Skip to main content

ญี่ปุ่นมักมีเรื่องราวชวนให้หลงใหลอยู่เสมอ

หนึ่งในเรื่องประทับใจก็คือการเดินไปเคารพศาลเจ้าจักรพรรดิเมจิย่านใจกลางเมือง ใกล้ฮาราจุกุ เป็นศาลเจ้าขนาดใหญ่และมีพิพิธภัณฑ์ มีป่าขนาดใหญ่ที่ร่มรื่น เย็นตา ทั้งยังมีสวนญี่ปุ่นโบราณให้เข้าไปชม

บางทีก็มีคนแต่งชุดกิโมโนมาทำพิธี หรือหลายๆ ครั้งมีงานแสดง

ครั้งหนึ่งผมไปพบกับเทศกาลดอกเบญจมาศนานาพันธุ์โดยบังเอิญ ทำให้ได้เห็นดอกเบญจมาศหลายสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาและเอาใจใส่ให้งดงามเพื่อเอามาแสดงที่ศาลเจ้าแห่งนี้

เมื่อผมกลับมาค้นคว้าต่อก็ทำให้รู้ว่าศาลเจ้าแห่งนี้ถูกสร้างเพื่อรำลึกถึงจักรพรรดิเมจิและจักรพรรดินี

เมื่อจักรพรรดิเมจิสวรรคตใน ค.ศ. 1912 มีกิจกรรมมากมายที่อุทิศแด่จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่นำพาญี่ปุ่นเผชิญกับโลกภายนอกได้อย่างภาคภูมิ นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนชื่อศาลเจ้าที่ทรงสร้างขึ้นทั่วประเทศแล้ว ยังมีการส้รางศาลเจ้าหลักเพื่อเป็นที่สถิตดวงวิญญาณของจักรพรรดิและจักรพรรดินี

มีการเลือกสถานที่ตั้งมากมาย จนเลือกบริเวณไร่ชาและไร่หม่อนอันเคยเป็นที่ดินในเขตศักดินาของคาโต  คิโยมาสะ แห่ง ฮิโก คุมาโมโต (Kato Kiyomasa of Higo Kumamoto) ซึ่งมีแหล่งน้ำพุชื่อคิโยมาสะเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด ภายหลังที่ดินถูกรัฐบาลยึดเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินของวังจักรพรรดิ

การสร้างศาลเจ้าเมจิเริ่มในปี 1915 มีแรงงานคนเข้ามาร่วมสร้างกว่า 10,000 คนจากทุกแห่งทั่วประเทศ พร้อมๆ กับการสร้างสวนป่าโดนรวบรวมพันธุ์พืชจากทั่วญี่ปุ่น แมนจูเรีย เกาหลี ไต้หวันและชัคคาลิน (Shakalin ดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย) รวมแล้วกว่า 345 สายพันธุ์ จำนวน 100,000 ต้น 

ในการสร้างสวนป่ามีการตั้งหน่วยอาสาสมัคร  seinendan มีสมาชิกหญิงชายกว่า 110,000 คน เข้ามาทำงาน โดยอาสาสมัครอายุระหว่าง 15-25 ปี ที่สนใจการศึกษาและการพัฒนาอย่างพอเพียง (self-sufficiency) 

ทั้งสองส่วนเสร็จในปี ค.ศ. 1920 

 

เวลาผ่านไป ต้นไม้ในสวนป่ามีถึง 170,000 ต้น แต่ความหลากหลายทางสายพันธุ์ลดเหลือ 245 สายพันธุ์

 

http://www.orientationtokyo.com/?p=206

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตรุษจีนปีนี้ผมไม่ได้กลับบ้าน คงอยู่เงียบๆ เหมือนเคย แต่บรรยากาศของตรุษจีนของชาวจีนโพ้นทะเลไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะต้องมีเสียงของเติ้งน้อยเป็นเพลงประกอบราวกับเพลงบังคับของเทศกาล อดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงความเก่าความหลังที่ชีวิตวกวนพาไปเดินเล่นไกลถึงนิวยอร์ค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);}
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมได้รับชวนจากมิตรสหายท่านหนึ่งให้เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ หลังจากไปโพสต์ต่อท้ายข่าวซุปเปอร์แมนลาออกจากเดลี่เทเลกราฟไปเขียนบล็อก ผมบ่นไปทำนองว่า อยากออกไปทำงานอย่างอื่นบ้าง มิตรสหายท่านนั้นเลยยื่นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธ เพราะผมอ่านข่าวในประชาไทอยู่นานแล้ว ก็อยากมีส่วนร่วมด้วย ประการหนึ่ง