Skip to main content

ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม

คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่

นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และสื่อมวลชนที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงวิชาการ ไปร่วมเวทีเสวนาบ่อยๆ ไปงานหนึ่งก็จะได้รับถุงผ้าบรรจุเอกสารเสวนามาด้วย ๑ ใบ แต่ละคนไปมาแล้วกี่งาน เคยนับบ้างไหมว่าได้ถุงผ้ามากี่ใบ มีใบไหนบ้างที่ถูกนำมาใช้งานซ้ำ

ทุกวันนี้กระแสถุงผ้ากลายเป็นแฟชั่นลดโลกร้อนลุกลามเข้าไปยังร้านขายผลิตภัณฑ์แนวสุขภาพ โรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษาทั้งหลาย

ผู้เขียนมีถุงผ้าที่ได้มาต่างกรรมต่างวาระประมาณ ๓๐ ใบ ได้จากเวทีเสวนาวิชาการเสียครึ่งหนึ่ง ที่เหลือได้มาจากห้างสรรพสินค้าที่แถมให้เมื่อซื้อสินค้าครบ ๕๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ บาท จากโรงพยาบาล ร้านขายหนังสือ คนรู้จักมอบให้มาพร้อมทั้งกำชับว่า "ใช้ถุงผ้าช่วยกันลดโลกร้อน" แต่จนแล้วจนรอดผู้เขียนก็ไม่ค่อยได้ใช้ถุงผ้าเหล่านี้ นานทีปีหนนอกจากไปทำธุระใกล้บ้านเท่านั้น และก็ใช้อยู่เพียงแค่ใบเดียว ทั้งที่มีอยู่ล้นลิ้นชัก

ตัวอย่างกรณีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่หันมารณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าในศูนย์หนังสือ โดยเปลี่ยนมาใช้ถุงกระดาษแทนและหากนักศึกษาซื้อหนังสือครบ ๑,๐๐๐ บาท จะได้รับถุงผ้าแทน ส่วนใครที่ซื้อหนังสือมูลค่าเกินกว่านี้จะได้รับ "ถุงผ้าสะท้อนน้ำ" ก็เท่ากับว่าคนที่มีใจช่วยลดโลกร้อนก็ถูกยั่วยุให้ต้องเสียเงินซื้อหนังสือตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป ซึ่งจากคำให้สัมภาษณ์ของดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ยังยอมรับว่าปริมาณการใช้ถุงพลาสติกคงเดิม

"เราตื่นตัวในการใช้ถุงผ้าได้ระยะหนึ่งแต่การใช้ถุงพลาสติกยังไม่ลดลง ในฐานะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องสำคัญ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ เราแจกถุงผ้าในการปฐมนิเทศน์นักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ เราจะลดการใช้ถุงพลาสติก และในอนาคตเราจะลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างสิ้นเชิง..."

กระแสที่ผู้คนลุกขึ้นมาให้ค่ากับการใช้ถุงผ้า ดาราไทยหลายคนก็ไม่พลาดรถไฟเที่ยวนี้ด้วยเช่นกัน (ดาราไทยไม่เคยพลาดขบวนรถไฟเที่ยวออกเทป รถไฟเที่ยวเปิดร้านอาหาร รถไฟเที่ยวเปิดร้านสปาร์ หรือรถไฟเที่ยวออกพ๊อคเกตบุ๊คส์แฉ) บางคนว่าเลยกันไปจนถึงขั้นการสะสม ตามมาด้วยการแข่งขันทั้งรูปแบบและสีสัน และตบท้ายด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์ถุงผ้าชื่อดัง


นับจากวันที่เกิดแคมเปญรณรงค์ลดโลกร้อนเพื่อลดปริมาณถุงพลาสติก จนเป็นกระแสโลกเมื่อ Anya Hindmarch (อันย่า ไฮด์มาร์ช) นักออกแบบกระเป๋าชื่อดังระดับโลก ร่วมกับองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม We Are What We Do ผลิตกระเป๋าผ้านำสมัยมีลายสกรีนข้อความโดนใจว่า I'm not a plastic bag ที่แปลว่า "ฉันไม่ใช่ถุงพลาสติก" กระเป๋าผ้ากว่า 20,000 ใบขายหมดเกลี้ยงในเวลาไม่นาน


กระแสตอบรับดีอย่างเหลือเชื่อ แต่ประเด็นของการลดการใช้ถุงพลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกลับถูกพลิกผัน การรณรงค์ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกกลายเป็นแคมเปญจ์ไฟไหม้ฟางแถมเข้ารกเข้าพงผิดวัตถุประสงค์ เมื่อกระเป๋าผ้า "ฉันไม่ใช่ถุงพลาสติก" ของไฮด์มาร์ชที่วางขายราคาใบละ 5 ปอนด์ (ประมาณ 300 บาท) ถูกนักเก็งกำไรกว้านซื้อไปขายต่อทางเว็บไซต์ในราคาใบละ 220 ปอนด์ (ประมาณ 13,200 บาท) คนทั่วโลกเห่อสั่งซื้ออย่างไม่ทันคิดเสียดายเงิน บางรายลุกขึ้นมาปลอมสินค้ากันอย่างเปิดเผย วัตถุประสงค์ของกระเป๋าผ้าที่ออกมาเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน จึงกลายเป็นปัจจัยเสริมให้โลกร้อนมากยิ่งขึ้น ร้อนทั้งกิเลศที่อยากมีอยากได้ และร้อนที่เกิดจากกระบวนการผลิตและขนส่งถุงผ้า


กระแสเริ่มต้นที่เกิดขึ้นนั้นสวยงามใครต่างก็ร่วมอนุโมทนาสาธุ แต่ที่สุดผู้คนก็ตื่นกระแสแบบหลงทิศและจบด้วย "หัวมังกุท้ายมังกร" เพราะการแก่งแย่งแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งถุงผ้าเพื่อการสะสมแลตามกระแสนั้น ไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่แท้จริง สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นได้แสดงเห็นว่าเป็นค่านิยมชั่วครู่ชั่วยามที่ขาดความยั้งคิดและขาดการทำความเข้าใจในความเป็นไปของโลก เหมือนครั้งหนึ่งที่มีคนพูดว่า "ยุคนี้หมดสมัยการถวายเทียนเข้าพรรษาแล้ว เพราะพระสงฆ์ไม่ได้ใช้งานจริง สู้ถวายหลอดไฟไม่ได้ มีประโยชน์กว่า" ถูก... หลอดไฟมีประโยชน์ แต่หลอดไฟหลอดหนึ่งก็ใช้งานนานหลายปี เมื่อสังคมหน้ามืดตามัวตามกระแสโดยไม่ทันยั้งคิด ทุกคนซื้อหลอดไฟถวายพระ บางรายฐานะดีหน่อยซื้อหลอดผอมถวายให้เปลี่ยนใหม่หมดทั้งวัด ทำให้วัดไม่มีที่เก็บหลอดไฟ ดูแลก็ยากเพราะหลอดไฟแตกหักง่าย วัดในกรุงเทพฯหลายวัดประสบปัญหานี้ จะบริจาคให้วัดต่างจังหวัด ต่างก็ปฏิเสธเพราะมีอยู่ล้นวัดเช่นกัน


คนที่ใช้ถุงผ้าจึงไม่ได้ช่วย "ลด" โลกร้อน อย่างมากก็เพียงแค่ไม่ทำให้โลกร้อนขึ้นเท่านั้น แต่อย่างน้อยคนที่ใช้ถุงผ้าตามกระแสอย่างทุกวันนี้ มีส่วนทำให้อัตราเพิ่มการผลิตถุงผ้าที่เข้าสู่กระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม เริ่มจากการโค่นป่าไม้ทำไร่ฝ้าย ผลิตเส้นด้ายป้อนโรงงานทอผ้า ที่ล้วนใช้พลังงานไฟฟ้าจากโรงงานถ่านหิน หรือโรงงานไฟฟ้าจากเขื่อนขนาดใหญ่ที่ป่าไม้หลายแสนไร่จมอยู่ใต้นั้น ธรรมชาติที่ถูกทำลาย กระนั้นทรัพยากรภายในประเทศก็ยังไม่เพียงพอ จนต้องซื้อแก๊สจากมาเลเซียและพม่า ซื้อไฟฟ้าจากลาวและเวียดนาม พร้อมด้วยโครงการผันน้ำจากแม่น้ำโขง ชาวไร่ชาวนาจากต่างจังหวัดมุ่งเข้าเมืองเพื่อใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตถุงผ้า คนงานที่ดิ้นรนเพื่อปากท้องตนเองและครอบครัวที่อยู่ต่างจังหวัด อนาคตฝากไว้กับรายได้จากการขายถุงผ้า สุขภาพร่างกายและจิตใจที่เสียหาย เวลามีค่าแข่งกันทำงานหาเงิน ไม่มีเวลาทอผ้าใช้เอง ต้องซื้อเสื้อผ้าที่ห่อมากับถุงพลาสติก ทำโอทีดึกดื่นไม่มีเวลาทำอาหารเอง ไม่วายต้องหิ้วแกงถุงเข้าไปกินในห้องเช่าข้างโรงงานหลังเลิกงานทุกวัน

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…