Skip to main content

จากลิงค์และพาดหัวข่าวต่อไปนี้

"ก๊วนพิทักษ์เจียม" รวมตัวค้านคำสั่งไล่สมศักดิ์ -จุดเทียนประกาศศักดา อ.ข้าใครอย่าแตะ

 

http://politic.tnews.co.th/content/130982/

มีคำยืนยันจากนักข่าวมติชนว่าเนื้อข่าวนั้นเหมือนกับเนื้อข่าวของมติชน แต่พาดหัวข่าวนั้น คนละเรื่อง คนละแนวทางเลย

แม้จะไม่ค่อยหวังอะไรอยู่แล้วจากสื่อ "เลือกข้าง" 

แต่ผมเห็นว่าน่าผิดหวังและเศร้าใจสำหรับการทำงานของสื่อมวลชนที่ไม่มีความรับผิดชอบเอาเสียเลย

กรณีนี้ได้ข่าวชัดเจนจากผู้สื่อข่าวมติชนว่าเนื้อข่าวนั้นใช้วิธีคัดลอกข่าวจากมติชนทั้งหมด แต่หัวข่าวนั้น พาดหัวราวกับว่าบรรดาคณาจารย์ ปัญญาชนและนักศึกษาเป็น "ก๊วน" ที่ไปก่อกวน ปิดถนนเป็นเดือนๆ และทั้งๆ ที่การจุดเทียน ก็เป็นการเคลื่อนไหวอย่างสงบสันติอหิงสากว่าพวกป๊อปคอร์นเป็นไหนๆ หรือดีกว่าพระที่ต้องมีคนเดินถือปืนไปถวายสังฆทาน เด็กๆ นักศึกษาก็ยังถูกกระแนะกระแหนว่าเป็นการประกาศศักดา 

การพาดหัวข่าวแบบนี้ ชี้ให้เห็นว่าไม่ใช่มืออาชีพและสะท้อนให้เห็นถึงความไร้จรรยาบรรณอย่างสิ้นเชิง

 
ขอเรียนว่าบรรดานักวิชาการทั้งหลายและเพื่อนฝูงที่ทำงานวิชาการ ตลอดจนปัญญาชนและนักศึกษาที่ร่วมลงชื่อ ไม่ใช่คนไม่มีที่ทางหรือจุดยืนทางสังคม จำนวนไม่น้อยไม่เห็นด้วยกับ อ. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และมีวิวาทะกันมาไม่มากก็น้อย 
 
แต่ในทางหลักการคุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการ ที่เป็นหลักสำคัญของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาชั้นสูงในโลก ต่างถือว่าเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลง ก้าวหน้าและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมที่มีวิกฤตการณ์ทางสังคมอย่างประเทศไทย
 
การกลั่นแกล้งไม่ให้ลากิจ ลาออก หรือลาเพิ่มพูนความรู้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็น "สิทธิ" ของนักวิชาการในสถานศึกษาชั้นสูง การไม่ให้ลาออกแล้วเอาโทษทางวินัยมาใช้บังคับกันอย่างแข็งขันนั้น ไม่ถูกต้องและเป็นเรื่องสำคัญที่พวกเราออกมาลงชื่อและต่อต้านกัน เป็นเหตุผลแรก
 
เหตุผลที่สองก็คือ กระบวนการยุติธรรมขณะนี้ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ปกติ หลังจากกล่าวหากรณี 112 ดร. สมศักดิ์ไม่ได้ลี้หนีหน้าไปไหน จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร และมีการเรียกบุคคลเข้ารายงานตัว คนที่โดนคดี 112 หลังรัฐประหาร ก็ต้องขึ้นศาลทหารที่ไม่มีโอกาสอุทธรณ์ หรือเข้าสู่ฎีกาได้เลย 
 
ผมเห็นว่าการเลือกออกจากประเทศไทยก็เป็นทางเลือกหนึ่ง และเป็นเรื่องที่ต้องคิด
 
การใช้ศาลทหารกับพลเรือน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ยามศึกสงครามจะมีเหตุผลอะไรอีกที่จะอธิบายให้ชาวโลกเข้าใจได้
รัฐบาลเองก็ต้องรู้จักขบคิด ว่าทำอย่างไรจะทำให้สังคมโลกไม่ประณามหยามเหยียดสังคมไทยว่าล้าหลัง และรู้จักสักการะสถาบันอันสำคัญอย่างเหมาะสมและยืนยาว
 
ในสถานการณ์ปกติ ที่ศาลยุติธรรมยังเป็นกระบวนการปกติ ผมเขื่ออย่างสุจริตใจว่า ดร. สมศักดิ์คงไม่หนีไปจากสังคมไทย
 
ทั้งสองเหตุผลนี้ คงเพียงพอต่อการที่นักวิชาการ ปัญญาชน นักศึกษา จะออกมาเรียกร้องให้ผู้บริหารทุกมหาวิทยาลัย ทุกสถาบันการศึกษาได้ทบทวนว่า มหาวิทยาลัยมีไว้เพื่ออะไร
 
ในยามวิกฤต ย่อมไม่มีอะไรีดีไปกว่าการได้ศึกษา พูดคุย วิเคราะห์ หาทางแก้ปัญหากันอย่างรอบด้าน เพื่อหาทางคลี่คลาย ไม่ใช่การกดขี่ ห้ามแสดงความเห็นกันอย่างที่เป็นอยู่
 
สื่อประเภทนี้ก็ควรต้องตักน้ำใส่กระโหลก ว่าทำอะไรให้กับวิกฤตสังคม และมีส่วนสร้างความเกลียดชังเพิ่มมากขึ้นหรือไม่
 
แทนที่จะให้สติ กลับสาดสี สาดโคลนกันอย่างไม่หยุดยั้ง
 
หรือที่ผ่านมาในช่วงหลายปีนี้ ยังเสียชีวิตบาดเจ็บล้มตายไม่พอกันอีก
 
 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เพื่อนถามว่ารถไฟแบบเก่าไม่ดีตรงไหน คนเราเจริญแต่วัตถุ ควรให้ความสำคัญกับจิตใจ ตอบคำถามเพื่อนไปแล้วอยากแชร์กับท่านอื่นๆ นะครับ ขอโทษเพื่อนอีกทีถ้าทำให้กระอักกระอ่วนใจ แต่อยากจะเล่าแบ่งปันกับคนอื่นๆ ด้วย เรื่องรถไฟรางคู่ หรือความเร็วสูงนั้น ที
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
(ข้อความต่อไปนี้มาจากรายงานวิจัยเรื่องชีวประวัติรัฐธรรมนูญและธรรมนูญแห่งรา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
นัยสำคัญของการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งคือการปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยด้วยเป็นการดึงดันต่อประกาศพระราชกฤษฎีกาในการเลือกตั้งเตรียมการถอยหลังย้อนทวนเข็มนาฬิกาของพรรคการเมืองที่แพ้การเลือกตั้งมาโดยตลอดเล่ห์กลตื้นๆ แบบนี้ อาจเป็นเส้นผมบังภูเขา เป็นหลุมพรางก่อนจะ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คนดีไปไหนหนอ? ถ้ายังจำกันได้เมื่อ พ.ศ.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ขอทบทวน political literacy เกี่ยวกับศาลอาญาและศาลรัฐธรรมน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันมานี้ผมหมกมุ่นกับเรื่องนิรโทษกรรมจนลืมไปว่าคนจำนวนมาก "ข้าม" เรื่องนิรโทษกรรมไป "ล้มรัฐบาล" กันแล้ว
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เวลานี้ใครไม่ออกมาพูดเรื่องนิรโทษกรรมก็จะกลายเป็นเชยล้าสมัย ผมอยากให้ลองดูประวัติศาสตร์นิดหน่อยครับไม่อยากพูดมากเลยเอารูปมาแปะเลยนะครับ ภาพเหล่านี้มาจากหนังสือเล่มนี้ครับ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สมัยที่ทำหน้าที่อนุกรรมการตรวจสอบความจริงกรณีเผากรุงเทพ 34 จุดนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่หรือ กทม.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าเรื่องนิรโทษกรรมคืออะไร ผมต้องบอกว่าดีใจมากที่คนไทยสนใจการเมืองมาก ทั้งสองสีเสื้อ และน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันก่อนได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนร่วมวิชาชีพจากหลายสถาบัน เราคุยกันถึงประเด็นที่ว่าแนวคิดบริหารรัฐกิจและการศึกษาที่หยิบเอาแนวทางการบริหารจากภาคเอกชนมาใช้ ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติ ในบางแห่งบรรจุภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ไว้ในคณะวิทยาการจัดการ บางสถาบันยกระดับให้เป็น "คณะ" บางแห่งยกฐานะเท่าเทีย
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 มีข่าวว่าอดีตผู้นำนักศึกษารุ่น 14 ตุลาคม 2516 ระดมกำลังตั้งกลุ่มกระทิงแดงและรวมตัวที่กองบัญชาการ 103 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.56 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความทรงจำอันพร่าเลือนของคนเหล่านี้จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เมื่อเกือบ 40 ปีมาแล้ว