Skip to main content

เม้ยเผื่อน เล่าว่า ตนเองเกิดที่ย่านวัดน่วมกานนท์ ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับบ้านปากบ่อและอยู่ภายในตำบลเดียวกันและเป็นหมู่บ้านของสามีและเครือญาติทางสามี


นายบอน ผู้เป็นสามีมีรกรากอยู่ที่บ้านเกาะ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร บรรพชนอพยพเข้าเมืองไทยในราวสมัยรัชกาลที่ ๒ และย้ายมาอยู่ย่านบ้านปากบ่อตรงปลายเขตแดนของตำบลเมื่อร้อยปีเศษที่ผ่านมา แต่สำหรับต้นตระกูลของเม้ยเผื่อนนั้น กว่าจะมาอยู่ย่านวัดน่วมกานนท์ หลังอพยพมาจากเมืองมอญได้ลงหลักปักฐานอยู่ในหลายแห่ง มีการแต่งงานกับคนมอญจากหมู่บ้านใกล้เคียงและห่างไกลอย่างค่อนข้างซับซ้อนในแต่ละชั่วอายุคนที่สัมพันธ์กันอย่างไม่น่าเชื่อ โดยที่ลูกหลานรุ่นปัจจุบันไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน แม้แต่เม้ยเผื่อนก็ยังพอจดจำได้บ้างจากสิ่งที่ได้รับการบอกเล่าเท่านั้น ดังนั้นลูกหลานรุ่นต่อไปก็อาจจะรู้เรื่องราวความเป็นมาของบรรพชนบางเบาลงไปทุกที อันเป็นธรรมดาของไพร่ปกติสามัญอย่างที่กล่าวกันว่า ชนชั้นไพร่นั้นจะรู้เรื่องสาแหรกของตนเองได้อย่างมากก็แค่ย้อนขึ้นไปไม่เกิน ๓ รุ่น และจะสามารถนับถัดไปจากตัวเองได้ไม่เกิน ๓ รุ่น เช่นเดียวกัน


ญาติทางแม่ของเม้ยเผื่อนมาจากบางด้วน จังหวัดเพชรบูรณ์ ภายหลังจากญาติที่ลงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางสมุทรสาครก่อนหน้าส่งข่าวขึ้นไปว่า ทางสมุทรสาครน้ำจืดสามารถทำนาทำสวนปลูกพืชผักได้แล้ว คุณตาของเม้ยเผื่อนจึงตั้งใจอพยพมายังสมุทรสาคร ใช้เส้นทางแม่น้ำป่าสัก ลัดเลาะเข้าคลองเล็กคลองน้อยมาออกแม่น้ำแควใหญ่ เมืองกาญจนบุรี ต่อด้วยแม่น้ำแม่กลอง แต่เกิดเปลี่ยนใจยังไม่ลงมายังสมุทรสาครในทันที กลับลงหลักปักฐานอยู่ที่ชุมชนมอญแถวโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในขณะที่ญาติๆ และเพื่อนบ้านอีกจำนวนมากยังคงอยู่ที่บางด้วน จังหวัดเพชรบูรณ์ เม้ยเผื่อนไม่เคยไปบางด้วน แต่ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยยังสาว เคยฝันไปว่าได้ไปหายายน้อย (น้องสาวของยาย) ที่บางด้วน จึงตั้งใจว่าจะไปหายายน้อยจริงๆ สักครั้งแต่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีโอกาส และก็เชื่อว่าคงจะสืบเสาะหาญาติค่อนข้างยาก เพราะมีเพียงเรื่องเล่าเพียงเลือนลาง รวมทั้งเม้ยเผื่อนไม่รู้นามสกุล เนื่องจากคนไทยเพิ่งมีนามสกุลใช้กันในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ นี้เอง


ไม่ปรากฏว่าตาของเม้ยเผื่อนอพยพจากโพธารามมาอยู่สมุทรสาครเมื่อใด แต่เม้ยเผื่อนยืนยันว่าตนและน้องอีกสองคนเกิดที่สมุทรสาคร โดยเม้ยเผื่อนเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตาของเม้ยเผื่อนอยู่อาศัยที่โพธารามระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๗๔ (ระยะเวลาการก่อตั้งโรงเรียนสอนศาสนาคริสต์ บ้านฝรั่งดงตาล จนถึงช่วงเวลาการเกิดของเม้ยเผื่อน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับชีวิตของเม้ยเผื่อน ดังจะได้เล่าต่อไปข้างหน้า) โดยที่พี่น้องของเม้ยสารภี (แม่ของเม้ยเผื่อน) ยังคงอยู่อาศัยที่โพธาราม เมื่อตาและยายของนางเผื่อนย้ายมาอยู่สมุทรสาคร ลูกๆ ของตายายเม้ยเผื่อนไม่ได้ย้ายตามมาทั้งหมด ส่วนพี่ชายคนโต (นายเทียบ) พี่สาวคนรอง (นางเรียบ) และพี่ชายคนถัดมา (นายเลื่อน) นั้นไม่แน่ใจว่ามาเกิดที่สมุทรสาครหรือโพธาราม เริ่มแรกตาของเม้ยเผื่อนมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณแยกคลองปากบ่อที่จะตัดไปยังวัดน่วมกานนท์ ตรงข้ามบ้านนายหุ่นเดี๋ยวนี้ (โคกยายจงขายของชำ) ก่อนจะย้ายไปอยู่หลังวัดน่วมกานนท์


ญาติทางพ่อของเม้ยเผื่อนมาจากบางกระเจ้า ตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร คาดว่าเป็นกลุ่มชาวมอญที่อพยพมาจากพระประแดงในสมัยรัชกาลที่ ๓ เนื่องจากรัชกาลที่ ๓ โปรดฯให้มาสร้างป้อมและขุดคลองสุนัขหอน เมื่อขุดคลองเสร็จแล้วชาวมอญกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งมีหน้าที่อยู่ดูแลป้อม บางส่วนได้ลงหลักปักฐานจับจองที่ดินบริเวณริมคลองดังกล่าวทำมาหากินสืบมาจนถึงทุกวันนี้


บรรพชนของเม้ยเผื่อนหนีพม่ามาจากเมืองมอญด้วยกัน๔ คน พี่น้อง หลังถึงเมืองไทยเกิดกระจัดกระจายหลงกันไปคนละทิศละทาง พี่ชายคนโต (จำชื่อไม่ได้) ได้ไปบวชพระ น้องชายคนถัดมา (จำชื่อไม่ได้) แต่งงานมีครอบครัวอยู่ละแวกเดียวกัน เม้ยหุ่น ยายของเม้ยเผื่อน เป็นน้องสาวคนที่สาม และน้องสาวคนสุดท้องชื่อ เม้ยแก้ว พี่น้องทั้ง ๔ คนมาได้พบกันอีกครั้งเมื่อน้องชายคนที่สองป่วยและไปหาพระที่วัดให้รักษาโรคจนได้พบกับพระพี่ชายซึ่งใช้คาถาอาคมและความรู้เรื่องสมุนไพรที่ติดตัวมาจากเมืองมอญรักษาคนป่วยทั่วไป ภายหลังเม้ยหุ่นแต่งงานกับตาของเม้ยเผื่อน (ไม่ทราบชื่อ) แล้วก็ย้ายมาอยู่โพธารามก่อนจะย้ายมาตั้งหลักแหล่งถาวรที่จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนเม้ยแก้ว และพี่ชายทั้งสองยังคงอยู่ที่บางด้วน จังหวัดเพชรบูรณ์


นางเผื่อนเล่าว่า ช่วงที่ตั้งบ้านเรือนอยู่โพธารามนั้น ตาของเม้ยเผื่อนมีลูกด้วยกันหลายคน จดจำชื่อไม่ได้หมด ที่จำได้ คือ เม้ยลูกจันท์ (ตั้งรกรากอยู่ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม มีลูกชื่อ นายถาวร เม้ยยี่สุ่น และนายคร) นายคำ เม้ยกำ เม้ยมาเรีย เม้ยสารภี (แม่ของเม้ยเผื่อน) นายเพิ่ม และนายเทียน (ลูกสาวนายเทียนชื่อ นี ลูกชายเม้ยนีชื่อ ดอน ปัจจุบันอยู่ที่บ้านชีผ้าขาว ตำบลท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร) ในย่านบ้านโป่งซึ่งเป็นเขตติดต่อกับโพธารามได้มีชาติตะวันตกมาตั้งโรงเรียนสอนศาสนาคริสต์ เรียกชื่อกันโดยสามัญว่า บ้านฝรั่งดงตาล (ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ที่ย่านวัดดอนกระเบื้อง ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง) ช่วงนั้นลูกหลานมอญเข้าเรียนในโรงเรียนฝรั่งกันหลายคนโดยเฉพาะครอบครัวที่มีฐานะยากจน รวมทั้งแม่และพี่สาวของแม่เม้ยเผื่อนด้วย ตาและยายทวดจึงให้ลูกสาว ๓ คน ได้แก่ เม้ยกำ เม้ยมาเรีย และเม้ยสารภี (แม่ของเม้ยเผื่อน) ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนดังกล่าว เม้ยกำและเม้ยมาเรียได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ ต่อมาได้สามีเป็นคริสต์ ย้ายไปอยู่ท่านา จังหวัดราชบุรี? และย้ายต่อไปอยู่ที่บางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม ขาดการติดต่อกันไป ส่วนเม้ยสารภีได้เรียนแค่ชั้นประถม ๒ จึงไม่ได้เปลี่ยนศาสนาอย่างพี่สาวทั้งสองคน


นายลิ กรังพาณิชย์ พ่อของเม้ยเผื่อน มีอาชีพค้าขายฟืนและถ่านไม้ ขึ้นล่องแม่น้ำท่าจีน แม่กลองและเจ้าพระยา ซึ่งมีรกรากมาจากมอญบางกระเจ้าดังที่กล่าวแล้ว นายลิเป็นลูกของทวดสุดกับเม้ยแงะ ซึ่งมีพี่น้องด้วยกัน ๕ คน ได้แก่ นายธรรม ดาราเย็น (เปลี่ยนนามสกุลเพราะขัดแย้งกันเรื่องมรดก มีลูกชายชื่อนายเยี่ยะฮ์ ดาราเย็น) นายงาม กรังพาณิชย์ นายเพียร กรังพาณิชย์ นายทองดี กรังพาณิชย์ และนายเมาะฮ์ กรังพาณิชย์ พี่น้องของนายลิส่วนใหญ่อยู่อาศัยที่บางกระเจ้าทั้งนั้น ยกเว้นครอบครัวของทวดสุดและเม้ยแงะที่ย้ายมาอยู่ย่านวัดน่วมกานนท์ ได้พบและแต่งงานกับเม้ยสารภี (แม่ของเม้ยเผื่อน) คาดว่าหลังแต่งงานแล้วเม้ยสารภีได้ย้ายมาอยู่ในหมู่บ้านของนายลิที่สมุทรสาคร

 


เม้ยเผื่อน ในงานรำผีมอญ ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2550


ปัจจุบันยังมีผู้ใช้นามสกุล กรังพาณิชย์ จำนวนหนึ่งย้ายครอบครัวขึ้นไปอยู่สมทบกับเครือญาติทางเม้ยสารภีที่โพธาราม จังหวัดราชบุรี


เส้นทางอพยพของตาเม้ยเผื่อนจากบางด้วน เพชรบูรณ์ ล่องเรือมาตามแม่น้ำป่าสัก ลัดเลาะเข้าคลองซอยจนถึงแม่น้ำแควใหญ่ กาญจนบุรี เข้าแม่น้ำแม่กลอง ผ่านราชบุรี กระทั่งถึงสมุทรสงคราม เข้าคลองสุนัขหอนที่เชื่อมแม่น้ำแม่กลอง สมุทรสงคราม กับแม่น้ำท่าจีนที่สมุทรสาคร จนไปตั้งบ้านเรือนอยู่ย่านวัดน่วมกานนท์ดังที่กล่าวแล้ว แม้ดูซับซ้อนเป็นไปได้ยากยิ่ง ต่างจากคนมอญครอบครัวอื่นที่มักมุ่งอพยพไปยังจุดที่ทางการไทยกำหนดหรือแหล่งที่มีเครือญาติอาศัยอยู่แล้วก่อนหน้า ความจริงข้อนี้อาจไม่สามารถบอกได้ว่าจริงเท็จเพียงใด เหตุเพราะเป็นแต่เรื่องเล่าจากความทรงจำของเม้ยเผื่อนเท่านั้น ยังต้องรอการพิสูจน์ด้วยการย้อนรอยสำรวจเส้นทางและเครือญาติที่ตกหล่นหลงเหลือ แต่เรื่องเล่าดังกล่าวนี้ ได้สะท้อนเรื่องราวของคนไทยเชื้อสายมอญครอบครัวหนึ่งที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนและมีการโยงใยทางระบบเครือญาติที่แตกสาขากว้างไกล แม้ระยะเวลาที่ผ่านมาจะไม่เคยได้รับการจดบันทึกเรื่องราวอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ทว่ายังคงชัดเจนในความทรงจำที่บ่งบอกรากเหง้าซึ่งได้รับการบอกเล่าจากรู่นสู่รุ่น แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล่าของของผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…