Skip to main content

เม้ยเผื่อน เล่าว่า ตนเองเกิดที่ย่านวัดน่วมกานนท์ ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับบ้านปากบ่อและอยู่ภายในตำบลเดียวกันและเป็นหมู่บ้านของสามีและเครือญาติทางสามี


นายบอน ผู้เป็นสามีมีรกรากอยู่ที่บ้านเกาะ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร บรรพชนอพยพเข้าเมืองไทยในราวสมัยรัชกาลที่ ๒ และย้ายมาอยู่ย่านบ้านปากบ่อตรงปลายเขตแดนของตำบลเมื่อร้อยปีเศษที่ผ่านมา แต่สำหรับต้นตระกูลของเม้ยเผื่อนนั้น กว่าจะมาอยู่ย่านวัดน่วมกานนท์ หลังอพยพมาจากเมืองมอญได้ลงหลักปักฐานอยู่ในหลายแห่ง มีการแต่งงานกับคนมอญจากหมู่บ้านใกล้เคียงและห่างไกลอย่างค่อนข้างซับซ้อนในแต่ละชั่วอายุคนที่สัมพันธ์กันอย่างไม่น่าเชื่อ โดยที่ลูกหลานรุ่นปัจจุบันไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน แม้แต่เม้ยเผื่อนก็ยังพอจดจำได้บ้างจากสิ่งที่ได้รับการบอกเล่าเท่านั้น ดังนั้นลูกหลานรุ่นต่อไปก็อาจจะรู้เรื่องราวความเป็นมาของบรรพชนบางเบาลงไปทุกที อันเป็นธรรมดาของไพร่ปกติสามัญอย่างที่กล่าวกันว่า ชนชั้นไพร่นั้นจะรู้เรื่องสาแหรกของตนเองได้อย่างมากก็แค่ย้อนขึ้นไปไม่เกิน ๓ รุ่น และจะสามารถนับถัดไปจากตัวเองได้ไม่เกิน ๓ รุ่น เช่นเดียวกัน


ญาติทางแม่ของเม้ยเผื่อนมาจากบางด้วน จังหวัดเพชรบูรณ์ ภายหลังจากญาติที่ลงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางสมุทรสาครก่อนหน้าส่งข่าวขึ้นไปว่า ทางสมุทรสาครน้ำจืดสามารถทำนาทำสวนปลูกพืชผักได้แล้ว คุณตาของเม้ยเผื่อนจึงตั้งใจอพยพมายังสมุทรสาคร ใช้เส้นทางแม่น้ำป่าสัก ลัดเลาะเข้าคลองเล็กคลองน้อยมาออกแม่น้ำแควใหญ่ เมืองกาญจนบุรี ต่อด้วยแม่น้ำแม่กลอง แต่เกิดเปลี่ยนใจยังไม่ลงมายังสมุทรสาครในทันที กลับลงหลักปักฐานอยู่ที่ชุมชนมอญแถวโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในขณะที่ญาติๆ และเพื่อนบ้านอีกจำนวนมากยังคงอยู่ที่บางด้วน จังหวัดเพชรบูรณ์ เม้ยเผื่อนไม่เคยไปบางด้วน แต่ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยยังสาว เคยฝันไปว่าได้ไปหายายน้อย (น้องสาวของยาย) ที่บางด้วน จึงตั้งใจว่าจะไปหายายน้อยจริงๆ สักครั้งแต่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีโอกาส และก็เชื่อว่าคงจะสืบเสาะหาญาติค่อนข้างยาก เพราะมีเพียงเรื่องเล่าเพียงเลือนลาง รวมทั้งเม้ยเผื่อนไม่รู้นามสกุล เนื่องจากคนไทยเพิ่งมีนามสกุลใช้กันในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ นี้เอง


ไม่ปรากฏว่าตาของเม้ยเผื่อนอพยพจากโพธารามมาอยู่สมุทรสาครเมื่อใด แต่เม้ยเผื่อนยืนยันว่าตนและน้องอีกสองคนเกิดที่สมุทรสาคร โดยเม้ยเผื่อนเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตาของเม้ยเผื่อนอยู่อาศัยที่โพธารามระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๗๔ (ระยะเวลาการก่อตั้งโรงเรียนสอนศาสนาคริสต์ บ้านฝรั่งดงตาล จนถึงช่วงเวลาการเกิดของเม้ยเผื่อน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับชีวิตของเม้ยเผื่อน ดังจะได้เล่าต่อไปข้างหน้า) โดยที่พี่น้องของเม้ยสารภี (แม่ของเม้ยเผื่อน) ยังคงอยู่อาศัยที่โพธาราม เมื่อตาและยายของนางเผื่อนย้ายมาอยู่สมุทรสาคร ลูกๆ ของตายายเม้ยเผื่อนไม่ได้ย้ายตามมาทั้งหมด ส่วนพี่ชายคนโต (นายเทียบ) พี่สาวคนรอง (นางเรียบ) และพี่ชายคนถัดมา (นายเลื่อน) นั้นไม่แน่ใจว่ามาเกิดที่สมุทรสาครหรือโพธาราม เริ่มแรกตาของเม้ยเผื่อนมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณแยกคลองปากบ่อที่จะตัดไปยังวัดน่วมกานนท์ ตรงข้ามบ้านนายหุ่นเดี๋ยวนี้ (โคกยายจงขายของชำ) ก่อนจะย้ายไปอยู่หลังวัดน่วมกานนท์


ญาติทางพ่อของเม้ยเผื่อนมาจากบางกระเจ้า ตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร คาดว่าเป็นกลุ่มชาวมอญที่อพยพมาจากพระประแดงในสมัยรัชกาลที่ ๓ เนื่องจากรัชกาลที่ ๓ โปรดฯให้มาสร้างป้อมและขุดคลองสุนัขหอน เมื่อขุดคลองเสร็จแล้วชาวมอญกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งมีหน้าที่อยู่ดูแลป้อม บางส่วนได้ลงหลักปักฐานจับจองที่ดินบริเวณริมคลองดังกล่าวทำมาหากินสืบมาจนถึงทุกวันนี้


บรรพชนของเม้ยเผื่อนหนีพม่ามาจากเมืองมอญด้วยกัน๔ คน พี่น้อง หลังถึงเมืองไทยเกิดกระจัดกระจายหลงกันไปคนละทิศละทาง พี่ชายคนโต (จำชื่อไม่ได้) ได้ไปบวชพระ น้องชายคนถัดมา (จำชื่อไม่ได้) แต่งงานมีครอบครัวอยู่ละแวกเดียวกัน เม้ยหุ่น ยายของเม้ยเผื่อน เป็นน้องสาวคนที่สาม และน้องสาวคนสุดท้องชื่อ เม้ยแก้ว พี่น้องทั้ง ๔ คนมาได้พบกันอีกครั้งเมื่อน้องชายคนที่สองป่วยและไปหาพระที่วัดให้รักษาโรคจนได้พบกับพระพี่ชายซึ่งใช้คาถาอาคมและความรู้เรื่องสมุนไพรที่ติดตัวมาจากเมืองมอญรักษาคนป่วยทั่วไป ภายหลังเม้ยหุ่นแต่งงานกับตาของเม้ยเผื่อน (ไม่ทราบชื่อ) แล้วก็ย้ายมาอยู่โพธารามก่อนจะย้ายมาตั้งหลักแหล่งถาวรที่จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนเม้ยแก้ว และพี่ชายทั้งสองยังคงอยู่ที่บางด้วน จังหวัดเพชรบูรณ์


นางเผื่อนเล่าว่า ช่วงที่ตั้งบ้านเรือนอยู่โพธารามนั้น ตาของเม้ยเผื่อนมีลูกด้วยกันหลายคน จดจำชื่อไม่ได้หมด ที่จำได้ คือ เม้ยลูกจันท์ (ตั้งรกรากอยู่ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม มีลูกชื่อ นายถาวร เม้ยยี่สุ่น และนายคร) นายคำ เม้ยกำ เม้ยมาเรีย เม้ยสารภี (แม่ของเม้ยเผื่อน) นายเพิ่ม และนายเทียน (ลูกสาวนายเทียนชื่อ นี ลูกชายเม้ยนีชื่อ ดอน ปัจจุบันอยู่ที่บ้านชีผ้าขาว ตำบลท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร) ในย่านบ้านโป่งซึ่งเป็นเขตติดต่อกับโพธารามได้มีชาติตะวันตกมาตั้งโรงเรียนสอนศาสนาคริสต์ เรียกชื่อกันโดยสามัญว่า บ้านฝรั่งดงตาล (ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ที่ย่านวัดดอนกระเบื้อง ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง) ช่วงนั้นลูกหลานมอญเข้าเรียนในโรงเรียนฝรั่งกันหลายคนโดยเฉพาะครอบครัวที่มีฐานะยากจน รวมทั้งแม่และพี่สาวของแม่เม้ยเผื่อนด้วย ตาและยายทวดจึงให้ลูกสาว ๓ คน ได้แก่ เม้ยกำ เม้ยมาเรีย และเม้ยสารภี (แม่ของเม้ยเผื่อน) ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนดังกล่าว เม้ยกำและเม้ยมาเรียได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ ต่อมาได้สามีเป็นคริสต์ ย้ายไปอยู่ท่านา จังหวัดราชบุรี? และย้ายต่อไปอยู่ที่บางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม ขาดการติดต่อกันไป ส่วนเม้ยสารภีได้เรียนแค่ชั้นประถม ๒ จึงไม่ได้เปลี่ยนศาสนาอย่างพี่สาวทั้งสองคน


นายลิ กรังพาณิชย์ พ่อของเม้ยเผื่อน มีอาชีพค้าขายฟืนและถ่านไม้ ขึ้นล่องแม่น้ำท่าจีน แม่กลองและเจ้าพระยา ซึ่งมีรกรากมาจากมอญบางกระเจ้าดังที่กล่าวแล้ว นายลิเป็นลูกของทวดสุดกับเม้ยแงะ ซึ่งมีพี่น้องด้วยกัน ๕ คน ได้แก่ นายธรรม ดาราเย็น (เปลี่ยนนามสกุลเพราะขัดแย้งกันเรื่องมรดก มีลูกชายชื่อนายเยี่ยะฮ์ ดาราเย็น) นายงาม กรังพาณิชย์ นายเพียร กรังพาณิชย์ นายทองดี กรังพาณิชย์ และนายเมาะฮ์ กรังพาณิชย์ พี่น้องของนายลิส่วนใหญ่อยู่อาศัยที่บางกระเจ้าทั้งนั้น ยกเว้นครอบครัวของทวดสุดและเม้ยแงะที่ย้ายมาอยู่ย่านวัดน่วมกานนท์ ได้พบและแต่งงานกับเม้ยสารภี (แม่ของเม้ยเผื่อน) คาดว่าหลังแต่งงานแล้วเม้ยสารภีได้ย้ายมาอยู่ในหมู่บ้านของนายลิที่สมุทรสาคร

 


เม้ยเผื่อน ในงานรำผีมอญ ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2550


ปัจจุบันยังมีผู้ใช้นามสกุล กรังพาณิชย์ จำนวนหนึ่งย้ายครอบครัวขึ้นไปอยู่สมทบกับเครือญาติทางเม้ยสารภีที่โพธาราม จังหวัดราชบุรี


เส้นทางอพยพของตาเม้ยเผื่อนจากบางด้วน เพชรบูรณ์ ล่องเรือมาตามแม่น้ำป่าสัก ลัดเลาะเข้าคลองซอยจนถึงแม่น้ำแควใหญ่ กาญจนบุรี เข้าแม่น้ำแม่กลอง ผ่านราชบุรี กระทั่งถึงสมุทรสงคราม เข้าคลองสุนัขหอนที่เชื่อมแม่น้ำแม่กลอง สมุทรสงคราม กับแม่น้ำท่าจีนที่สมุทรสาคร จนไปตั้งบ้านเรือนอยู่ย่านวัดน่วมกานนท์ดังที่กล่าวแล้ว แม้ดูซับซ้อนเป็นไปได้ยากยิ่ง ต่างจากคนมอญครอบครัวอื่นที่มักมุ่งอพยพไปยังจุดที่ทางการไทยกำหนดหรือแหล่งที่มีเครือญาติอาศัยอยู่แล้วก่อนหน้า ความจริงข้อนี้อาจไม่สามารถบอกได้ว่าจริงเท็จเพียงใด เหตุเพราะเป็นแต่เรื่องเล่าจากความทรงจำของเม้ยเผื่อนเท่านั้น ยังต้องรอการพิสูจน์ด้วยการย้อนรอยสำรวจเส้นทางและเครือญาติที่ตกหล่นหลงเหลือ แต่เรื่องเล่าดังกล่าวนี้ ได้สะท้อนเรื่องราวของคนไทยเชื้อสายมอญครอบครัวหนึ่งที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนและมีการโยงใยทางระบบเครือญาติที่แตกสาขากว้างไกล แม้ระยะเวลาที่ผ่านมาจะไม่เคยได้รับการจดบันทึกเรื่องราวอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ทว่ายังคงชัดเจนในความทรงจำที่บ่งบอกรากเหง้าซึ่งได้รับการบอกเล่าจากรู่นสู่รุ่น แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล่าของของผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…