Skip to main content

คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้


เดี๋ยวนี้วัดชนะสงครามมีชื่อเสียงเป็นสองแรงบวก จากกิตติศัพท์ความเคร่งของพระมอญ และคำว่า “ชนะ” การประกอบกิจกรรมกิจการงานใด หากทำบุญถวายสังฆทานสะเดาะเคราะห์ที่วัดนี้จะมีโชคมีชัย แคล้วคลาด ขนาดหมอดูชื่อดังยังสร้างแนวคิดให้มาไหว้พระ ๙ วัด เมื่อปี ๒๕๔๘ มีวัดชนะสงครามเป็นหนึ่งในนั้น (เพื่อจะได้มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง – แต่หากไปไหว้พระที่วัดชัยชนะสงคราม คลองถม ขากลับจะสามารถเลือกซื้อหนังก๊อปได้ด้วย) เรียกว่าความนิยมของวัดชนะสงครามได้มาเพราะชื่อขายได้แท้ๆ กระทั่งททท.รับลูกเอาไปเล่นต่อ สร้างจุดขายการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพฯชั้นในแต่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นบางวัด ทุกวันนี้เสาร์อาทิตย์จะผู้คนมาไหว้พระกันแน่นวัด มาอยู่กันคนละประมาณ ๕ นาที รีบไปต่อเพราะกลัวจะไม่ครบ ๙ วัด แรกเริ่มทางททท.ก็พิมพ์ประวัติวัดเล่มบางๆ มาแจก ทางวัดก็มีหนังสือธรรมะเล่มเล็กให้ญาติโยมติดไม้ติดมือกลับบ้าน ระยะหลังหนังสือหมด ทางททท.คงไม่มีงบทำต่อเพราะต้องเจียดงบไปเปิดตัวพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ขยายพื้นที่จัดแสดงของบึงฉวาก ปรับภูมิทัศน์หอคอยบรรหาร ปรับปรุงและพัฒนาถนนสายต่างๆ และเกาะกลางถนน รวมทั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่างให้ชาวนาที่พิพิธภัณฑ์ชาวนาไทยได้ดำนาในตอนกลางคืนอวดนักท่องเที่ยว เมื่องบประมาณการท่องเที่ยวจังหวัดอื่นๆ จึงถูกตัด ทุกวันนี้คนที่มาไหว้พระที่วัดชนะสงครามจึงกลับบ้านมือเปล่า ธรรมะก็คงไม่มีเวลาฟังเพราะต้องรีบไปวัดอื่นต่อ หากนั่งอยู่ใกล้ธรรมาสน์อาจได้หยาดน้ำมนต์จางๆ กระเซ็นไปต้องผิวหนังบ้าง แต่ที่แน่ๆ มีตู้บริจาควางไว้ให้รอบทิศเกือบ ๒๐ ใบ บริจาคทรัพย์ได้ตามอัธยาศัย
 


แผนที่การเดินทางไหว้พระ ๙ วัด


ไม่นานมานี้ที่วัดชนะสงครามเกิดประเพณีใหม่ เนื่องมาจากการบนบานกับพระบรมรูปวังหน้า (สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ได้ผลมากน้อยเพียงใดไม่มีใครรู้ แต่เห็นมีของแก้บนล้นหลามก็แสดงว่ามีผู้สมใจนึกจำนวนมาก พระเณรพากันแปลกใจ ถามไถ่ได้ความว่า มีคนเล่าลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวังหน้าใครขออะไรก็ได้ดังใจ และต้องมาแก้บนด้วยมะนาว เจ้าอาวาสได้ยินเข้าถึงกับออกปาก
อาตมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้มา ๔๐ กว่าปีแล้ว เพิ่งเคยได้ยิน”


ล่าสุดเมื่อต้นเดือนกันยายน พระวัดชนะสงครามก็ได้งานเพิ่มมาอีกอย่างคือ การปราบผี เมื่อเจ้าอาวาสและพระมอญหลายรูปได้รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในงานทำบุญสถาปนากองปราบปรามครบรอบ ๖๑ ปี หลังฉันภัตตาหารเสร็จ เจ้าหน้าที่ได้นิมนต์เจ้าคุณ
(พระเมธีวราลงกรณ์) ไปพรมน้ำมนต์ที่ห้องขังเพื่อไล่ผีอดีตผู้ต้องขังที่หลอกหลอนผู้ต้องขังด้วยกัน เจ้าคุณรู้แต่ว่าวันนั้นเขานิมนต์ไปสวดมนต์ฉันเพลจึงตั้งตัวไม่ทัน พรมน้ำมนต์เสร็จกลับถึงวัดจึงบ่นขึ้น

ถ้าเรื่องสงบ ผีก็คงจะโกรธที่เราไปทำร้ายเขา แต่ถ้าผียังไม่ยอมหยุด คนก็จะหาว่าน้ำมนต์เราไม่ศักสิทธิ์ โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง”

 


พระเมธีวราลงกรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส คณะ ๗ วัดชนะสงคราม พรมน้ำมนต์ห้องขังกองปราบไล่ผี


แล้วก็เป็นจริงตามคาด รุ่งขึ้นเป็นข่าวอีกว่า น้ำมนต์ไม่ขลัง เพราะช่างภาพโทรทัศน์รายหนึ่ง (แหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อและช่อง) เจอจะๆ กับตาแต่ไม่กล้าบอกใคร กลัวคนจะแตกตื่น (แต่ก็มาเปิดเผยภายหลัง) ...สื่อมวลชนยังเป็นอย่างนี้ แล้วสังคมที่เสพข่าวสารจะเป็นอย่างไร


ที่จริงแล้ววัดชนะสงครามเกี่ยวข้องกับคนมอญมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมเป็นวัดขนาดเล็กสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ท่ามกลางท้องนาจึงได้ชื่อว่า “วัดกลางนา” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อตั้งบ้านแปงเมืองในระยะแรกนั้นพม่าพยายามยกทัพมาปราบปรามเพื่อไม่ให้ตั้งตัวได้ บ้านเมืองต้องรับศึกสงครามหลายครั้ง มีทหารมอญจำนวนมากที่อพยพเข้ามาสมัยธนบุรี ได้เข้าร่วมในกองทัพของวังหน้า สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
(พระอนุชาในรัชกาลที่ ๑) ภายหลังมีชัยจากสงครามแล้ว ระหว่างทรงพักกองทัพหลังกลับจากสงครามก่อนเข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๑ ในวังหลวงย่านวัดกลางนา สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯทรงนึกถึงคุณงามความดีของทหารมอญที่ร่วมรบในสงครามจนได้รับชัยชนะ จึงรับสั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดกลางนา ให้เป็นวัดสำหรับพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ และให้ครอบครัวของนายทหารมอญเหล่านั้นปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่รายรอบวัด วัดและชุมชนรอบๆ วัดชนะสงครามจึงเป็นชุมชนมอญตั้งแต่นั้นมา


ปัจจุบันชุมชนและวัดมอญชนะสงครามเหลือเพียงประวัติศาสตร์เท่านั้น ลูกหลานของมอญสมัยนั้นกลืนกลายเป็นไทยไปหมดแล้ว ไม่หลงเหลือเอกลักษณ์วัดมอญเช่นในอดีตอีกต่อไป มีเพียงหน้าที่ตามกฏมณเฑียรบาลเท่านั้นคือ ให้พระมอญที่จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามเข้าไปสวดพระปริตรมอญที่หอศาสตราคม พระบรมมหาราชวังทุกวันพระ เพื่อจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมพระบรมมหาราชวังและสำหรับพระมหากษัตริย์โสรจสรง ซึ่งพระมอญนั้นเหลือน้อยลงเรื่อยๆ ปัจจุบันเหลือเพียง ๗ รูป เท่านั้น

 


นายธีระ ทรงลักษณ์ (พาดผ้า) ผู้อาราธนาศีลมอญงานเทศน์มหาชาติภาษามอญ ปี ๒๕๕๑


เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ๒ รูปก่อนหน้ารูปปัจจุบันไม่ได้มีเชื้อสายมอญ และปกครองวัดได้ไม่นานนักก็มรณภาพ ทำให้เกิดข่าวลือว่า หากเจ้าอาวาสไม่มีเชื้อสายมอญจะอยู่ไม่ได้ เมื่อเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) มาเป็นเจ้าอาวาส และคงได้ยินข่าวลือนี้ ท่านจึงกล่าวว่าท่านก็มีเชื้อมอญ ทั้งยังบวชมาจากวัดตองปุ วัดมอญที่อยุธยาเสียด้วย (เดิมวัดชนะสงครามก็มีชื่อเรียกในหมู่ชาวมอญว่าวัดตองปุ) ซึ่งท่านได้เป็นเจ้าอาวาสมาจนถึงทุกวันนี้ และท่านก็มักคุยให้คนมอญที่ไปหาท่านฟังเสมอว่าท่านมีเชื้อมอญ และมีอ่างกะปิของยายที่หอบหิ้วมาจากเมืองมอญ แม้ไม่เคยมีใครได้เห็นก็ตาม แต่เมื่อมีคนจีนเข้าไปพูดคุยท่านก็จะพูดเรื่องจีนและกล่าวว่าท่านก็มีเชื้อสายจีนด้วย แม้เรื่องนี้จะฟังดูคล้ายวิธีการของนักการเมือง แต่สำหรับเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามคงอยู่นอกเหนือจากนั้นเพราะท่านไม่ได้ต้องการขยายฐานเสียง เพียงแต่ท่านรู้ว่าควรจะคุยกับใครด้วยเรื่องอะไรจึงจะเหมาะควร


สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเจ้าอาวาสท่านยังคงคิดถึงและให้เกียรติบรรพชนมอญผู้สร้างวัดคือ ว่ากันว่าแม้ทุกวันนี้วัดชนะสงครามจะเหลือพระมอญน้อยมากแล้วก็ตาม ท่านยังคงแบ่งวัดออกเป็น ๒ ฟาก กำหนดให้ฟากซ้ายมือเป็นที่จำพรรษาของพระมอญ (ปัจจุบันจะเหลือแต่เจ้าคณะเท่านั้นที่เป็นมอญ) ส่วนฟากขวามือเป็นพระอาคันตุกะ คือพระที่มาจากทุกสารทิศโดยไม่แบ่งแยก และอีกประการหนึ่งคือ ท่านได้กำหนดให้รื้อฟื้นการเทศน์มหาชาติภาษามอญขึ้นทุกปี โดยก่อนหน้าที่ท่านจะมาปกครองวัดนั้นเทศน์เฉพาะภาษาไทย เลิกเทศน์ภาษามอญไปนานแล้ว ครั้งแรกที่ท่านมีดำริให้เทศน์มหาชาติภาษามอญ มีผู้ท้วงว่าไม่มีพระมอญในวัดที่เทศน์มอญได้ไพเราะแล้ว รูปที่เคยเทศน์ก็เพิ่งมรณภาพไป ซ้ำคนที่ฟังออกก็มีน้อย แต่ท่านก็ยืนยันให้มีการเทศน์มหาชาติภาษามอญ ๑ กัณฑ์ ทุกปี ด้วยเหตุผลที่ว่า


เอาพระในวัดเรานี่แหละ เทศน์ธรรมดา แหล่หรือเอื้อนแบบเก่าไม่ได้ก็ช่างมัน ใครฟังไม่ออกก็ช่างเขา เทศน์ให้ผีบรรพบุรุษมอญฟัง เพราะวัดนี้เป็นวัดมอญ”

 


พระครูสุนทรวิลาศ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส คณะ ๕ วัดชนะสงคราม
เทศน์มหาชาติกัณฑ์วนประเวศน์ภาษามอญเป็นประจำทุกปี


 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…