Skip to main content

องค์ บรรจุน

แค่อ่านชื่อเรื่องหลายคนคงรู้จักคุ้นเคยกันดีว่านี่คือเนื้อเพลง “สยามเมืองยิ้ม” สำหรับคนที่เป็นคอลูกทุ่งยิ่งต้องรู้ว่า เพลงนี้ขับร้องโดยราชินีเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ส่วนผู้ประพันธ์เนื้อเพลงเป็นครูเพลงคู่บุญของเธอ ลพ บุรีรัตน์


ได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ในความเป็นชาติ รู้สึกทันทีว่าไพเราะกินใจ ซาบซึ้งไปกับบทเพลง ยิ่งฟังยิ่งเพราะ ขนาดที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนเคยส่งเทปจัดรายการเพลงไปประกวดดีเจทางคลื่น “สไมล์เรดิโอ” ใช้เพลง “สยามเมืองยิ้ม” เป็นเพลงปิดรายการ ได้เข้ารอบแรกเสียด้วยแต่ตกรอบ ๒๐ คนสุดท้าย เพื่อนๆ ที่รอฟังและตามลุ้นพูดเหมือนกันว่า “สมควรแล้ว จัดรายการเพลงเพื่อชีวิตแต่เสือกเอาเพลงลูกทุ่งปิดรายการ...”

ถึงตรงนี้คงยังมีใครหลายคนจำเนื้อเพลงได้ หลายคนที่ไม่ได้เป็นคอลูกทุ่ง แม้แต่คอลูกทุ่งก็เถอะถ้าเกิดหลังปี ๒๕๓๐ ก็คงจำไม่ได้หรือไม่เคยได้ยิน เรามาดูเนื้อเพลงไปด้วยกัน

“จงภูมิใจเถิดที่เกิดเป็นไทย มิเป็นทาสใคร และมีน้ำใจล้นปริ่ม ทั่วโลกกล่าวขาน ขนานนาม ให้ว่าสยามเมืองยิ้ม เราควรกระหยิ่มถึงความดีงาม คนเย็นใจซื่อได้ชื่อว่าไทย ร้อนมาจากไหน ชาติไทยไม่เคยหวงห้าม ข้ามเขตข้ามโขงถิ่นน้ำขุ่น มาพึ่งใบบุญเมืองสยาม เรายิ้มรับตามที่ท่านต้องการ เลื่องชื่อลือนาม สยามมีแต่น้ำใจ ขอเตือนท่านผู้อาศัย อย่าทำอะไรให้ไทยร้าวราน คนไทยใจซื่อ เขาถือแต่โบราณกาล แค่เพียงข้าวสุกหนึ่งจาน ใครลืมของท่านนั้นเนรคุณ คนไทยรักชาติแหละศาสนา เทิดองค์เจ้าฟ้า ผู้ทรงเปี่ยมเนื้อนาบุญ ถ้าท่านเคารพสิทธิ์ของไทย ท่านอยู่ต่อได้อีกนานคุณ สยามใจบุญ ยังยิ้มเสมอ”

เป็นยังไงครับ ลองอ่านเนื้อเพลง สำหรับผู้เขียนไม่ว่าจะฟังเพลงนี้กี่ครั้งก็ยังรู้สึกเพราะจับใจเหมือนเดิม หากแต่ว่าเมื่อได้ลองเก็บรายละเอียดตีความเนื้อเพลงไปทีละคำ อ่านความหมายระหว่างบรรทัดด้วยแล้ว (ไม่แน่ใจว่าผู้แต่งเจตนาหรืออารมณ์กลอนพาไป) พบว่าเพลงนี้ช่างเป็นเพลงที่เลือกใช้ประวัติศาสตร์บางช่วงบางตอนมากดทับคนรากหญ้าชนิดไม่ให้โงหัว ลองมาตีความไปด้วยกันกันทีละวรรคดังนี้ครับ


“จงภูมิใจเถิดที่เกิดเป็นไทย มิเป็นทาสใคร”
แค่วรรคแรกก็หลอกตัวเองแล้ว เพราะโดยรากศัพท์โบราณมีแต่คำว่า ไท หมายถึงชนชาติตระกูลไท-ลาว (Tai) คำว่าไทยที่มี ย ยักษ์นั้นรัฐบาลเขาสร้างใหม่ ให้คำจำกัดความว่า อิสระ นัยว่าไม่เคยเป็นทาสใคร คงทำนองว่าไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่ที่ไหนได้ หากไม่นับสงครามคราวเสียกรุงสองครั้งเพราะถือว่าพม่ามาเผาและกวาดต้อนผู้คนทรัพย์สิน ไม่ได้อยู่ปกครองแต่แต่งตั้งคนไทยให้ปกครองกันเอง จึงไม่ถือว่าตกเป็นเมืองขึ้น เอาละ ถ้าคิดอย่างนั้นแล้วสบายใจก็คิดต่อไป แล้วเมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ญี่ปุ่นบุกไทยใช้เป็นทางผ่านไปพม่ามาเลเซีย การที่สหรัฐอเมริกามาตั้งฐานทัพที่อุดรธานีทำสงครามเวียดนาม จนมีลูกครึ่งจีไอเป็นดาราเต็มบ้านเต็มเมือง การต้องทำตามคำสั่งไอเอ็มเอฟอย่างเคร่งครัดเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง วัยรุ่นไทยแต่งตัวตัดผมทรงเกาหลีญี่ปุ่นไปถือป้ายภาษาเกาหลีญี่ปุ่นยืนกรี้ดรอรับนักร้องเกาหลีญี่ปุ่นที่สนามบิน สิ่งเหล่านี้มันก็ดูคล้ายๆ จะเป็น “ทาสใคร” อยู่เหมือนกัน

“และมีน้ำใจล้นปริ่ม ทั่วโลกกล่าวขาน ขนานนาม ให้ว่าสยามเมืองยิ้ม เราควรกระหยิ่มถึงความดีงาม”
การพูดในทำนองคนไทยมีน้ำใจ คนไทยรักสงบ คนไทยยิ้มง่าย อย่างนี้มันเป็นการเหมารวมยกเข่ง ชนชาติใดในโลกเขาก็มีคุณสมบัติเหล่านี้กันทั้งนั้น แต่ใช่ว่าทุกคนมีน้ำใจ ใช่ว่าทุกคนรักสงบ ใช่ว่าทุกคนชอบยิ้ม มากน้อยต่างกัน ทีนี้พอมีคนมาตั้งฉายาให้ว่า “สยามเมืองยิ้ม” คนสยามก็เลยต้องยิ้มกันบ้าไปเลย วันๆ ไม่ทำอะไร เห็นต่างชาติเดินมายิ้มลูกเดียว ถามอะไรก็ไม่ตอบเพราะพูดภาษาเขาไม่ได้ คนที่ไม่ชอบยิ้มก็อาจถูกเพื่อนตั้งคำถามว่า “คนไทยหรือเปล่า”

“คนเย็นใจซื่อได้ชื่อว่าไทย ร้อนมาจากไหน ชาติไทยไม่เคยหวงห้าม ข้ามเขตข้ามโขงถิ่นน้ำขุ่น มาพึ่งใบบุญเมืองสยาม เรายิ้มรับตามที่ท่านต้องการ”
วรรคนี้แหละที่มีปัญหาในวิธีคิด อวดตัวว่า “คนเย็นใจซื่อได้ชื่อว่าไทย” คนใจเย็นคนใจซื่อเป็นไทยทุกคน คนชาติอื่นใจร้อนใจคด ส่วนที่ถามว่า “ร้อนมาจากไหน” ใครกันที่ร้อน คนที่ร้อนมากๆ คงมีจีน มอญ และญวนบางส่วน เพราะบ้านตัวเองร้อนจึงหนีร้อนมาพึ่งเย็น แต่ต้องไม่ลืมว่ามีมอญและญวนบางส่วนที่ถูกกวาดต้อนมาในสงครามแย่งชิงพลเมืองในอดีตหลายครั้ง ส่วนคนที่ “ข้ามเขตข้ามโขงถิ่นน้ำขุ่น” ก็คงไม่พ้น ลาวพวน ลาวครั่ง ลาวโซ่ง (ไททรงดำ) เขมร เวียดนาม คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ “มาพึ่งใบบุญเมืองสยาม” เพราะบรรพบุรุษ (ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย) ของคนไทยไปเผาบ้านเผาเมืองกวาดต้อนเขามา “เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง”


ขออวดตัวอีกนิด
“เลื่องชื่อลือนาม สยามมีแต่น้ำใจ ขอเตือนท่านผู้อาศัย อย่าทำอะไรให้ไทยร้าวราน”
หลังอวดตัวว่าเป็นคนมีน้ำใจแล้ว ถือโอกาส “เตือนท่านผู้อาศัย อย่าทำอะไรให้ไทยร้าวราน” เขาเหล่านี้ (ที่ข้ามโขงมา) ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้อาศัยอย่างที่บอกไปแล้วว่าไปกวาดต้อนบรรพชนเขามา เขาก็เลยต้องอยู่ และก็ไม่ได้อยู่อย่าง “ผู้อาศัย” เขาอยู่ในฐานะเจ้าของแผ่นดิน บรรพชนเขาต่างช่วนกันสร้างชาติรักษาแผ่นดินผืนนี้มาด้วยเลือดเนื้อเหมือนเราท่านทั้งหลาย

“คนไทยใจซื่อ เขาถือแต่โบราณกาล แค่เพียงข้าวสุกหนึ่งจาน ใครลืมของท่านนั้นเนรคุณ”
อวดตัวอีกว่าเป็นคนใจซื่อ แล้วก็ยกเอาโวหารมาอ้างเพื่อ “ทวงบุญคุณ” ข้าวแดงแกงร้อน ด่ากันถึงขนาด “เนรคุณ” ซึ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่เป็นผู้นำสารของครูลพมาเผยแพร่ หรือแม้แต่ครูลพจะได้รับออเดอร์จากใครให้แต่งเพลงนี้ ก็ไม่มีสิทธิ์ทวงบุญคุณคนเหล่านี้ เพราะกว่าที่คุณจะเทข้าวสุกให้เขาหนึ่งจานนั้น คุณเผาบ้านเผาเมือง เอาดาบจี้คอหอย หวายร้อยขื่อคา กวาดต้อนเขามา เมื่อถึงแผ่นดินสยามก็ให้เขาตั้งบ้านเรือนอยู่รายรอบเมืองหลวงเพื่อป้องกันดูแลคนในกำแพง ยามมีข้าศึกศัตรูมาประชิดก็เกณฑ์กำลังไปรบล้มตายนับไม่ถ้วน ยามบ้านเมืองสงบก็ปล่อยให้ทำไร่ไถนาเรียกเก็บภาษี เก็บแม้กระทั่งภาษีผักชี

“คนไทยรักชาติแหละศาสนา เทิดองค์เจ้าฟ้า ผู้ทรงเปี่ยมเนื้อนาบุญ ถ้าท่านเคารพสิทธิ์ของไทย ท่านอยู่ต่อได้อีกนานคุณ สยามใจบุญ ยังยิ้มเสมอ”
แน่นอนว่าทุกคน “รักชาติแหละศาสนา เทิดองค์เจ้าฟ้า ผู้ทรงเปี่ยมเนื้อนาบุญ” ด้วยกันทั้งนั้น ที่ร้ายเหลือเมื่อมีการพูดถึง “สิทธิ์” บอกให้เขาเคารพสิทธิ แล้วคุณล่ะเคยคิดถึงสิทธิของเขา เคารพสิทธิของเขาแค่ไหน... จบท้ายด้วยการฝากให้คิด (พูดตรงๆ ก็คือ จำใส่กะลาหัว) ถ้าเคารพสิทธิ์กันก็สามารถ “อยู่ต่อได้อีกนาน” แสดงว่าถ้าทำอะไรที่คุณเข้าใจว่าไม่เคารพกัน ไม่พอใจกัน คุณก็จะไล่เขาออกไปจากแผ่นดินไทยเลยหรือ เจ้าของประเทศคนไหนเป็นคนไล่ จะให้เขาไปอยู่ไหน ในเมื่อที่นี่เป็นแผ่นดินเกิดที่เขามีส่วนสร้างมาด้วยเช่นกัน และไอ้ที่หน้าด้านสุดๆ ก็ตรงทิ้งท้ายว่า “สยามใจบุญ” ทำกันขนาดนี้ยังมีหน้ามาทวงบุญคุณ มิหนำซ้ำยังยกหางตัวเองว่าใจบุญ ช่างไม่ละอายเอาเสียจริง

ทั้งหมดทั้งมวลที่กระทำต่อคนรากหญ้าสารพัดสารเพนี้นอกจากไม่สำเหนียกในความผิดของตนแล้ว ยังกล้าออกปากทวงบุญคุณ กล้าถือสิทธิ์ขับไล่ไสส่งให้เขาไปอยู่ที่อื่น ขณะเดียวกันก็ปั้นหน้า “ยังยิ้มเสมอ” หลอกลวงชาวโลกต่อไป

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…