Skip to main content

องค์ บรรจุน


สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน แนบเนียนเสียจนคนมอญรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งอาจหลงลืมไปแล้ว


วัฒนธรรมประเพณีมอญล้วนมีที่มาที่ไปด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่คนเก่าเมื่อก่อนไม่ได้บอกเล่าหรืออธิบายกันตรงๆ เป็นแต่ทำกุศโลบายให้ลูกหลานปฏิบัติตาม เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี อนุชนรุ่นหลังจึงไม่เข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีของตนถ่องแท้ รู้แต่เพียงว่าเคยเห็นปู่ย่าตายายปฏิบัติสืบต่อกันมาก็ปฏิบัติสืบต่อกันไป หรือไม่ก็เห็นเป็นขบขัน เลิกล้มกันไป โดยไม่รู้ที่มา รวมทั้งมองไม่เห็นปริศนาธรรมที่ปู่ย่าตายายได้บรรจงแฝงแง่คิดเอาไว้ในพิธีกรรมเหล่านั้น หนึ่งในพิธีกรรมที่เข้าใจยากเหล่านั้น ได้แก่ พิธีแย่งศพ


แย่งศพเพื่ออะไร .....ทำไมต้องแย่งศพ?”


พิธีแย่งศพของมอญนั้น เชื่อกันว่ามีที่มาจากกษัตริย์มอญ คือ พระเจ้าธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.. ๒๐๑๓-๒๐๓๕) ดังปรากฏอยู่ในพงศาวดารมอญ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รับสั่งให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และคณะ แปลออกมาเป็นวรรณคดีไทยเรื่อง ราชาธิราช กล่าวถึงตอนที่พระนางตะละเจ้าท้าว (เช็งสอบู) นางกษัตริย์มอญเสด็จสวรรคต พระเจ้าธรรมเจดีย์ได้คิดกุศโลบาย เพื่อสร้างความชอบธรรมในการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ โดยแฝงไว้ในพิธี “แย่งศพ” ก่อนพระราชทานเพลิงศพพระมารดาเลี้ยง


อยู่มาตะละนางพระยาท้าวเสด็จทิวงคต พระชน มายุได้เจ็ดสิบเอ็ดปี อยู่ในราชสมบัติได้ห้าสิบเอ็ดปี ลุศักราช ๘๙๖ ปี พระเจ้าหงสาวดีจึงสั่งให้ทำพระเมรุมาศ โดยขนาดสูงใหญ่ในท่ามกลางเมือง ให้ตกแต่งด้วยสรรพเครื่องประดับทั้งปวงเป็นอันงามอย่างยิ่ง แล้วตรัสปรึกษาเสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวงว่า สมเด็จพระราชมารดาเลี้ยงของเรานี้มีพระคุณเป็นอันมาก ทรงอุปถัมภ์บำรุงเรามาจนได้เป็นเจ้าแผ่นดิน เราคิดจะสนองพระเดชพระคุณให้ถึงขนาด ท่านทั้งปวงจะเห็นประการใด เสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวงได้ฟังพระราชโองการตรัสปรึกษาดังนั้นก็กราบทูลว่า ข้าพเจ้าทั้งปวงเป็นทาสปัญญา การทั้งนี้สุดแต่พระองค์จะทรงพระดำริเถิด ข้าพเจ้าทั้งปวงจะทำตามรับสั่งทุกประการ พระเจ้าหงสาวดีจึ่งตรัสว่า เราจะทำไว้ให้เป็นอย่างในการปลงศพ จะได้มีผลานิสงส์ยิ่งขึ้นไป จึงสั่งให้ทำเป็นรูปเหรา มีล้อหน้าแลท้าย สรรพไปด้วยไม้มะเดื่อแลไม้ทองกวาว แล้วจึงทำเป็นรัตนบัลลังก์บุษบก ตั้งบนหลังเหรา ให้แต่งการประดับจงงดงาม เร่งให้สำเร็จในเดือนหน้าจงได้ เสนาบดีทั้งปวงรับสั่งแล้วก็ออกมาให้แจก หมายเกณฑ์กันเร่งกระทำทุกพนักงาน เดือนหนึ่งก็สำเร็จดังพระราชบัญชาทุกประการ ทั้งพระเมรุมาศซึ่งทำมาก่อนนั้นก็แล้วลงด้วย พระเจ้าหงสาวดีได้ทราบว่าการทั้งปวงเสร็จแล้ว จึ่งให้หมายบอกกำหนดงานในเดือนเก้า ขึ้นเก้าค่ำ จะเชิญพระศพไปยังพระเมรุมาศ…


ครั้นถึงเดือนเก้าขึ้นเก้าค่ำ เสนาพฤฒามาตย์ราชกระวีมนตรีมุขทั้งปวง อีกเมืองเอกโทตรีจัตวาก็มาพร้อมกัน พระเจ้าหงสาวดีจึ่งให้ตั้งขบวนแห่อัญเชิญพระศพสมเด็จตะละนางพระยาท้าว ลงสู่บุษบกบัลลังก์เหนือหลังเหรา แล้วตรัสสั่งเสนาบดีให้แยกกันเป็นสองพวก จะได้แย่งชิงพระศพเป็นผลานิสงส์ เสนาบดีทั้งปวงก็แบ่งกันออกเป็นสองแผนก โดยพระราชบัญชาพระเจ้าหงสาวดีจึ่งเสด็จดำเนินด้วยพระบาท ทรงจับเชือกแล้วตั้งพระสัตยาธิษฐานว่า ข้าพเจ้ามีความกตัญญูรู้พระคุณสมเด็จพระราชมารดาเลี้ยง จึ่งคิดทำการให้ลือปรากฏไปทุกพระนคร ขอคุณพระรัตนตรัยจงเป็นที่พึ่ง ถ้าบุญข้าพเจ้าจะวัฒนาการสืบไปแล้ว ขอให้ชิงพระศพสมเด็จพระราชมารดาจงได้มาดังใจคิดเถิด ครั้นตั้งสัตยาธิษฐานแล้ว จึงตรัสสั่งให้จับเชือกชักพร้อมกัน…


ขณะนั้นเป็นการโกลาหลสนุกยิ่งนัก เสนาบดีแลไพร่พลทั้งปวงก็เข้าแย่งชักเชือกเป็นอลหม่าน พระศพนั้นก็บันดาลได้มาข้างพระเจ้าหงสาวดี เสียงชนทั้งปวงโห่ร้องพิลึกลั่นทั้งนคร พระเจ้าหงสาวดีก็ทรงพระโสมนัสนัก จึ่งให้ชักแห่พระศพไปพร้อมด้วยเครื่องสูงไสว ทั้งกรรชิง กลิ้งกลด อภิรุม ชุมสาย พรายพรรณ พัดโบก และจามรทานตะวันอันพรรณราย สล้างสลอนด้วยธงเทียวทั้งหลายเขียวเหลืองขาวแดงดารดาษ เสียงสนั่นพิณพาทย์เครื่องประโคมฆ้องกลองกึกก้องโกลาหล สะพรึบพร้อมด้วยหมู่พลอันจัดเข้าในขบวนแห่แหน ดูอเนกเนืองแน่นประหนึ่งจะนับมิได้ การแห่พระศพครั้งนี้ครึกครื้นเป็นมโหฬารดิเรก เปรียบประดุจการแห่อย่างเอกของนางอัปสรกัญญาทั้งเจ็ดองค์ ซึ่งแห่พระเศียรท้าวกบิล พรหมผู้เป็นปิตุรงค์ กับด้วยทวยเทพยเจ้าทั้งปวงอันเวียนเลียบเหลี่ยมไศลหลวงประทักษิณษิเนรุราช ครั้นถึงพระเมรุมาศ จึงให้เชิญพระศพขึ้นตั้งยังมหาบุษบกเบญจาสุวรรณ ให้มีงานมหรสพสมโภชเจ็ดวันเจ็ดคืน จุดดอกไม้เพลิงถวายพระศพ มีพระธรรมเทศนาและพระสงฆ์ราชาคณะฐานานุกรมเปรียญอันดับสวดสดับปกรณ์ถวายไทยทานแก่พระสงฆ์ และโปรยทานกัลปพฤกษ์แก่ยาจกวนิพกเป็นอันมาก แล้วทรงอุทิศส่วนกุศลไปถึงบิดามารดา ครั้นครบเจ็ดวันจึ่งถวายพระเพลิง พร้อมด้วยเสนาบดีพระวงศานุวงศ์ผู้น้อยผู้ใหญ่ฝ่ายในฝ่ายหน้า อีกทั้งพระสงฆ์ฐานานุกรมเป็นอันมาก แล้วให้แจงพระรูปเก็บพระอัฐิใส่ในพระโกศทองประดับพลอยเนาวรัตน์ อัญเชิญเข้าบรรจุไว้ในพระมุเตา แล้วให้มีงานสมโภชอีกสามวันตามราชประเพณีกษัตริย์แต่ก่อน


ครั้นการเสร็จแล้ว พระเจ้าหงสาวดีจึ่งตรัสแก่เสนาบดีทั้งปวงว่า เราทำการครั้งนี้เป็นผลานิสงส์สนุกยิ่งนัก แต่นี้ไป ใครจะทำการศพบิดามารดาผู้มีคุณ ก็ให้ชิงศพเหมือนเรา ซึ่งทำไว้เป็นอย่างฉะนี้ จึ่งได้เป็นประเพณีฝ่ายรามัญสืบกันมาจนบัดนี้”


ประเพณีการแย่งศพมอญ จึงมีปฐมเหตุมาจากกุศโลบายของพระเจ้าธรรมเจดีย์ปิฏกธร ที่ต้องการแสดงบุญญาภินิหารของพระองค์ ด้วยเหตุที่พระองค์นั้นเป็นเพียงสามัญชน เป็นพระราชโอรสเลี้ยง แม้ต่อมาจะได้เป็นพระราชบุตรเขย และพระนางตะละเจ้าท้าวจะสละราชสมบัติให้ขึ้น ครองราชย์ต่อจากพระองค์ก็ตาม กระทั่งพระนางตะละเจ้าท้าวสวรรคต อันเป็นธรรมดาที่คงจะยังมีเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง เสนาอำมาตย์ ที่ยังไม่ยอมรับพระเจ้าธรรมเจดีย์ในฐานะพระเจ้าแผ่นดินรามัญประเทศ พระองค์จึงคิดอุบายแย่งศพขึ้น โดยแบ่งทหารออกเป็น ๒ ฝ่าย โดยพระองค์เข้าไปอยู่ในฝ่ายหนึ่ง แล้วจับเชือกที่ผูกไว้กับราชรถรูปเหรา (นาค) ตั้งสัตยาธิษฐาน หากคิดดีคิดชอบ มีความจงรักภักดีกตัญญูรู้คุณในพระนางตะละเจ้าท้าวแล้วไซร้ ให้รถเหราเคลื่อนมาทางพระองค์ ครั้นออกแรงดึง ผลก็เป็นไปอย่างที่พอจะคาดหวังได้

การที่พระศพไหลมาข้างพระองค์ แสดงให้อาณาประชาราษฎร์เห็นว่า พระนางตะละเจ้าท้าวรับรู้ และอยู่ข้างพระองค์ และแน่นอนว่า ไพร่บ้านพลเมืองในแผ่นดินทั้งหลายก็ยอมรับในพระเจ้าธรรมเจดีย์มหาปิฎกธร พระมหากษัตริย์แห่งรามัญประเทศมากยิ่งขึ้น


ปราสาทตั้งศพศิลปะมอญ สร้างโดยชาวมอญเมืองมอญ (ประเทศพม่า) งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูสาครกิจโกศล (จ้อน วรุโณ) จังหวัดสมุทรสาคร พ.. ๒๕๓๐


ปัจจุบันประเพณีแย่งศพในหมู่ชาวมอญเมืองไทย เหลือแต่เพียงในกลุ่มคนเก่าแก่ที่เพียงปฏิบัติตาม “เคล็ด” ที่ ทำสืบกันมา กล่าวคือ ก่อนที่จะนำโลงศพขึ้นเชิงตะกอน หรือ ขึ้นเมรุเข้าเตาเผา ก็ทำทีดึงถอยหลังยื้อเดินหน้า กระทำ ๓ ครั้ง สมมุติเป็นการแย่งศพ ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดก็ใช้เวลาเพียง ชั่วอึดใจ ทำไปตามธรรมเนียมโดยไม่รู้ความหมาย แต่สำหรับในหมู่ชาวมอญในเมืองมอญ (ประเทศพม่า) ที่ยังคงเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมและหลักทางศาสนา ยังคงสืบสานประเพณีดังกล่าว รวมทั้งได้พัฒนารูปแบบ จนเรียกได้ว่า เป็นการแสดงที่สวยงามอลังการ มีความพร้อมเพรียง และชมด้วยความเพลิดเพลิน

พิธีแย่งศพที่ชาวมอญเมืองมอญดัดแปลงเพิ่มเติม จนกระทั่งเป็นพิธี “วอญแฝะ” ในปัจจุบัน เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณอย่างหนึ่ง พิธีนี้จะทำกันเฉพาะในการปลงศพพระเถระ พระภิกษุสงฆ์ระดับเจ้าอาวาส ที่มีผู้คนนับหน้าถือตาลูกศิษย์ลูกหารักใคร่ ชาวบ้านในแต่ละคุ้มวัดทั้งใกล้ไกล จะช่วยกันสร้างโลงปราสาทบรรจุศพจำลอง
(ไม่ได้ใส่ศพจริง) ตกแต่งสวยงาม วางอยู่บนแคร่ หามที่ทำจากไม้ไผ่ ๑๖ ลำ ผูกเป็นตารางด้านละ ๘ ลำ (แฝง ความหมายถึงอาการ ๓๒ ของมนุษย์) ใช้ผู้ชายที่แข็งแรงแบก ๓๒ คน นอกจากนั้นยังแบ่งคนเป็น ๒ กลุ่ม แต่งตัวเป็นนางฟ้าสวยงาม และมนุษย์ธรรมดาสามัญอยู่คนละฟากของโลงปราสาท ทำท่ายื้อแย่งไปมา มนุษย์นั้นต้องการให้ศพพระ อาจารย์อยู่ในโลกมนุษย์ ส่วนนางฟ้าก็ต้องการนำศพพระอาจารย์กลับสวรรค์ (เมื่อกษัตริย์สวรรคต และ พระสงฆ์มอญมรณภาพ ชาวมอญจะเรียกว่า ปอ แปลว่า บิน หรือ จาวฟอ แปลว่า กลับสวรรค์) ซึ่งในการ “วอญแฝะ” นี้ เป็นการเยื้องย่างร่ายรำไปตามทำนองปี่พาทย์มอญ พร้อมเสียงร้องรำพรรณ เนื้อหามักกล่าวถึงคุณงามความดีของผู้ตาย ความอาลัยรัก ชักชวนกันมาร่ายรำ และ “วอญแฟะ” ของพระอาจารย์


ผู้ประกอบพิธี “วอญแฝะ” ร่ายรำไปตามจังหวะปี่พาทย์มอญและเสียงขับร้องพรรณนาคุณงามความดีของ “พระอาจารย์” บางช่วงผู้ทำพิธีทั้งผู้รำและผู้แบกโลงปราสาทก็ต้องทำหน้าที่ลูกคู่ด้วยซึ่งการทำพิธีแต่ละครั้งต้องยกโลงปราสาทไว้ตลอดเวลา อาจใช้เวลานานนับชั่วโมง


การ “วอญแฝะ” นี้ ในเมืองมอญมีการประกวดประชันกัน หากหมู่บ้านใดมีงานศพพระก็จะมีคนจากคุ้มบ้านใกล้เคียงและห่างออกไปเดินทางมาร่วมงานเป็นคณะ โดยอาจมีเจ้าอาวาสวัดหมู่บ้านนั้นๆ เป็นผู้นำมาส่งคณะ “วอญแฝะ” ของหมู่บ้านตนเข้าแข่งขัน ซึ่งถือเป็นการร่วมบุญ แข่งกันทั้งชุดแต่งกาย ท่ารำ ดนตรี เนื้อเพลง และความพร้อมเพรียง


มีเรื่องเล่ากันว่า ในงานศพพระผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รักของชาวบ้าน แคร่ตั้งโลงปราสาทนั้น แทบจะไม่แตะพื้นเลย ตั้งแต่เย็นวันสุกดิบจนถึงเวลาประชุมเพลิง เพราะจะมีคณะ “วอญแฝะ” จากหมู่บ้านอื่นๆ มารอรับเอาไปจากไหล่เสมอ

ความหมายอีกอย่างหนึ่งของชาวมอญเมืองมอญอันเป็นที่มาของการแย่งศพ คือ ในงานศพแต่ละงาน บางครั้งคณะของแต่ละคุ้มบ้านต่างสร้างโลงปราสาทของตนมาถวายให้ “อาจารย์” ด้วยความศรัทธาและต้องการผลานิสงส์ผลบุญ ผลัดกัน “วอญแฝะ” ไปทีละปราสาท แต่ละคุ้มบ้าน ต้องรอจนกว่าจะถึงรอบของตน ใครมาก่อนใครมาหลังบางครั้งก็สับสน จึงต้องมีการยื้อแย่งกันบ้างตามธรรมดา ซึ่งเป็นที่มาส่วนหนึ่งของการแย่งศพ

ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น คือ พิธี “วอญแฝะ” ของชาวมอญเมืองมอญ
(ประเทศพม่า) หากแปลกันตรงๆ ตามตัวหนังสือก็จะแปลได้ว่า “เล่นศพ” ซึ่งคนเฒ่าคนแก่ชาวมอญในเมืองไทยรับไม่ได้ เพราะลำพัง “แย่ง” ก็สุดจะรับไหวแล้ว ถึงขนาดบางท่านพยายามแปลให้เป็น “ส่งศพ” ด้วยการแยกอ่านคำ ออกเป็นพยางค์ แทนที่จะอ่านควบกล้ำว่า ปล็อง กลับอ่านแยกพยางค์ออกเป็น ปะ-ล็อง ซึ่งหากจะเทียบกับ คำว่า “วอญแปะปุด” ถ้าแปลกันแบบตรงตัวก็ต้องแปลว่า “เล่นคดี” แต่เมื่อมีเรื่องถึงโรงถึง ศาลก็มักไม่มีใครเล่นคดี เอาแต่ “สู้คดี” กันทั้งนั้น นั่นเป็นอุทธาหรณ์อย่างหนึ่งว่า ศัพท์ต่างภาษาจะแปลออกมาอย่างซื่อตรงโดยไม่มีศิลป์นั้น “ไม่ได้ความ”


โลงปราสาทศิลปะมอญเมืองไทย ส่วนฐานรองและคานหามเป็นศิลปะมอญเมืองมอญ (ประเทศพม่า) งานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี อดีตนายกสมาคม ไทยรามัญ จังหวัดสมุทรปราการ พ.. ๒๕๕๑


วงปี่พาทย์มอญ ของชาวมอญเมืองมอญ (ประเทศพม่า) บรรเลงประกอบการขับร้องในพิธี “วอญแฝะ”งานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมเมธาภรณ์ (สนิท สุภาจาโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี และเจ้าอาวาสวัดจันทน์กะพ้อ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๑

ดังจะเห็นว่าเพียงแต่ “แย่ง” แม้จะมีเหตุผลที่ดีก็ยังมีผู้ไม่ยอมรับ หากถึงขนาด “เล่น” ก็คงสุดจะทน หลายท่านถึงกับกล่าวว่า ปล็องแฝะ ของมอญเมืองไทย และ วอญแฝะ ของมอญเมืองมอญ เป็นคนละอย่างกัน ด้วยพิธีดังกล่าว แม้เฟื่องฟูคุโชนอยู่ในหมู่มอญเมืองมอญ แต่ในขณะเดียวกัน “เคล็ด” ที่เหลือเพียงน้อยนิดและถูกแช่แข็ง จนเกือบละลายหายไปในหมู่มอญเมืองไทย ทั้งที่มนุษย์เป็นผู้วางแบบแผนจารีตประเพณีกลับล้มตาย นับประสาอะไรกับจารีตประเพณีที่ผ่านยุคสมัย ย่อมถูกดัดแปลงแต่งเสริม หรือล้มเลิกก็สุดแท้แต่คนของยุคสมัยนั้นๆ จะเห็นดีเห็นงาม ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ สักวันหนึ่งทุกสิ่งต้องเปลี่ยนแปลง

ประเพณี และจิตใจของคนนั้นเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน สิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงเพียงสิ่งเดียวนั้นคือ “ความดื้อรั้น” ที่ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๒). พจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน พ.. ๒๕๔๒. หน้า ๙๑๗.

กรมศิลปากร. (๒๕๔๖). วรรณกรรมสมัยรัตน โกสินทร์ (หมวดบรรเทิงคดี) : ราชาธิราช ของเจ้าพระยาพระ คลัง (หน) และคณะ. หน้า ๔๓๘-๔๔๐.


บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…