Skip to main content

ญี่ปุ่นมักมีเรื่องราวชวนให้หลงใหลอยู่เสมอ

หนึ่งในเรื่องประทับใจก็คือการเดินไปเคารพศาลเจ้าจักรพรรดิเมจิย่านใจกลางเมือง ใกล้ฮาราจุกุ เป็นศาลเจ้าขนาดใหญ่และมีพิพิธภัณฑ์ มีป่าขนาดใหญ่ที่ร่มรื่น เย็นตา ทั้งยังมีสวนญี่ปุ่นโบราณให้เข้าไปชม

บางทีก็มีคนแต่งชุดกิโมโนมาทำพิธี หรือหลายๆ ครั้งมีงานแสดง

ครั้งหนึ่งผมไปพบกับเทศกาลดอกเบญจมาศนานาพันธุ์โดยบังเอิญ ทำให้ได้เห็นดอกเบญจมาศหลายสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาและเอาใจใส่ให้งดงามเพื่อเอามาแสดงที่ศาลเจ้าแห่งนี้

เมื่อผมกลับมาค้นคว้าต่อก็ทำให้รู้ว่าศาลเจ้าแห่งนี้ถูกสร้างเพื่อรำลึกถึงจักรพรรดิเมจิและจักรพรรดินี

เมื่อจักรพรรดิเมจิสวรรคตใน ค.ศ. 1912 มีกิจกรรมมากมายที่อุทิศแด่จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่นำพาญี่ปุ่นเผชิญกับโลกภายนอกได้อย่างภาคภูมิ นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนชื่อศาลเจ้าที่ทรงสร้างขึ้นทั่วประเทศแล้ว ยังมีการส้รางศาลเจ้าหลักเพื่อเป็นที่สถิตดวงวิญญาณของจักรพรรดิและจักรพรรดินี

มีการเลือกสถานที่ตั้งมากมาย จนเลือกบริเวณไร่ชาและไร่หม่อนอันเคยเป็นที่ดินในเขตศักดินาของคาโต  คิโยมาสะ แห่ง ฮิโก คุมาโมโต (Kato Kiyomasa of Higo Kumamoto) ซึ่งมีแหล่งน้ำพุชื่อคิโยมาสะเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด ภายหลังที่ดินถูกรัฐบาลยึดเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินของวังจักรพรรดิ

การสร้างศาลเจ้าเมจิเริ่มในปี 1915 มีแรงงานคนเข้ามาร่วมสร้างกว่า 10,000 คนจากทุกแห่งทั่วประเทศ พร้อมๆ กับการสร้างสวนป่าโดนรวบรวมพันธุ์พืชจากทั่วญี่ปุ่น แมนจูเรีย เกาหลี ไต้หวันและชัคคาลิน (Shakalin ดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย) รวมแล้วกว่า 345 สายพันธุ์ จำนวน 100,000 ต้น 

ในการสร้างสวนป่ามีการตั้งหน่วยอาสาสมัคร  seinendan มีสมาชิกหญิงชายกว่า 110,000 คน เข้ามาทำงาน โดยอาสาสมัครอายุระหว่าง 15-25 ปี ที่สนใจการศึกษาและการพัฒนาอย่างพอเพียง (self-sufficiency) 

ทั้งสองส่วนเสร็จในปี ค.ศ. 1920 

 

เวลาผ่านไป ต้นไม้ในสวนป่ามีถึง 170,000 ต้น แต่ความหลากหลายทางสายพันธุ์ลดเหลือ 245 สายพันธุ์

 

http://www.orientationtokyo.com/?p=206

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เพื่อนถามว่ารถไฟแบบเก่าไม่ดีตรงไหน คนเราเจริญแต่วัตถุ ควรให้ความสำคัญกับจิตใจ ตอบคำถามเพื่อนไปแล้วอยากแชร์กับท่านอื่นๆ นะครับ ขอโทษเพื่อนอีกทีถ้าทำให้กระอักกระอ่วนใจ แต่อยากจะเล่าแบ่งปันกับคนอื่นๆ ด้วย เรื่องรถไฟรางคู่ หรือความเร็วสูงนั้น ที
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
(ข้อความต่อไปนี้มาจากรายงานวิจัยเรื่องชีวประวัติรัฐธรรมนูญและธรรมนูญแห่งรา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
นัยสำคัญของการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งคือการปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยด้วยเป็นการดึงดันต่อประกาศพระราชกฤษฎีกาในการเลือกตั้งเตรียมการถอยหลังย้อนทวนเข็มนาฬิกาของพรรคการเมืองที่แพ้การเลือกตั้งมาโดยตลอดเล่ห์กลตื้นๆ แบบนี้ อาจเป็นเส้นผมบังภูเขา เป็นหลุมพรางก่อนจะ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คนดีไปไหนหนอ? ถ้ายังจำกันได้เมื่อ พ.ศ.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ขอทบทวน political literacy เกี่ยวกับศาลอาญาและศาลรัฐธรรมน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันมานี้ผมหมกมุ่นกับเรื่องนิรโทษกรรมจนลืมไปว่าคนจำนวนมาก "ข้าม" เรื่องนิรโทษกรรมไป "ล้มรัฐบาล" กันแล้ว
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เวลานี้ใครไม่ออกมาพูดเรื่องนิรโทษกรรมก็จะกลายเป็นเชยล้าสมัย ผมอยากให้ลองดูประวัติศาสตร์นิดหน่อยครับไม่อยากพูดมากเลยเอารูปมาแปะเลยนะครับ ภาพเหล่านี้มาจากหนังสือเล่มนี้ครับ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สมัยที่ทำหน้าที่อนุกรรมการตรวจสอบความจริงกรณีเผากรุงเทพ 34 จุดนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่หรือ กทม.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าเรื่องนิรโทษกรรมคืออะไร ผมต้องบอกว่าดีใจมากที่คนไทยสนใจการเมืองมาก ทั้งสองสีเสื้อ และน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันก่อนได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนร่วมวิชาชีพจากหลายสถาบัน เราคุยกันถึงประเด็นที่ว่าแนวคิดบริหารรัฐกิจและการศึกษาที่หยิบเอาแนวทางการบริหารจากภาคเอกชนมาใช้ ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติ ในบางแห่งบรรจุภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ไว้ในคณะวิทยาการจัดการ บางสถาบันยกระดับให้เป็น "คณะ" บางแห่งยกฐานะเท่าเทีย
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 มีข่าวว่าอดีตผู้นำนักศึกษารุ่น 14 ตุลาคม 2516 ระดมกำลังตั้งกลุ่มกระทิงแดงและรวมตัวที่กองบัญชาการ 103 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.56 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความทรงจำอันพร่าเลือนของคนเหล่านี้จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เมื่อเกือบ 40 ปีมาแล้ว