วันก่อนผมให้สัมภาษณ์กับรายการทีวีรายการหนึ่งซึ่งพาดหัวข่าวอาจจะแรงไปบ้างนะครับ ผมมีความเห็นต่อเรื่องการแต่งตั้งเครือญาติมานั่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยปฏิบัติงานดังนี้นะครับ
1. การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยผู้ปฏิบัติงานสมัยก่อน มีข้อครหาเยอะมาก เช่น เอาหัวคะแนน มือปืน คนขับรถ เมียน้อยมารับเงินเดือน หลังรัฐธรรมนูญ 2540 จึงมีระเบียบให้แต่งตั้งโดยต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น ผู้เชี่ยวชาญต้องอายุเไม่ต่ำกว่า 35 ปี จบปริญญาโท และเคยทำงานมาบ้าง ส่วนผู้ช่วยฯ ก็จบปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยสมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติได้สะดวก เช่น ติดตามร่างกฎหมาย ทำสรุปกฎหมาย หรือหลักการพิจารณาในวาระต่างๆ ให้สมาชิกรัฐสภา ดังนั้นจะต้องส่งไปอบรมอีกด้วย เพื่อให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา
2. การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญจากเครือญาติทำได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้ แต่ไม่เหมาะสม เพราะหลักการของผลประโยชน์ที่ขัดกัน โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ควรเป็นผู้มีความรู้ความสามรถประจักษ์ชัด การแต่งตั้งคนในวงศาคณาญาติ ย่อมทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาในการทำหน้าที่โดยอิสระและตามแบบมืออาชีพที่ไม่เอาประโยชน์ส่วนตัวมาผูกพันกับเงินภาษีประชาชน
3. คำถามสุดท้ายง่ายๆ ก็คือ มีผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าญาติ พี่น้องหรือไม่ การเอาลูกที่ยังเรียนไม่จบ หรือบุคคลที่พำนักในต่างประเทศแล้วรับเงินเดือนจากภาษีประชาชนนั้น เหมาะสมหรือไม่ เท่ากับว่าพวกเขาได้ทั้งเงินและเกียรติยศ โดยไม่ต้องผ่านการคัดสรรใดๆ มิพักต้องกล่าวถึงการทดสอบคุณสมบัติในการทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกรัฐสภา หากปฏิบัติหน้าที่ครบวาระ ย่อมเป็นเกียรติยศ ด้วยสามารถขอพระราชทานเครื่องราชย์อิสริยภรณ์เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งตามที่ได้กล่าวมานั้น ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งและสุจริตใจว่ามีบุคลากรในกองทัพมากมาย ในกรม กระทรวง ต่างๆ ที่สามารถทำหน้าที่อย่างมืออาชีพและมีประสิทธิภาพมากกว่าแน่ๆ
คำถามคือทำไมยังกล้าแต่งตั้งวงศาคณาญาติ โดยที่เคยวิพากษ์นักการเมืองอย่างรุนแรงว่าเป็นสภาผัวเมีย ล้มรัฐบาล ฉีกรัฐธรรมนูญ วิพากษ์นักการเมืองเรื่องนอมินี ผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆ นาๆ ถึงคราวที่ตัวเองได้มืออำนาจในมือ กลับทำให้มาตรฐานต่ำลง
กรณีแบบเดียวกันนี้อาจเทียบเคียงกับรัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ ที่กระทรวงต่างประเทศรับเอาลูกสาวของเขาเข้าทำงานโดยยอม "ละเว้น" กฎบางอย่าง ทำให้ได้ตำแหน่งในกระทรวง พฤติการณ์ก็คือลูกสาวของเขาสมัครงานในตำแหน่งเกี่ยวกับการเจรจาการค้าเสรี มีผู้สมัครแปดคน รวมทั้งเธอ แต่ทุกคนถูกปฏิเสธ เธอมาสมัครทีหลังอีกรอบ โดยมีประกาศนียบัตรภาษาต่างประเทศ และกระทรวงการต่างประเทศรับเธอเข้าทำงานทันที เมื่อข่าวถึงสาธารณชน ส่งผลให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนต้องเสนอว่าจะลาออก และในที่สุดเขาก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบ (http://www.nytimes.com/2010/09/05/world/asia/05korea.html?_r=0)
เรื่องแบบนี้ต้องเขียนในรัฐธรรมนูญหรือไม่?
เขียนไม่เขียน คงไม่สำคัญ เพราะมันควรจะเป็นจารีตรัฐธรรมนูญที่สังคมกดดันด้วยพลังทางจริยธรรม
หรือจะเขียนออกมา ก็ไม่สำคัญ เพราะก็คงถูกฉีกในไม่ช้า
เอาเข้าจริงๆ ตัวอักษรที่เรียกว่ากฎหมาย ต่างมีช่องว่างตาข่ายเล็กๆ ให้ผู้มีอำนาจได้ตีความตามอำเภอใจเสมอ เราจึงได้เห็นแต่แม่ปู เดินขาเกให้เห็นเป็นตัวอย่าง แล้วมีแต่ "ผู้ใหญ่" มาปกป้อง "ลูกแหง่" ที่อาศัยใบบุญ ข้ามหัวคนแบบนี้เรื่อยไป
ไม่ผิดกฎหมาย แต่สามัญสำนึกเล่า?
บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
วันนี้ (31 พฤษภาคม) เป็นวันที่ 17 นับจากวันเลือกตั้งจบลง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีเวลาเหลืออีก กว่า 43 วัน ที่จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างน้อย ร้อยละ 95 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตและบัญชีรายชื่อ เพื่อให่้ระบอบการเมืองเดินไปอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดต
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ช่วงที่พ่อแม่มาอยู่ด้วย ผมจะพาพ่อแม่ไปเที่ยวใกล้บ้าง ไกลบ้าง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง เพราะการพาคนแก่มาอยู่เมืองที่ไม่มีเพื่อนฝูงที่สนิทกันคงไม่ใช่เรื่องสนุกอาทิตย์ก่อนก็ขับออกไปพุทธมลฑลแล้วไปพระปฐมเจดีย์ วกออกไปทางบ้านแพ้ว ออกมาพระรามสอง ก็เจอรถติดยาว ในสั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความนี้เขียนเร็วๆ จากบทสนทนาในไลน์กลุ่มที่ผู้เขียนเป็นสมาชิก เพื่อตอบคำถามสองส่วน ส่วนแรกคือเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นอยู่กับความได้สัดส่วนระหว่างขีดความสามารถของรัฐกับความคาดหวังจากสังคม ส่วนที่สองคือรัฐกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญขึ้นเรื่อยๆ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อเช้ายังงัวเงียอยู่ (เพราะนอนดึก) มิตรสหายในไลน์กลุ่มก็ชวนคุยว่า จะเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปทำไม่ ดูอย่างอเมริกาสิ ขนาดเปลี่ยนทรัมป์ออกไปเป็นโจ ไบเด็น ถึงวันนี้คนยังติดโควิดสูง แม้กระทั่งในทำเนียบขาว ผมเลยชวนดีเบตว่าเอาไหม ในที่สุด บทสนทนาก็มาถึงจุดที่ว่า เราไม่ควรเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คนเราจะวัดความเป็นรัฐบุรุษที่แท้ได้ก็เมื่อวิกฤตการณ์มาถึง แล้วเขาสนองตอบต่อวิกฤตการณ์นั้นอย่างไร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในวันที่ 2 มีนาคม 1757 (2300) เดเมียนส์ผู้ปลงพระชนม์ถูกตัดสินว่าให้ "กระทำการสารภาพผิด (amende honorable) หน้าประตูอาสนวิหารแห่งปารีส" เป็นที่ซึ่งเขาจะถูกเอาตัวไปและส่งไปกับล้อเลื่อน โดยสวมแต่เพียงเสื้อเชิ้ต ถือคบเพลิงที่มีขี้ผึ้งเป็นเชื้อหนังสองปอนด์ (ราว 1 กิโลกรัม) จากนั้นเขาจะถูกนำตัวไปบนล้อเ