Skip to main content

เพื่อนฝูงหลายคนหัวเราะแกมสมเพชที่ผมอยู่บอสตันในยามหนาวเหน็บอย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะพายุหิมะที่พัดผ่านมาให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้กองหิมะนับเดือน

ครั้งแรกพายุหิมะยูโน (Juno) มาเมื่อเมื่อ 26-28 มกราคม แต่ส่งผลกระทบคือกองหิมะท่วมรถราที่จอดข้างถนนและท้องถนนของเมือง การจราจรเป็นอัมพาต แม้รถไฟใต้ดินก็ยังได้รับผลกระทบ

เมื่อวันอาทิตย์ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาก็มีพายุหิมะเข้ามาอีกลูกหนึ่ง คราวนี้หิมะตกหนากว่าสองฟุต ที่ร้ายกว่านั่น ผมต้องลงมาโกยหิมะเองเป็นครั้งแรก เพราะเจ้าของบ้านพาลูกเมียและหมาหนีหนาวไป เขาเลยฝากบ้านไว้ และผมเองไม่รังเกียจอะไรที่จะลองโกยหิมะดู

การผ่านมาของพายุหิมะทำให้ต้องหยุดเรียนและกิจกรรมต่างๆ ปกติที่ผมไปทำงานช่วงสายถึงเย็นในห้องสมุดก็ต้องยกเลิกโดยปริยาย ที่สำคัญค่าไฟฟ้านั้นคงไม่ลดลงไปมาก แม้จะพยายามประหยัดก็ตาม

พายุหิมะที่ตกมานั้นสวยงาม เป็นปุยนุ่น แต่เมื่อยามมันสะสมมากๆ เข้า มันคือภัยธรรมชาติ และจัดการยาก

ล่าสุดเมืองบอสตันประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อจัดการกับหิมะกองเบ้อเร่อ และนี่คือข้อเท็จจริงที่มาจากสื่อ

 

1. ปริมาณหิมะที่เมืองบอสตันขนย้ายขณะนี้เทียบเท่ากับปริมาตรของสนามฟุตบอล Gillette ถึง 72 สนาม

2. ปริมาณหิมะสะสมขณะนี้น่าจะราวๆ หกฟุต เกือบเท่าความสูงของนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลคนดังของที่นี่

3. เมืองบอสตันใช้เวลากว่า 112,881ชั่วโมงในการขนย้ายหิมะ นับถึงวันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์

4. เมืองบอสตันใช้เครื่องกำจัดหิมะละลายได้ราว 350 ตันต่อชั่วโมง

5. เมืองใช้รถบรรทุกขนหิมะกว่า 6000 เที่ยว

6. ใช้เกลือ 57500 ตัน เพื่อป้องกันถนนลื่น หรือเทียบน้ำหนักเท่ากับช้าง 8200 ตัว

7. บริษัทซ่อมหลังคาถูกโทรตามกว่า 300 ครั้ง เฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา 

8. รถเก็บกวาดหิมะในเมืองวิ่งรวมกันกว่า 210,000 ไมล์ หรือ 52 เท่าของแม่น้ำอเมซอนที่ยาวราว 4,000 ไมล์

9. เด็กๆ หยุดเรียนมาแล้ว 9 วัน

(รายละเอียดเพิ่มเติม ดู http://abcnews.go.com/US/boston-snow-storm-facts-show-citys-dealing/story?id=28840524)

 

วันก่อนคุยกับเพื่อนเก่าบางคนเธอคงอดเหน็บแนมผมไม่ได้ว่าเขาให้มาเรียนหนังสือทำวิจัย

แต่ผมยังจำคำอาจารย์ท่านหนึ่งที่บอกว่า บัณฑิต อย่ามาเรียนแต่หนังสือ เรียนเรื่องอื่นด้วย

เรื่องหิมะ จึงไม่ใช่แค่เรื่องที่ว่าติดอยู่หิมะแล้วไปไหนมาไหนไม่ได้

แต่มันหมายถึงเรียนรู้การใช้ชีวิตอีกแบบหนึ่ง 

ใครว่าอยู่เมืองนอกสบาย?

 

 

 

 

 

 

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เพื่อนถามว่ารถไฟแบบเก่าไม่ดีตรงไหน คนเราเจริญแต่วัตถุ ควรให้ความสำคัญกับจิตใจ ตอบคำถามเพื่อนไปแล้วอยากแชร์กับท่านอื่นๆ นะครับ ขอโทษเพื่อนอีกทีถ้าทำให้กระอักกระอ่วนใจ แต่อยากจะเล่าแบ่งปันกับคนอื่นๆ ด้วย เรื่องรถไฟรางคู่ หรือความเร็วสูงนั้น ที
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
(ข้อความต่อไปนี้มาจากรายงานวิจัยเรื่องชีวประวัติรัฐธรรมนูญและธรรมนูญแห่งรา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
นัยสำคัญของการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งคือการปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยด้วยเป็นการดึงดันต่อประกาศพระราชกฤษฎีกาในการเลือกตั้งเตรียมการถอยหลังย้อนทวนเข็มนาฬิกาของพรรคการเมืองที่แพ้การเลือกตั้งมาโดยตลอดเล่ห์กลตื้นๆ แบบนี้ อาจเป็นเส้นผมบังภูเขา เป็นหลุมพรางก่อนจะ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คนดีไปไหนหนอ? ถ้ายังจำกันได้เมื่อ พ.ศ.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ขอทบทวน political literacy เกี่ยวกับศาลอาญาและศาลรัฐธรรมน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันมานี้ผมหมกมุ่นกับเรื่องนิรโทษกรรมจนลืมไปว่าคนจำนวนมาก "ข้าม" เรื่องนิรโทษกรรมไป "ล้มรัฐบาล" กันแล้ว
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เวลานี้ใครไม่ออกมาพูดเรื่องนิรโทษกรรมก็จะกลายเป็นเชยล้าสมัย ผมอยากให้ลองดูประวัติศาสตร์นิดหน่อยครับไม่อยากพูดมากเลยเอารูปมาแปะเลยนะครับ ภาพเหล่านี้มาจากหนังสือเล่มนี้ครับ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สมัยที่ทำหน้าที่อนุกรรมการตรวจสอบความจริงกรณีเผากรุงเทพ 34 จุดนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่หรือ กทม.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าเรื่องนิรโทษกรรมคืออะไร ผมต้องบอกว่าดีใจมากที่คนไทยสนใจการเมืองมาก ทั้งสองสีเสื้อ และน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันก่อนได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนร่วมวิชาชีพจากหลายสถาบัน เราคุยกันถึงประเด็นที่ว่าแนวคิดบริหารรัฐกิจและการศึกษาที่หยิบเอาแนวทางการบริหารจากภาคเอกชนมาใช้ ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติ ในบางแห่งบรรจุภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ไว้ในคณะวิทยาการจัดการ บางสถาบันยกระดับให้เป็น "คณะ" บางแห่งยกฐานะเท่าเทีย
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 มีข่าวว่าอดีตผู้นำนักศึกษารุ่น 14 ตุลาคม 2516 ระดมกำลังตั้งกลุ่มกระทิงแดงและรวมตัวที่กองบัญชาการ 103 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.56 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความทรงจำอันพร่าเลือนของคนเหล่านี้จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เมื่อเกือบ 40 ปีมาแล้ว