Skip to main content

องค์ บรรจุน

บทความชิ้นนี้ไม่มีเจตนาตั้งชื่อเลียน "ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ" เพราะในภาพยนตร์นั้น เจ้าของกล้องกดชัตเตอร์ติดวิญญาณผีที่เขาขับรถชนและหนีไป ทว่าในที่สุดวิญญาณก็ตามทวงเอาชีวิต ซึ่งต่างจากบทความนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก เจ้าของกล้องถ่ายภาพนับร้อยที่กดชัตเตอร์ใส่ผีตนหนึ่ง คล้ายมหรสพที่นักการเมืองจัดให้ชาวบ้านในฤดูหาเสียง แต่ที่ร้ายก็คือ อำนาจของชัตเตอร์กลับสะกดให้ผีตกอยู่ใต้อำนาจของมนุษย์อย่างที่ผีไม่สามารถเอาคืนได้

เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ๒๕๕๒ ผู้เขียนมีโอกาสเข้าไปสังเกตการณ์พิธี "เลี้ยงดง" หรือ "เลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ" พิธีกรรมเก่าแก่ของชาวเชียงใหม่ ที่บ้านแม่เหียะใต้ เชิงดอยคำ หลังสถานีวิจัยเกษตรแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งชาวบ้านย่านนั้นพร้อมใจกันจัดขึ้นทุกปี แต่ที่ไม่ทราบแน่ชัดก็คือ นักการเมืองท้องถิ่นได้เข้าไปดำเนินการจัดตั้ง "ปู่แสะย่าแสะ" ให้เป็นหัวคะแนนตั้งแต่เมื่อใด

ตำนานความเป็นมาของพิธีเลี้ยงดง กล่าวโดยย่อคือ ในอดีตย่านนี้เป็นเมืองของชาวลัวะชื่อว่า "บุรพนคร" ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงและดอยอ้อยช้าง (อุจฉุคีรี) ชาวเมืองได้รับความเดือดร้อนจากยักษ์พ่อแม่ลูก ๓ ตน ที่มาจับชาวเมืองไปกินทุกวัน จนชาวเมืองต้องพากันอพยพหนีไปอยู่ที่อื่น

กล่าวถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รับรู้ด้วยพระสัมมาสัมโพธิญาณ เห็นความเดือดร้อนของชาวเมืองบุพนครที่เกิดจากยักษ์พ่อแม่ลูก ๓ ตน พระองค์พร้อมด้วยเหล่าสาวกจึงได้เสด็จมาประทับที่ดอยใต้ ได้มีชาวลัวะ ๔ คน เข้าเฝ้าและเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ จึงถวายอาหารที่นำติดตัวมา พระองค์ทรงอนุโมทนาและเทศนาโปรดจนชาวลัวะทั้ง ๔ รู้แจ้งเห็นสัจธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา

พระพุทธองค์ได้ทำนายว่า ในอนาคตเมืองของชาวลัวะแห่งนี้จะได้ชื่อว่า "เมืองชีใหม่" (ต่อมาเพี้ยนเป็น "เชียงใหม่") โดยเรียกตามเหตุการณ์ที่ชาวลัวะบวชใหม่ (ในอดีตเรียกพระว่า ชี) จากนั้นพระพุทธเจ้าได้สนทนากับพระลัวะทั้ง ๔ รูป จนรับรู้ความเดือดร้อนของชาวเมือง จึงรับสั่งให้พระอานนท์ไปตามยักษ์ทั้ง ๓ ตน มาพบ ทรงแสดงอภินิหารให้ยักษ์เห็น และแสดงธรรมให้ฟัง จนยักษ์เกิดความเลื่อมใส พระพุทธองค์ได้ให้ยักษ์ทั้ง ๓ สมาทานศีลห้า

ต่อมายักษ์นึกขึ้นได้ว่า ตนเองเป็นยักษ์จำเป็นต้องกินเนื้อเป็นอาหาร จึงทูลขอควายกินวันละตัว พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต ยักษ์จึงทูลขอควายกินเดือนละตัว พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุญาต ที่สุดยักษ์จึงทูลขอควายกินปีละตัว พระพุทธองค์ไม่ตอบ ยักษ์จึงขอกับเจ้าเมือง และตกลงให้กินปีละตัว โดยยักษ์ปู่แสะขอกินควายเผือกเขาคำ ยักษ์ย่าแสะขอกินควายดำกลีบเผิ้ง (ควายหนุ่มเขาเสมอหู) โดยฆ่าควายแล้วชำแหละไปให้ พร้อมกับมีข้อแม้ว่า "ยักษ์ต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้ครบ ๕,๐๐๐ ปี ตลอดจนปกปักรักษาชาวเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขด้วย"


ปู่แสะย่าแสะ (เสื้อแดงมุมซ้ายล่างของภาพ) กินเนื้อควายสดๆ


ส่วนลูกยักษ์ได้บวชเป็นพระภิกษุ ต่อมาลาสิกขาออกมาถือเพศเป็นฤๅษี มีนามว่า "สุเทพฤๅษี" ส่วนดอยช้าง หรือ ดอยเหนือ ต่อมาเรียกว่า ดอยสุเทพ ตามชื่อฤๅษีสุเทพซึ่งบำเพ็ญพรตอยู่ที่ถ้ำฤๅษีหลังดอยสุเทพ ดอยคำ และดอยเหล็ก (ปัจจุบันปรากฏร่องรอยบ่อน้ำอยู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า บ่อฤๅษี)...

จากตำนานดังกล่าวข้างต้น ยังคงสืบทอดความเชื่อต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ ภายหลังการเสียชีวิตของปู่แสะย่าแสะแล้ว ชาวบ้านชาวเมืองยังคงเกรงกลัวอิทธิฤทธิ์ และต้องการให้วิญญาณปู่แสะย่าแสะช่วยรักษาพระศาสนา และปกป้องคุ้มครองชาวเมือง จึงจัดให้มีพิธีเซ่นสรวง ที่เรียกกันว่า "เลี้ยงดง" เป็นประจำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ (เป็งเดือนเก้า) สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ชาวเชียงใหม่ (คนเมือง) นับถือผีมาช้านาน ทั้งผีบรรพชน และเทวดาอารักษ์ เช่นเดียวกับผู้คนทุกเชื้อชาติในภูมิภาคแถบนี้ มีการยอมรับนับถือพุทธศาสนามาช้านานตั้งแต่ก่อนการสร้างเมืองเชียงใหม่ โดยการนำความเชื่อดั้งเดิมผสมผสานเข้ากับความเชื่อใหม่ที่ได้รับ เป็นการน้อมนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาเป็นหลักยึดในการดำเนินชีวิตของตน

จากตำนานพื้นเมืองเชื่อกันว่า ปู่แสะย่าแสะ เป็นผีบรรพชนของพวกลัวะ ซึ่งส่วนหนึ่งได้สืบเชื้อสายมาเป็นชาวเชียงใหม่ในปัจจุบัน มีหน้าที่ดูแลรักษาเมืองเชียงใหม่ ดังนั้นเจ้าเมือง เสนาอำมาตย์ และราษฎร จะต้องร่วมกันทำพิธีเลี้ยงปู่แสะย่าแสะ คนโบราณเชื่อว่า หากไม่ทำพิธีเลี้ยงปู่แสะย่าแสะ บ้านเมืองจะเกิดภัยพิบัติ ดังในสมัยพระเจ้าแม่กุ ที่มีการห้ามชาวบ้านทำพิธี เป็นเหตุให้เมืองเชียงใหม่ต้องเสียเอกราช ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า

พิธีเลี้ยงปู่แสะย่าแสะทำสืบต่อกันมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๐ ทางราชการได้สั่งห้ามจัดพิธีดังกล่าว (กรณีเดียวกับที่ได้มีการห้ามจัดพิธีรำผีมอญที่พระประแดง เพราะทางการเกรงว่าจะมีการทำนายทายทักในทางร้ายทำให้ชาวบ้านตื่นกลัว) จนถึงสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงได้รับการรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้งแต่ให้ทำพิธีทางทิศตะวันออกของเชิงดอยคำ โดยมีชาวบ้านเชิงดอยสุเทพและบ้านแม่เหียะเป็นผู้ทำพิธี ซึ่งข้อกำหนดอย่างหนึ่งของการเป็นร่างทรง (ม้าขี่) ก็คือ บุคคลหนึ่งห้ามเป็นร่างทรงติดต่อกันเกิน ๓ ปี


ปู่แสะย่าแสะเดินกินเครื่องเซ่นในศาลบูชา ช่างภาพร้อยเศษตามประกบ


โดยรอบบริเวณพิธีเป็นป่าไม้ค่อนข้างสมบูรณ์ ล้วนแต่ไม้ขนาดใหญ่ทั้งสิ้น เช้านั้นฝนโปรยปรายลงมาแต่เช้า ยอดหญ้าฉ่ำน้ำ ผืนดินนุ่มไร้ฝุ่น ท้องฟ้าก็ครึ้มด้วยเมฆขาวหม่น บรรยากาศขรึมขลังชวนศรัทธา จะขัดความรู้สึกบ้างก็ตรงที่เมื่อเดินทางมาถึงเชิงเขา ได้ยินแต่เสียงล้อบดถนนและแตรรถกลบเสียงวงกลอง (ปี่พาทย์) รถนานาชนิดจอดเรียงรายยาวเหยียด รวมทั้งรถตู้นักท่องเที่ยวหลากสัญชาติ เมื่อถึงปากทางมองเห็นผาม (ปะรำพิธี) แต่ไกลกลางลานโล่ง สองรายทางเต็มไปด้วยร้านค้าขายนาชนิด (รวมทั้งเหล้าตอง แต่ปีหน้าคงจะไม่มี หากหน่วยงานเกี่ยวกับสุขภาพ จะเข้าไปสนับสนุนกิจกรรมชาวบ้าน และอาจจะรวมไปถึงการนำควายมาต้มก่อนเซ่นสรวงปู่แสะย่าแสะ) ด้านขวาเกือบสุดทางเดินก่อนถึงผาม เป็นอาสนสงฆ์ ด้านซ้ายเป็นเต้นท์กองอำนวยการ มีเสียงประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงและผลงานของนักการเมืองท้องถิ่น และโฆษณาขายผืนผ้าพระบฏจำลอง


ปู่แสะย่าแสะไหว้สาภาพพระบฏ


ขณะที่ผู้เขียนไปถึงนั้นหีบพระบฎ (ภาพเขียนพระพุทธเจ้า) วางอยู่ใต้ร่มไม้ พระบฏในหีบถูกขึงไว้กับยอดไม้สูงเหนือหัวแล้ว พิธีกรรมต่อจากนั้นเริ่มจาก ร่างทรง (ม้าขี่) ของปู่แสะย่าแสะ ขึ้นไปทำพิธีบนผาม เปลี่ยนชุดตามแบบโบราณ เน้นผ้านุ่งผ้าห่มสีแดง ทำพิธีเซ่นสรวงเชิญวิญญาณปู่แสะย่าแสะเข้าร่าง วิญญาณในร่างทรงรับหมากมาเคี้ยวปากแดง สูบบุหรี่มอญมวนใหญ่ กระโจนลงจากผาม เดินมุ่งไปหาซากควายที่ชำแหละวางไว้ทั้งเนื้อ หนัง หัว และเขาควายครบทุกชิ้นส่วนกลางลาน ปู่แสะย่าแสะขึ้นขี่บนหลังควาย เกลือกร่างไปบนซากควาย ฉีกเนื้อกินสดๆ มือวักเลือดในภาชนะขึ้นดื่ม หิ้วเนื้อควายติดตัวไปบางส่วน เดินตรวจตราดูศาลบูชาขนาดเล็กที่ตั้งอยู่โดยรอบลานพิธี ทั้ง ๑๒ ศาล ตามจำนวนปู่แสะย่าแสะ ลูก หลาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของเมือง ภายในศาลวางกระทงใบตองตึง ใส่เครื่องเซ่นคาวหวานนานาชนิด หลังปู่แสะย่าแสะรับเครื่องเซ่นแล้วก็เกิดเหตุอัศจรรย์ภาพพระบฏแกว่งไกว ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นปาฏิหารย์ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกปี โดยไม่มีลมพัดต้องแม้แต่น้อย สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้ปู่แสะย่าแสะรับรู้ กลับเข้าไปในผาม เปลี่ยนชุดใหม่ เน้นสีขาวบริสุทธิ์ เข้าไปไหว้สาพระบฏ อันเป็นสัญลักษ์ตัวแทนของพระพุทธเจ้า จากนั้นปู่แสะย่าแสะก็จะเดินเยี่ยมเยียนชาวบ้าน ที่สำคัญยังมีการปลูกฝังสั่งสอนชาวบ้าน เป็นต้นว่า มีการเข้าทรง "เจ้านาย" เพื่อพยากรณ์ความเป็นอยู่และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง การบอกกล่าวฝากฝังต่อผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการรักษาป่าไม้ ที่มีผู้คนทำลายบุกรุกทำลาย ให้ชาวบ้านสามัคคีช่วยกันแก้ไขปัญหา สาปแช่งคนบุกรุกทำรายให้มีอันเป็นไป เป็นต้น (โชคดีที่ป่าผืนนั้นเป็นเขตทหาร คำสาปแช่งของปู่แสะย่าแสะจึงคงยังศักดิ์สิทธิ์ไปอีกนาน)

นอกจากตำนานจะกล่าวถึงชนพื้นเมือง คือ ชาวลัวะ ว่าเป็นชนดั้งเดิมของเมืองเชียงใหม่แล้ว ยังเป็นการผสานความเชื่อเรื่องผีของชนพื้นเมืองที่มีมาแต่เดิม เข้ากับความเชื่อทางพุทธศาสนาที่เข้ามาภายหลัง ให้ดำเนินคู่กันไปอย่างกลมกลืน เท่ากับว่าตำนานและพิธีกรรมในอดีตมีส่วนสำคัญในการร้อยเรียงผู้คนต่างชาติพันธุ์ ต่างความเชื่อ และลัทธิทางศาสนาให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมีกติกาที่ชุมชนเป็นผู้ตกลงร่วมกัน แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ชาวบ้านกลับตกอยู่ภายใต้การชี้นำของทุนนิยม ปัจจัยภายนอกส่งอิทธิพลต่อรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้คนที่ต้องอาศัยเครื่องประดับกาย และเครื่องประดับเกียรติ หนทางหนึ่งนั้น คือ "การเมือง" ระบบซึ่งพรากความกลมเกลียวไปจากชุมชน และยัดเยียดความแตกแยกทิ้งไว้ให้ชุมชน ผลประโยชน์ที่อยู่เบื้องหลัง ทำให้กระทำทุกวิถีทางเพื่อขึ้นสู่อำนาจ แม้แต่การเบียดบังพื้นที่ของผีบรรพชน


นักการเมือง กับ ปู่แสะย่าแสะ

อำนาจ "ชัตเตอร์" รุกล้ำประชิดถึงปลายคางโหนกคิ้วของผี เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามในสายตาของช่างภาพ ในยุคดิจิตัล มือถือถ่ายภาพได้ราคาถูกหาซื้อได้ง่าย ไม่นับรวมนักเลงกล้องมืออาชีพ กล้องวีดีโอจากนักท่องเที่ยวหลายชาติ นักข่าวหลายช่อง นับด้วยตาคร่าวๆ ไม่ต่ำกว่าร้อย รั้วไม้หยาบๆ กั้นชาวบ้านให้นั่งดูเรื่องที่เป็นจิตวิญญาณของตนได้เท่านั้น แต่รั้วไม่สามารถกั้นช่างภาพและนักการเมืองให้เข้าไปเกาะติดผีได้ ไม่มีการนิยามถึงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีการเคารพตำนานและตัวตนการมีอยู่ของความเชื่อเรื่องปู่แสะย่าแสะ ผู้เขียนไม่อาจรู้ได้ว่าพ่ออุ้ยแม่อุ้ยที่นั่งราบอยู่กับพื้นพนมมือด้วยศรัทธาจะปวดร้าวใจเพียงใด เมื่อได้ยินช่างภาพและนักการเมืองท้องถิ่นพูดกับปู่แสะย่าแสะที่พวกเขาเคารพศรัทธา
"อย่าเพิ่งลุกๆ นั่งต่อแป๊บนึง กัดเนื้อควายค้างไว้ ขอมุมสวยๆ อีกภาพ..."

หรือคำที่ผู้ชมกล่าวถึงด้วยความ...
"ปีก่อนๆ กว่าจะขึ้นต้นไม้ได้ต้องดันกันแล้วดันกันอีก ปีนี้นักท่องเที่ยวเยอะ กล้องทีวีก็เยอะ นายกเทศบาลมาเองด้วย ร่างทรงกระโดดปลิวขึ้นต้นไม้ไปเลย... ปีนขึ้นไปสูงซะด้วย..."

แน่นอนว่าในแต่ละขั้นตอน ภาพนักการเมืองจะต้องไม่หลุดเฟรม นั่นคือการอยู่ให้ไกล้ร่างทรงที่สุด กระทั่งเกาะกุมลากจูงมือร่างทรง แบบที่ไม่เคยมีในอดีต ผู้เขียนบอกไม่ได้ว่าผีมีจริงหรือไม่ แต่เท่าที่ผ่านมามนุษย์ใช้งานผีด้วยความเคารพ ลำพังนักการเมืองไม่เข้ามาอิงแอบบารมีผีใช้เป็นฐานคะแนน ผีทั้งหลายก็มีที่อยู่ที่ยืนน้อยลงทุกทีเพราะความเชื่อเก่าถูกท้าทายลงทุกเมื่อเชื่อวัน ยิ่งมาถึงทุกวันนี้ ภาพผีที่ถูกชี้นิ้วสั่ง ฉุดลากไปมาตรงหน้า อย่างที่นักการเมืองท้องถิ่นต้องการ ศรัทธาของคนรุ่นใหม่ย่อมไม่เกิด ศรัทธาของคนรุ่นเก่าก็ยิ่งเหือดแห้งลงทุกขณะ

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…