Skip to main content
ผมหยิบงานที่ผมเขียนถึง ‘พ้อเลป่า' ปราชญ์ปกากะญอขึ้นมาอ่านอีกครั้ง หลังทราบข่าวจาก หญ้าน้ำ ทุ่งขุนหลวง' ว่า พ้อเลป่า' เสียชีวิตอย่างสงบแล้วเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา... ก่อนที่ผมและเพื่อนกำลังออกเดินทางไปบนทางสายเก่า สายนั้น...



ที่มาภาพ
: www.thaioctober.com/forum/index.php?topic=308.105

1.

ก่อนนั้น การเดินทางของผู้คนบนภูเขานั้นต้องเดินด้วยเท้า ก้าวย่างไปบนถนนดิน เส้นทางป่าอย่างเงียบง่าย มิรีบเร่ง มิรีบร้อน ไปมาหาสู่กันในหมู่ญาติพี่น้อง เอาของป่าไปขายในเมือง และกลับคืนมาสู่หมู่บ้านกลางป่าพร้อมของใช้ที่จำเป็นบางอย่าง

ทว่ามาบัดนี้เดี๋ยวนี้ บางสิ่งเริ่มแปลกเปลี่ยนไป เมื่อมีการสร้างถนนคอนกรีต ถนนลาดยางสีดำคล้ายดั่งงูใหญ่ที่เลื้อยลัดเลาะจากเมืองเบื้องล่างหันหน้าข้ามหุบห้วยขุนเขา ดงป่ามาถึงหมู่บ้านชนเผ่าพื้นเมืองบนภูเขา แล้วเหมือนมีบางอย่างเข้าทำลายและกลืนกินทุกสรรพสิ่ง

ใช่, มันพร้อมกับความเปลี่ยน ความโลภและความเร็ว!

เมื่อหลายเดือนก่อน, ผมและผองเพื่อนอีกห้าชีวิต มีโอกาสได้เดินทางไปเยือนรังผู้เฒ่าปกากะญอ "พ้อเลป่า" ณ หมู่บ้านแม่แฮใต้ บนดอยสูงในเขตอำเภอแม่แจ่ม เชียงใหม่

นาม "พ้อเลป่า" นั้นหลายรู้จักมักคุ้นกันดี ว่าคือผู้เฒ่านักเขียนปกากะญอผู้ซึ่งครั้งหนึ่ง เคยใช้ถ่านไม้สีดำข้างเตาไฟ นำมาขีดเขียนบนฝากระดานไม้ ด้วยตัวหนังสือ ปกากะญอที่คิดค้นกันมาในภายหลัง ก่อนที่ วีรศักดิ์-กัลยา ยอดระบำ' นำมาถ่ายทอดแปลเป็นภาษาไทยให้เราได้อ่านได้เรียนถึงคมความคิด วิถีปรัชญาปกากะญอว่าแหลมคมและสอดคล้องสัมพันธ์ กับวิถีธรรมชาติและโลกนี้เพียงใด

หากทว่า พ้อเลป่า ในห้วงวัยชรายามนี้ ไม่อาจนั่งขีดเขียนได้เหมือนเก่าก่อน เพราะสังขารและความชราโรยนั้นเข้ามาเยี่ยมเยือนชีวิต

"สายตาบ่ค่อยดีแล้ว เพ่งผ่อเมินบ่ได้ น้ำตามันจะไหล" พ่อเฒ่ากับเราในยามเย็นย่ำของชีวิต
แต่นั่นไม่เป็นสำคัญมากนัก เมื่อขีดเขียนหนังสือไม่ได้ แต่การนั่งพูดคุย สนทนากัน แล้วมีคนนำไปเขียนบันทึกเรื่องราวเก็บไว้มันย่อมมีคุณค่าอยู่ในตัวหนังสือ

"เป็นเขียนหนังสือแม่นก่อ เขียนต่อไปนะอย่าหยุด ผมจะบอกกับนักเขียนที่มาเยี่ยมเยือนเสมอว่า ถึงตายไป แต่หนังสือนั้นยังพูดได้ ตัวหนังสือไม่มีวันตาย" พ้อเลป่าเอ่ยย้ำอยู่อย่างนั้น
ทำให้ผมอดครุ่นคิดคำนึงไปถึงนักเขียนอาวุโสอีกท่านหนึ่ง ซึ่งความป่วยไข้เข้ารุมเร้าชีวิต จนครั้งนั้น ท่านไม่สามารถจับดินสอ ปากกา ขีดเขียนเป็นตัวหนังสือได้ ทว่าหัวใจนั้นยังแกร่งและเปี่ยมศักดิ์ศรีแห่งนักเขียน ไม่ยอมแพ้ แม้มีนักเขียนคนหนึ่ง เคยเอ่ยกับท่านว่า ช่วยบอกเล่าด้วยคำพูดแล้วเขาจะช่วยจดบันทึก ลงในกระดาษให้ หากนักเขียนอาวุโสคนนี้กลับแกร่ง มิยอมจำนน นานนัก- -กับการพยายามอดทนต่อสู้กับความป่วยไข้ ที่สุด ท่านก็กลับมาขีดเขียนหนังสือได้- -ดุจอินทรีผู้กางปีกกล้าบินอยู่เหนือดอยสูงอีกครั้ง

อากาศหนาวห้วงนั้น แปรปรวนเปลี่ยนไปไม่เหมือนแต่ก่อน เมื่อวานฝนตกกระหน่ำ หนักหน่วง วันนี้อาการจึงร้อนอบอ้าวมากยิ่งขึ้น

"ผมว่าที่โลกร้อนนั้น อาจเป็นเพราะโลกเฮา เมืองเฮามีถนนปูนเพิ่มมากขึ้น"พ่อเฒ่าเอ่ยรำพึงกับเรา เมื่อหลายคนบ่นถึงธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม

อาจจริง- -อย่างพ่อเฒ่าพ้อเลป่าพูดถึง ถนนปูน ถนนคอนกรีตนั้นเหมือนอยากสื่อความหมายถึง การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง จึงทำให้โลกเปลี่ยน ธรรมชาติเปลี่ยน เช่นทุกวันนี้!


บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
        ผมมองเห็นพลังในตัวผู้ชายคนนี้ ตั้งแต่เขาเปิดประตูลงจากรถ หลังจากเรายืนทักทายกัน เขาเอื้อมไปหยิบกล้องถ่ายรูปขนาดกะทัดรัดที่วางบนเบาะหน้ารถ มากดเก็บภาพหลายมุมรอบๆ สวนและบ้านปีกไม้ ในขณะที่ผมกำลังถือไม้กวาดทางมะพร้าวกวาดใบสักแห้งหล่นกองเต็มลานดินรอบโคนต้น ผมหอบใส่ตะกร้าไม้ไผ่ยัดๆ ไปเทไว้หลังบ้าน ตั้งใจไว้ว่าเมื่อเก็บเศษใบไม้ใบหญ้าได้มากพอ จะทำปุ๋ยหมักเก็บไว้ พอหันไปมองเขาอีกที ผมเห็นเขาจัดแจงลงมือทำในสิ่งที่รักและชอบเรียบร้อยแล้ว เขานั่งหลบมุมอยู่ระหว่างโรงรถกับต้นตะขบที่แผ่กิ่งก้านให้ร่มเงา ข้างกายเขามีอุปกรณ์เขียนรูป กระดาษ กระดาน จาน สีน้ำ พู่กัน น้ำ…
ภู เชียงดาว
    เมื่อเอ่ยชื่อ...คนมากมายต่างรู้จักเขา… จริงสิ, ใครต่อใครบอกไว้ว่า เขากลายเป็นตัวแทนของคนหนุ่มสาว ของความรัก ความหวัง และความฝันของใครหลายคน กระทั่งมีคนให้สมญานามแด่เขา ‘เจ้าชายโรแมนติก’
ภู เชียงดาว
  กี่ครั้งที่เราทุกข์ กี่ครั้งที่เราล้ม กี่ครั้งที่เราจม อยู่ในท้องทะเลน้ำตา…
ภู เชียงดาว
ที่มาภาพ : www.oknation.net/blog/fontree/2008/08/20/     อีกคืนค่ำ,ผมถวิลหาคำปลอบโยนของอา “เป็นไงบ้าง อยู่ได้ไหม...ชีวิต” นั่นคือถ้อยคำของอาเคยไถ่ถาม น้ำเสียงยังกังวานหากอุ่นอ่อนโยน อาเหมือนดอกไม้กลางป่าอวลกลิ่นหอม อาคงรับรู้ว่างานข่าว งานเขียน มันยากหนักเพียงใด “ที่ถามเพราะอาเคยผ่านจุดนั้นมาก่อน...” ผมได้แต่พยักหน้าบอกไป “อยู่ได้ครับอา...” ในขณะหัวใจผมตื้นตันในถ้อยคำห่วงใยนั้น
ภู เชียงดาว
ใกล้สิ้นปีทีไร เชื่อว่าหลายคนคงแอบบ่นกับตัวเองอยู่เงียบๆ ลำพัง “ชีวิตเราเดินทางมาไกลจังเลย” “ทำไมมันถึงหนักหนาสาหัสอย่างนี้” “แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป...” “สิ่งไหนเล่าที่เราต้องการ...” “แล้วอะไรคือความสุขที่แท้จริง...”
ภู เชียงดาว
เหน็บหนาวใช่ไหมหัวใจเจ้า             โศกเศร้าใช่ไหมหัวใจหวัง ยามสายลมเลาะภูรับรู้-ดัง               แว่วฟังเหมือนดั่งเพลงร้าวราน ใครบางคนสับสน บ่นถึงเจ้า   ไยวิถีจึงเหน็บหนาวแตกร้าวฉาน ไม่มีแล้วหรือ...จิตวิญญาณ                                        …
ภู เชียงดาว
        ที่มาภาพ : โอ ไม้จัตวา http://blogazine.prachatai.com/user/omaijattava/post/2171
ภู เชียงดาว
ยามหมอกขาวห่มคลุมดอย และลมหนาวพัดมาเยือนเมืองเหนือคราใด ทำให้ผมอดครุ่นคำนึงถึงวิถีเก่าๆ เมื่อครั้งเที่ยวท่องไปตามภูเขา ทุ่งไร่ สายน้ำ และชุมชนของพี่น้องชนเผ่านั้นไม่ได้ แน่ละ ในเส้นทางที่ย่ำไปนั้น มักเจอทั้งเรื่องราวมากมายให้เรียนรู้ พานพบ และหยุดทบทวนดูภาพผ่านในบางสิ่ง และละทิ้งภาพผ่านในบางอย่าง แต่โดยรวมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทุกข์สุข สดชื่นรื่นรมย์ หรือปวดปร่าในห้วงลึก เราไม่อาจเกลี่ยทิ้งไปได้ เพราะนั่นล้วนคือวิถีแห่งความจริงทั้งสิ้น...