนิพกเป็นอันมาก แล้วทรงอุทิศส่วนกุศลไปถึงบิดามารดา ครั้นครบเจ็ดวันจึ่งถวายพระเพลิง พร้อมด้วยเสนาบดีพระวงศานุวงศ์ผู้น้อยผู้ใหญ่ฝ่ายในฝ่ายหน้า อีกทั้งพระสงฆ์ฐานานุกรมเป็นอันมาก แล้วให้แจงพระรูปเก็บพระอัฐิใส่ในพระโกศทองประดับพลอยเนาวรัตน์ อัญเชิญเข้าบรรจุไว้ในพระมุเตา แล้วให้มีงานสมโภชอีกสามวันตามราชประเพณีกษัตริย์แต่ก่อน


ครั้นการเสร็จแล้ว พระเจ้าหงสาวดีจึ่งตรัสแก่เสนาบดีทั้งปวงว่า เราทำการครั้งนี้เป็นผลานิสงส์สนุกยิ่งนัก แต่นี้ไป ใครจะทำการศพบิดามารดาผู้มีคุณ ก็ให้ชิงศพเหมือนเรา ซึ่งทำไว้เป็นอย่างฉะนี้ จึ่งได้เป็นประเพณีฝ่ายรามัญสืบกันมาจนบัดนี้”


ประเพณีการแย่งศพมอญ จึงมีปฐมเหตุมาจากกุศโลบายของพระเจ้าธรรมเจดีย์ปิฏกธร ที่ต้องการแสดงบุญญาภินิหารของพระองค์ ด้วยเหตุที่พระองค์นั้นเป็นเพียงสามัญชน เป็นพระราชโอรสเลี้ยง แม้ต่อมาจะได้เป็นพระราชบุตรเขย และพระนางตะละเจ้าท้าวจะสละราชสมบัติให้ขึ้น ครองราชย์ต่อจากพระองค์ก็ตาม กระทั่งพระนางตะละเจ้าท้าวสวรรคต อันเป็นธรรมดาที่คงจะยังมีเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง เสนาอำมาตย์ ที่ยังไม่ยอมรับพระเจ้าธรรมเจดีย์ในฐานะพระเจ้าแผ่นดินรามัญประเทศ พระองค์จึงคิดอุบายแย่งศพขึ้น โดยแบ่งทหารออกเป็น ๒ ฝ่าย โดยพระองค์เข้าไปอยู่ในฝ่ายหนึ่ง แล้วจับเชือกที่ผูกไว้กับราชรถรูปเหรา (นาค) ตั้งสัตยาธิษฐาน หากคิดดีคิดชอบ มีความจงรักภักดีกตัญญูรู้คุณในพระนางตะละเจ้าท้าวแล้วไซร้ ให้รถเหราเคลื่อนมาทางพระองค์ ครั้นออกแรงดึง ผลก็เป็นไปอย่างที่พอจะคาดหวังได้

การที่พระศพไหลมาข้างพระองค์ แสดงให้อาณาประชาราษฎร์เห็นว่า พระนางตะละเจ้าท้าวรับรู้ และอยู่ข้างพระองค์ และแน่นอนว่า ไพร่บ้านพลเมืองในแผ่นดินทั้งหลายก็ยอมรับในพระเจ้าธรรมเจดีย์มหาปิฎกธร พระมหากษัตริย์แห่งรามัญประเทศมากยิ่งขึ้น


ปราสาทตั้งศพศิลปะมอญ สร้างโดยชาวมอญเมืองมอญ (ประเทศพม่า) งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูสาครกิจโกศล (จ้อน วรุโณ) จังหวัดสมุทรสาคร พ.. ๒๕๓๐


ปัจจุบันประเพณีแย่งศพในหมู่ชาวมอญเมืองไทย เหลือแต่เพียงในกลุ่มคนเก่าแก่ที่เพียงปฏิบัติตาม “เคล็ด” ที่ ทำสืบกันมา กล่าวคือ ก่อนที่จะนำโลงศพขึ้นเชิงตะกอน หรือ ขึ้นเมรุเข้าเตาเผา ก็ทำทีดึงถอยหลังยื้อเดินหน้า กระทำ ๓ ครั้ง สมมุติเป็นการแย่งศพ ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดก็ใช้เวลาเพียง ชั่วอึดใจ ทำไปตามธรรมเนียมโดยไม่รู้ความหมาย แต่สำหรับในหมู่ชาวมอญในเมืองมอญ (ประเทศพม่า) ที่ยังคงเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมและหลักทางศาสนา ยังคงสืบสานประเพณีดังกล่าว รวมทั้งได้พัฒนารูปแบบ จนเรียกได้ว่า เป็นการแสดงที่สวยงามอลังการ มีความพร้อมเพรียง และชมด้วยความเพลิดเพลิน

พิธีแย่งศพที่ชาวมอญเมืองมอญดัดแปลงเพิ่มเติม จนกระทั่งเป็นพิธี “วอญแฝะ” ในปัจจุบัน เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณอย่างหนึ่ง พิธีนี้จะทำกันเฉพาะในการปลงศพพระเถระ พระภิกษุสงฆ์ระดับเจ้าอาวาส ที่มีผู้คนนับหน้าถือตาลูกศิษย์ลูกหารักใคร่ ชาวบ้านในแต่ละคุ้มวัดทั้งใกล้ไกล จะช่วยกันสร้างโลงปราสาทบรรจุศพจำลอง
(ไม่ได้ใส่ศพจริง) ตกแต่งสวยงาม วางอยู่บนแคร่ หามที่ทำจากไม้ไผ่ ๑๖ ลำ ผูกเป็นตารางด้านละ ๘ ลำ (แฝง ความหมายถึงอาการ ๓๒ ของมนุษย์) ใช้ผู้ชายที่แข็งแรงแบก ๓๒ คน นอกจากนั้นยังแบ่งคนเป็น ๒ กลุ่ม แต่งตัวเป็นนางฟ้าสวยงาม และมนุษย์ธรรมดาสามัญอยู่คนละฟากของโลงปราสาท ทำท่ายื้อแย่งไปมา มนุษย์นั้นต้องการให้ศพพระ อาจารย์อยู่ในโลกมนุษย์ ส่วนนางฟ้าก็ต้องการนำศพพระอาจารย์กลับสวรรค์ (เมื่อกษัตริย์สวรรคต และ พระสงฆ์มอญมรณภาพ ชาวมอญจะเรียกว่า ปอ แปลว่า บิน หรือ จาวฟอ แปลว่า กลับสวรรค์) ซึ่งในการ “วอญแฝะ” นี้ เป็นการเยื้องย่างร่ายรำไปตามทำนองปี่พาทย์มอญ พร้อมเสียงร้องรำพรรณ เนื้อหามักกล่าวถึงคุณงามความดีของผู้ตาย ความอาลัยรัก ชักชวนกันมาร่ายรำ และ “วอญแฟะ” ของพระอาจารย์


ผู้ประกอบพิธี “วอญแฝะ” ร่ายรำไปตามจังหวะปี่พาทย์มอญและเสียงขับร้องพรรณนาคุณงามความดีของ “พระอาจารย์” บางช่วงผู้ทำพิธีทั้งผู้รำและผู้แบกโลงปราสาทก็ต้องทำหน้าที่ลูกคู่ด้วยซึ่งการทำพิธีแต่ละครั้งต้องยกโลงปราสาทไว้ตลอดเวลา อาจใช้เวลานานนับชั่วโมง


การ “วอญแฝะ” นี้ ในเมืองมอญมีการประกวดประชันกัน หากหมู่บ้านใดมีงานศพพระก็จะมีคนจากคุ้มบ้านใกล้เคียงและห่างออกไปเดินทางมาร่วมงานเป็นคณะ โดยอาจมีเจ้าอาวาสวัดหมู่บ้านนั้นๆ เป็นผู้นำมาส่งคณะ “วอญแฝะ” ของหมู่บ้านตนเข้าแข่งขัน ซึ่งถือเป็นการร่วมบุญ แข่งกันทั้งชุดแต่งกาย ท่ารำ ดนตรี เนื้อเพลง และความพร้อมเพรียง


มีเรื่องเล่ากันว่า ในงานศพพระผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รักของชาวบ้าน แคร่ตั้งโลงปราสาทนั้น แทบจะไม่แตะพื้นเลย ตั้งแต่เย็นวันสุกดิบจนถึงเวลาประชุมเพลิง เพราะจะมีคณะ “วอญแฝะ” จากหมู่บ้านอื่นๆ มารอรับเอาไปจากไหล่เสมอ

ความหมายอีกอย่างหนึ่งของชาวมอญเมืองมอญอันเป็นที่มาของการแย่งศพ คือ ในงานศพแต่ละงาน บางครั้งคณะของแต่ละคุ้มบ้านต่างสร้างโลงปราสาทของตนมาถวายให้ “อาจารย์” ด้วยความศรัทธาและต้องการผลานิสงส์ผลบุญ ผลัดกัน “วอญแฝะ” ไปทีละปราสาท แต่ละคุ้มบ้าน ต้องรอจนกว่าจะถึงรอบของตน ใครมาก่อนใครมาหลังบางครั้งก็สับสน จึงต้องมีการยื้อแย่งกันบ้างตามธรรมดา ซึ่งเป็นที่มาส่วนหนึ่งของการแย่งศพ

ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น คือ พิธี “วอญแฝะ” ของชาวมอญเมืองมอญ
(ประเทศพม่า) หากแปลกันตรงๆ ตามตัวหนังสือก็จะแปลได้ว่า “เล่นศพ” ซึ่งคนเฒ่าคนแก่ชาวมอญในเมืองไทยรับไม่ได้ เพราะลำพัง “แย่ง” ก็สุดจะรับไหวแล้ว ถึงขนาดบางท่านพยายามแปลให้เป็น “ส่งศพ” ด้วยการแยกอ่านคำ ออกเป็นพยางค์ แทนที่จะอ่านควบกล้ำว่า ปล็อง กลับอ่านแยกพยางค์ออกเป็น ปะ-ล็อง ซึ่งหากจะเทียบกับ คำว่า “วอญแปะปุด” ถ้าแปลกันแบบตรงตัวก็ต้องแปลว่า “เล่นคดี” แต่เมื่อมีเรื่องถึงโรงถึง ศาลก็มักไม่มีใครเล่นคดี เอาแต่ “สู้คดี” กันทั้งนั้น นั่นเป็นอุทธาหรณ์อย่างหนึ่งว่า ศัพท์ต่างภาษาจะแปลออกมาอย่างซื่อตรงโดยไม่มีศิลป์นั้น “ไม่ได้ความ”


โลงปราสาทศิลปะมอญเมืองไทย ส่วนฐานรองและคานหามเป็นศิลปะมอญเมืองมอญ (ประเทศพม่า) งานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี อดีตนายกสมาคม ไทยรามัญ จังหวัดสมุทรปราการ พ.. ๒๕๕๑


วงปี่พาทย์มอญ ของชาวมอญเมืองมอญ (ประเทศพม่า) บรรเลงประกอบการขับร้องในพิธี “วอญแฝะ”งานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมเมธาภรณ์ (สนิท สุภาจาโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี และเจ้าอาวาสวัดจันทน์กะพ้อ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๑

ดังจะเห็นว่าเพียงแต่ “แย่ง” แม้จะมีเหตุผลที่ดีก็ยังมีผู้ไม่ยอมรับ หากถึงขนาด “เล่น” ก็คงสุดจะทน หลายท่านถึงกับกล่าวว่า ปล็องแฝะ ของมอญเมืองไทย และ วอญแฝะ ของมอญเมืองมอญ เป็นคนละอย่างกัน ด้วยพิธีดังกล่าว แม้เฟื่องฟูคุโชนอยู่ในหมู่มอญเมืองมอญ แต่ในขณะเดียวกัน “เคล็ด” ที่เหลือเพียงน้อยนิดและถูกแช่แข็ง จนเกือบละลายหายไปในหมู่มอญเมืองไทย ทั้งที่มนุษย์เป็นผู้วางแบบแผนจารีตประเพณีกลับล้มตาย นับประสาอะไรกับจารีตประเพณีที่ผ่านยุคสมัย ย่อมถูกดัดแปลงแต่งเสริม หรือล้มเลิกก็สุดแท้แต่คนของยุคสมัยนั้นๆ จะเห็นดีเห็นงาม ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ สักวันหนึ่งทุกสิ่งต้องเปลี่ยนแปลง

ประเพณี และจิตใจของคนนั้นเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน สิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงเพียงสิ่งเดียวนั้นคือ “ความดื้อรั้น” ที่ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๒). พจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน พ.. ๒๕๔๒. หน้า ๙๑๗.

กรมศิลปากร. (๒๕๔๖). วรรณกรรมสมัยรัตน โกสินทร์ (หมวดบรรเทิงคดี) : ราชาธิราช ของเจ้าพระยาพระ คลัง (หน) และคณะ. หน้า ๔๓๘-๔๔๐.


บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…