Skip to main content

ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม

คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่

นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และสื่อมวลชนที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงวิชาการ ไปร่วมเวทีเสวนาบ่อยๆ ไปงานหนึ่งก็จะได้รับถุงผ้าบรรจุเอกสารเสวนามาด้วย ๑ ใบ แต่ละคนไปมาแล้วกี่งาน เคยนับบ้างไหมว่าได้ถุงผ้ามากี่ใบ มีใบไหนบ้างที่ถูกนำมาใช้งานซ้ำ

ทุกวันนี้กระแสถุงผ้ากลายเป็นแฟชั่นลดโลกร้อนลุกลามเข้าไปยังร้านขายผลิตภัณฑ์แนวสุขภาพ โรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษาทั้งหลาย

ผู้เขียนมีถุงผ้าที่ได้มาต่างกรรมต่างวาระประมาณ ๓๐ ใบ ได้จากเวทีเสวนาวิชาการเสียครึ่งหนึ่ง ที่เหลือได้มาจากห้างสรรพสินค้าที่แถมให้เมื่อซื้อสินค้าครบ ๕๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ บาท จากโรงพยาบาล ร้านขายหนังสือ คนรู้จักมอบให้มาพร้อมทั้งกำชับว่า "ใช้ถุงผ้าช่วยกันลดโลกร้อน" แต่จนแล้วจนรอดผู้เขียนก็ไม่ค่อยได้ใช้ถุงผ้าเหล่านี้ นานทีปีหนนอกจากไปทำธุระใกล้บ้านเท่านั้น และก็ใช้อยู่เพียงแค่ใบเดียว ทั้งที่มีอยู่ล้นลิ้นชัก

ตัวอย่างกรณีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่หันมารณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าในศูนย์หนังสือ โดยเปลี่ยนมาใช้ถุงกระดาษแทนและหากนักศึกษาซื้อหนังสือครบ ๑,๐๐๐ บาท จะได้รับถุงผ้าแทน ส่วนใครที่ซื้อหนังสือมูลค่าเกินกว่านี้จะได้รับ "ถุงผ้าสะท้อนน้ำ" ก็เท่ากับว่าคนที่มีใจช่วยลดโลกร้อนก็ถูกยั่วยุให้ต้องเสียเงินซื้อหนังสือตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป ซึ่งจากคำให้สัมภาษณ์ของดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ยังยอมรับว่าปริมาณการใช้ถุงพลาสติกคงเดิม

"เราตื่นตัวในการใช้ถุงผ้าได้ระยะหนึ่งแต่การใช้ถุงพลาสติกยังไม่ลดลง ในฐานะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องสำคัญ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ เราแจกถุงผ้าในการปฐมนิเทศน์นักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ เราจะลดการใช้ถุงพลาสติก และในอนาคตเราจะลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างสิ้นเชิง..."

กระแสที่ผู้คนลุกขึ้นมาให้ค่ากับการใช้ถุงผ้า ดาราไทยหลายคนก็ไม่พลาดรถไฟเที่ยวนี้ด้วยเช่นกัน (ดาราไทยไม่เคยพลาดขบวนรถไฟเที่ยวออกเทป รถไฟเที่ยวเปิดร้านอาหาร รถไฟเที่ยวเปิดร้านสปาร์ หรือรถไฟเที่ยวออกพ๊อคเกตบุ๊คส์แฉ) บางคนว่าเลยกันไปจนถึงขั้นการสะสม ตามมาด้วยการแข่งขันทั้งรูปแบบและสีสัน และตบท้ายด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์ถุงผ้าชื่อดัง


นับจากวันที่เกิดแคมเปญรณรงค์ลดโลกร้อนเพื่อลดปริมาณถุงพลาสติก จนเป็นกระแสโลกเมื่อ Anya Hindmarch (อันย่า ไฮด์มาร์ช) นักออกแบบกระเป๋าชื่อดังระดับโลก ร่วมกับองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม We Are What We Do ผลิตกระเป๋าผ้านำสมัยมีลายสกรีนข้อความโดนใจว่า I'm not a plastic bag ที่แปลว่า "ฉันไม่ใช่ถุงพลาสติก" กระเป๋าผ้ากว่า 20,000 ใบขายหมดเกลี้ยงในเวลาไม่นาน


กระแสตอบรับดีอย่างเหลือเชื่อ แต่ประเด็นของการลดการใช้ถุงพลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกลับถูกพลิกผัน การรณรงค์ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกกลายเป็นแคมเปญจ์ไฟไหม้ฟางแถมเข้ารกเข้าพงผิดวัตถุประสงค์ เมื่อกระเป๋าผ้า "ฉันไม่ใช่ถุงพลาสติก" ของไฮด์มาร์ชที่วางขายราคาใบละ 5 ปอนด์ (ประมาณ 300 บาท) ถูกนักเก็งกำไรกว้านซื้อไปขายต่อทางเว็บไซต์ในราคาใบละ 220 ปอนด์ (ประมาณ 13,200 บาท) คนทั่วโลกเห่อสั่งซื้ออย่างไม่ทันคิดเสียดายเงิน บางรายลุกขึ้นมาปลอมสินค้ากันอย่างเปิดเผย วัตถุประสงค์ของกระเป๋าผ้าที่ออกมาเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน จึงกลายเป็นปัจจัยเสริมให้โลกร้อนมากยิ่งขึ้น ร้อนทั้งกิเลศที่อยากมีอยากได้ และร้อนที่เกิดจากกระบวนการผลิตและขนส่งถุงผ้า


กระแสเริ่มต้นที่เกิดขึ้นนั้นสวยงามใครต่างก็ร่วมอนุโมทนาสาธุ แต่ที่สุดผู้คนก็ตื่นกระแสแบบหลงทิศและจบด้วย "หัวมังกุท้ายมังกร" เพราะการแก่งแย่งแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งถุงผ้าเพื่อการสะสมแลตามกระแสนั้น ไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่แท้จริง สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นได้แสดงเห็นว่าเป็นค่านิยมชั่วครู่ชั่วยามที่ขาดความยั้งคิดและขาดการทำความเข้าใจในความเป็นไปของโลก เหมือนครั้งหนึ่งที่มีคนพูดว่า "ยุคนี้หมดสมัยการถวายเทียนเข้าพรรษาแล้ว เพราะพระสงฆ์ไม่ได้ใช้งานจริง สู้ถวายหลอดไฟไม่ได้ มีประโยชน์กว่า" ถูก... หลอดไฟมีประโยชน์ แต่หลอดไฟหลอดหนึ่งก็ใช้งานนานหลายปี เมื่อสังคมหน้ามืดตามัวตามกระแสโดยไม่ทันยั้งคิด ทุกคนซื้อหลอดไฟถวายพระ บางรายฐานะดีหน่อยซื้อหลอดผอมถวายให้เปลี่ยนใหม่หมดทั้งวัด ทำให้วัดไม่มีที่เก็บหลอดไฟ ดูแลก็ยากเพราะหลอดไฟแตกหักง่าย วัดในกรุงเทพฯหลายวัดประสบปัญหานี้ จะบริจาคให้วัดต่างจังหวัด ต่างก็ปฏิเสธเพราะมีอยู่ล้นวัดเช่นกัน


คนที่ใช้ถุงผ้าจึงไม่ได้ช่วย "ลด" โลกร้อน อย่างมากก็เพียงแค่ไม่ทำให้โลกร้อนขึ้นเท่านั้น แต่อย่างน้อยคนที่ใช้ถุงผ้าตามกระแสอย่างทุกวันนี้ มีส่วนทำให้อัตราเพิ่มการผลิตถุงผ้าที่เข้าสู่กระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม เริ่มจากการโค่นป่าไม้ทำไร่ฝ้าย ผลิตเส้นด้ายป้อนโรงงานทอผ้า ที่ล้วนใช้พลังงานไฟฟ้าจากโรงงานถ่านหิน หรือโรงงานไฟฟ้าจากเขื่อนขนาดใหญ่ที่ป่าไม้หลายแสนไร่จมอยู่ใต้นั้น ธรรมชาติที่ถูกทำลาย กระนั้นทรัพยากรภายในประเทศก็ยังไม่เพียงพอ จนต้องซื้อแก๊สจากมาเลเซียและพม่า ซื้อไฟฟ้าจากลาวและเวียดนาม พร้อมด้วยโครงการผันน้ำจากแม่น้ำโขง ชาวไร่ชาวนาจากต่างจังหวัดมุ่งเข้าเมืองเพื่อใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตถุงผ้า คนงานที่ดิ้นรนเพื่อปากท้องตนเองและครอบครัวที่อยู่ต่างจังหวัด อนาคตฝากไว้กับรายได้จากการขายถุงผ้า สุขภาพร่างกายและจิตใจที่เสียหาย เวลามีค่าแข่งกันทำงานหาเงิน ไม่มีเวลาทอผ้าใช้เอง ต้องซื้อเสื้อผ้าที่ห่อมากับถุงพลาสติก ทำโอทีดึกดื่นไม่มีเวลาทำอาหารเอง ไม่วายต้องหิ้วแกงถุงเข้าไปกินในห้องเช่าข้างโรงงานหลังเลิกงานทุกวัน

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…