Skip to main content

คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้


เดี๋ยวนี้วัดชนะสงครามมีชื่อเสียงเป็นสองแรงบวก จากกิตติศัพท์ความเคร่งของพระมอญ และคำว่า “ชนะ” การประกอบกิจกรรมกิจการงานใด หากทำบุญถวายสังฆทานสะเดาะเคราะห์ที่วัดนี้จะมีโชคมีชัย แคล้วคลาด ขนาดหมอดูชื่อดังยังสร้างแนวคิดให้มาไหว้พระ ๙ วัด เมื่อปี ๒๕๔๘ มีวัดชนะสงครามเป็นหนึ่งในนั้น (เพื่อจะได้มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง – แต่หากไปไหว้พระที่วัดชัยชนะสงคราม คลองถม ขากลับจะสามารถเลือกซื้อหนังก๊อปได้ด้วย) เรียกว่าความนิยมของวัดชนะสงครามได้มาเพราะชื่อขายได้แท้ๆ กระทั่งททท.รับลูกเอาไปเล่นต่อ สร้างจุดขายการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพฯชั้นในแต่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นบางวัด ทุกวันนี้เสาร์อาทิตย์จะผู้คนมาไหว้พระกันแน่นวัด มาอยู่กันคนละประมาณ ๕ นาที รีบไปต่อเพราะกลัวจะไม่ครบ ๙ วัด แรกเริ่มทางททท.ก็พิมพ์ประวัติวัดเล่มบางๆ มาแจก ทางวัดก็มีหนังสือธรรมะเล่มเล็กให้ญาติโยมติดไม้ติดมือกลับบ้าน ระยะหลังหนังสือหมด ทางททท.คงไม่มีงบทำต่อเพราะต้องเจียดงบไปเปิดตัวพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ขยายพื้นที่จัดแสดงของบึงฉวาก ปรับภูมิทัศน์หอคอยบรรหาร ปรับปรุงและพัฒนาถนนสายต่างๆ และเกาะกลางถนน รวมทั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่างให้ชาวนาที่พิพิธภัณฑ์ชาวนาไทยได้ดำนาในตอนกลางคืนอวดนักท่องเที่ยว เมื่องบประมาณการท่องเที่ยวจังหวัดอื่นๆ จึงถูกตัด ทุกวันนี้คนที่มาไหว้พระที่วัดชนะสงครามจึงกลับบ้านมือเปล่า ธรรมะก็คงไม่มีเวลาฟังเพราะต้องรีบไปวัดอื่นต่อ หากนั่งอยู่ใกล้ธรรมาสน์อาจได้หยาดน้ำมนต์จางๆ กระเซ็นไปต้องผิวหนังบ้าง แต่ที่แน่ๆ มีตู้บริจาควางไว้ให้รอบทิศเกือบ ๒๐ ใบ บริจาคทรัพย์ได้ตามอัธยาศัย
 


แผนที่การเดินทางไหว้พระ ๙ วัด


ไม่นานมานี้ที่วัดชนะสงครามเกิดประเพณีใหม่ เนื่องมาจากการบนบานกับพระบรมรูปวังหน้า (สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ได้ผลมากน้อยเพียงใดไม่มีใครรู้ แต่เห็นมีของแก้บนล้นหลามก็แสดงว่ามีผู้สมใจนึกจำนวนมาก พระเณรพากันแปลกใจ ถามไถ่ได้ความว่า มีคนเล่าลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวังหน้าใครขออะไรก็ได้ดังใจ และต้องมาแก้บนด้วยมะนาว เจ้าอาวาสได้ยินเข้าถึงกับออกปาก
อาตมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้มา ๔๐ กว่าปีแล้ว เพิ่งเคยได้ยิน”


ล่าสุดเมื่อต้นเดือนกันยายน พระวัดชนะสงครามก็ได้งานเพิ่มมาอีกอย่างคือ การปราบผี เมื่อเจ้าอาวาสและพระมอญหลายรูปได้รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในงานทำบุญสถาปนากองปราบปรามครบรอบ ๖๑ ปี หลังฉันภัตตาหารเสร็จ เจ้าหน้าที่ได้นิมนต์เจ้าคุณ
(พระเมธีวราลงกรณ์) ไปพรมน้ำมนต์ที่ห้องขังเพื่อไล่ผีอดีตผู้ต้องขังที่หลอกหลอนผู้ต้องขังด้วยกัน เจ้าคุณรู้แต่ว่าวันนั้นเขานิมนต์ไปสวดมนต์ฉันเพลจึงตั้งตัวไม่ทัน พรมน้ำมนต์เสร็จกลับถึงวัดจึงบ่นขึ้น

ถ้าเรื่องสงบ ผีก็คงจะโกรธที่เราไปทำร้ายเขา แต่ถ้าผียังไม่ยอมหยุด คนก็จะหาว่าน้ำมนต์เราไม่ศักสิทธิ์ โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง”

 


พระเมธีวราลงกรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส คณะ ๗ วัดชนะสงคราม พรมน้ำมนต์ห้องขังกองปราบไล่ผี


แล้วก็เป็นจริงตามคาด รุ่งขึ้นเป็นข่าวอีกว่า น้ำมนต์ไม่ขลัง เพราะช่างภาพโทรทัศน์รายหนึ่ง (แหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อและช่อง) เจอจะๆ กับตาแต่ไม่กล้าบอกใคร กลัวคนจะแตกตื่น (แต่ก็มาเปิดเผยภายหลัง) ...สื่อมวลชนยังเป็นอย่างนี้ แล้วสังคมที่เสพข่าวสารจะเป็นอย่างไร


ที่จริงแล้ววัดชนะสงครามเกี่ยวข้องกับคนมอญมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมเป็นวัดขนาดเล็กสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ท่ามกลางท้องนาจึงได้ชื่อว่า “วัดกลางนา” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อตั้งบ้านแปงเมืองในระยะแรกนั้นพม่าพยายามยกทัพมาปราบปรามเพื่อไม่ให้ตั้งตัวได้ บ้านเมืองต้องรับศึกสงครามหลายครั้ง มีทหารมอญจำนวนมากที่อพยพเข้ามาสมัยธนบุรี ได้เข้าร่วมในกองทัพของวังหน้า สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
(พระอนุชาในรัชกาลที่ ๑) ภายหลังมีชัยจากสงครามแล้ว ระหว่างทรงพักกองทัพหลังกลับจากสงครามก่อนเข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๑ ในวังหลวงย่านวัดกลางนา สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯทรงนึกถึงคุณงามความดีของทหารมอญที่ร่วมรบในสงครามจนได้รับชัยชนะ จึงรับสั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดกลางนา ให้เป็นวัดสำหรับพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ และให้ครอบครัวของนายทหารมอญเหล่านั้นปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่รายรอบวัด วัดและชุมชนรอบๆ วัดชนะสงครามจึงเป็นชุมชนมอญตั้งแต่นั้นมา


ปัจจุบันชุมชนและวัดมอญชนะสงครามเหลือเพียงประวัติศาสตร์เท่านั้น ลูกหลานของมอญสมัยนั้นกลืนกลายเป็นไทยไปหมดแล้ว ไม่หลงเหลือเอกลักษณ์วัดมอญเช่นในอดีตอีกต่อไป มีเพียงหน้าที่ตามกฏมณเฑียรบาลเท่านั้นคือ ให้พระมอญที่จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามเข้าไปสวดพระปริตรมอญที่หอศาสตราคม พระบรมมหาราชวังทุกวันพระ เพื่อจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมพระบรมมหาราชวังและสำหรับพระมหากษัตริย์โสรจสรง ซึ่งพระมอญนั้นเหลือน้อยลงเรื่อยๆ ปัจจุบันเหลือเพียง ๗ รูป เท่านั้น

 


นายธีระ ทรงลักษณ์ (พาดผ้า) ผู้อาราธนาศีลมอญงานเทศน์มหาชาติภาษามอญ ปี ๒๕๕๑


เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ๒ รูปก่อนหน้ารูปปัจจุบันไม่ได้มีเชื้อสายมอญ และปกครองวัดได้ไม่นานนักก็มรณภาพ ทำให้เกิดข่าวลือว่า หากเจ้าอาวาสไม่มีเชื้อสายมอญจะอยู่ไม่ได้ เมื่อเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) มาเป็นเจ้าอาวาส และคงได้ยินข่าวลือนี้ ท่านจึงกล่าวว่าท่านก็มีเชื้อมอญ ทั้งยังบวชมาจากวัดตองปุ วัดมอญที่อยุธยาเสียด้วย (เดิมวัดชนะสงครามก็มีชื่อเรียกในหมู่ชาวมอญว่าวัดตองปุ) ซึ่งท่านได้เป็นเจ้าอาวาสมาจนถึงทุกวันนี้ และท่านก็มักคุยให้คนมอญที่ไปหาท่านฟังเสมอว่าท่านมีเชื้อมอญ และมีอ่างกะปิของยายที่หอบหิ้วมาจากเมืองมอญ แม้ไม่เคยมีใครได้เห็นก็ตาม แต่เมื่อมีคนจีนเข้าไปพูดคุยท่านก็จะพูดเรื่องจีนและกล่าวว่าท่านก็มีเชื้อสายจีนด้วย แม้เรื่องนี้จะฟังดูคล้ายวิธีการของนักการเมือง แต่สำหรับเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามคงอยู่นอกเหนือจากนั้นเพราะท่านไม่ได้ต้องการขยายฐานเสียง เพียงแต่ท่านรู้ว่าควรจะคุยกับใครด้วยเรื่องอะไรจึงจะเหมาะควร


สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเจ้าอาวาสท่านยังคงคิดถึงและให้เกียรติบรรพชนมอญผู้สร้างวัดคือ ว่ากันว่าแม้ทุกวันนี้วัดชนะสงครามจะเหลือพระมอญน้อยมากแล้วก็ตาม ท่านยังคงแบ่งวัดออกเป็น ๒ ฟาก กำหนดให้ฟากซ้ายมือเป็นที่จำพรรษาของพระมอญ (ปัจจุบันจะเหลือแต่เจ้าคณะเท่านั้นที่เป็นมอญ) ส่วนฟากขวามือเป็นพระอาคันตุกะ คือพระที่มาจากทุกสารทิศโดยไม่แบ่งแยก และอีกประการหนึ่งคือ ท่านได้กำหนดให้รื้อฟื้นการเทศน์มหาชาติภาษามอญขึ้นทุกปี โดยก่อนหน้าที่ท่านจะมาปกครองวัดนั้นเทศน์เฉพาะภาษาไทย เลิกเทศน์ภาษามอญไปนานแล้ว ครั้งแรกที่ท่านมีดำริให้เทศน์มหาชาติภาษามอญ มีผู้ท้วงว่าไม่มีพระมอญในวัดที่เทศน์มอญได้ไพเราะแล้ว รูปที่เคยเทศน์ก็เพิ่งมรณภาพไป ซ้ำคนที่ฟังออกก็มีน้อย แต่ท่านก็ยืนยันให้มีการเทศน์มหาชาติภาษามอญ ๑ กัณฑ์ ทุกปี ด้วยเหตุผลที่ว่า


เอาพระในวัดเรานี่แหละ เทศน์ธรรมดา แหล่หรือเอื้อนแบบเก่าไม่ได้ก็ช่างมัน ใครฟังไม่ออกก็ช่างเขา เทศน์ให้ผีบรรพบุรุษมอญฟัง เพราะวัดนี้เป็นวัดมอญ”

 


พระครูสุนทรวิลาศ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส คณะ ๕ วัดชนะสงคราม
เทศน์มหาชาติกัณฑ์วนประเวศน์ภาษามอญเป็นประจำทุกปี


 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…