Skip to main content

ญี่ปุ่นมักมีเรื่องราวชวนให้หลงใหลอยู่เสมอ

หนึ่งในเรื่องประทับใจก็คือการเดินไปเคารพศาลเจ้าจักรพรรดิเมจิย่านใจกลางเมือง ใกล้ฮาราจุกุ เป็นศาลเจ้าขนาดใหญ่และมีพิพิธภัณฑ์ มีป่าขนาดใหญ่ที่ร่มรื่น เย็นตา ทั้งยังมีสวนญี่ปุ่นโบราณให้เข้าไปชม

บางทีก็มีคนแต่งชุดกิโมโนมาทำพิธี หรือหลายๆ ครั้งมีงานแสดง

ครั้งหนึ่งผมไปพบกับเทศกาลดอกเบญจมาศนานาพันธุ์โดยบังเอิญ ทำให้ได้เห็นดอกเบญจมาศหลายสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาและเอาใจใส่ให้งดงามเพื่อเอามาแสดงที่ศาลเจ้าแห่งนี้

เมื่อผมกลับมาค้นคว้าต่อก็ทำให้รู้ว่าศาลเจ้าแห่งนี้ถูกสร้างเพื่อรำลึกถึงจักรพรรดิเมจิและจักรพรรดินี

เมื่อจักรพรรดิเมจิสวรรคตใน ค.ศ. 1912 มีกิจกรรมมากมายที่อุทิศแด่จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่นำพาญี่ปุ่นเผชิญกับโลกภายนอกได้อย่างภาคภูมิ นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนชื่อศาลเจ้าที่ทรงสร้างขึ้นทั่วประเทศแล้ว ยังมีการส้รางศาลเจ้าหลักเพื่อเป็นที่สถิตดวงวิญญาณของจักรพรรดิและจักรพรรดินี

มีการเลือกสถานที่ตั้งมากมาย จนเลือกบริเวณไร่ชาและไร่หม่อนอันเคยเป็นที่ดินในเขตศักดินาของคาโต  คิโยมาสะ แห่ง ฮิโก คุมาโมโต (Kato Kiyomasa of Higo Kumamoto) ซึ่งมีแหล่งน้ำพุชื่อคิโยมาสะเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด ภายหลังที่ดินถูกรัฐบาลยึดเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินของวังจักรพรรดิ

การสร้างศาลเจ้าเมจิเริ่มในปี 1915 มีแรงงานคนเข้ามาร่วมสร้างกว่า 10,000 คนจากทุกแห่งทั่วประเทศ พร้อมๆ กับการสร้างสวนป่าโดนรวบรวมพันธุ์พืชจากทั่วญี่ปุ่น แมนจูเรีย เกาหลี ไต้หวันและชัคคาลิน (Shakalin ดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย) รวมแล้วกว่า 345 สายพันธุ์ จำนวน 100,000 ต้น 

ในการสร้างสวนป่ามีการตั้งหน่วยอาสาสมัคร  seinendan มีสมาชิกหญิงชายกว่า 110,000 คน เข้ามาทำงาน โดยอาสาสมัครอายุระหว่าง 15-25 ปี ที่สนใจการศึกษาและการพัฒนาอย่างพอเพียง (self-sufficiency) 

ทั้งสองส่วนเสร็จในปี ค.ศ. 1920 

 

เวลาผ่านไป ต้นไม้ในสวนป่ามีถึง 170,000 ต้น แต่ความหลากหลายทางสายพันธุ์ลดเหลือ 245 สายพันธุ์

 

http://www.orientationtokyo.com/?p=206

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สมการทางคณิตศาสตร์ง่ายๆ น่าจะให้สติคนที่ออกไปเสี่ยงชีวิตและก่อความเดือดร้อนให่้คนที่เขาต้องการสันติสุขกลับคืนมา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
            ในการเขียนรัฐธรรมนูญในชั้นหลังๆ มีการบันทึกเจตนารมณ์ไว้ชัดเจน เพื่อป้องกัน "ศรีธนญชัย" และ "เนติบริกร" ผู้ "ใช้" รัฐธรรมนูญสนองความต้องการตามอำเภอใจของพวกตนฝ่ายตน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
         ผมเขียนบทบรรณาธิการ วิภาษา ฉบับที่ 34 (1 พฤษภาคม-15 มิถุนายน 2554) เพื่อเป็นเกียรติแก่ครูผู้ไม่รู้จั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
มรณกรรมของคุณ ไม้หนึ่ง ก. กุนที ทำให้ผมอดนึกถึงมรณกรรมของเสธ. แดง ไม่ได้
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
มรณกรรมของกวีนาม ไม้หนึ่ง ก.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อครั้งยังเด็ก ความบันเทิงหนึ่งของเด็กต่างจังหวัดที่อยู่ในตลาดจะได้ชมก็คือการมาเยือนของนักเล่นกล ที่ผมเรียกอย่างนี้นอกจากจะเพราะชินกับภาษาตลาดแล้ว คำว่านักมายากลดูจะรุ่มร่ามไปไม่น้อย สำหรับผมนักเล่นกลดูจะตรงไปตรงมามากกว่า 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ดำนอก ขาวใน ไม่ว่าดำใน ขาวนอก อวดอ่าดำใน ดำนอก ดำดีคนดี ดีออก ออกดี ถุยส์ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหตุการณ์เสียชีวิตบาดเจ็บข้อเรียกร้อง/ปมขัดแย้ง14 ตุลาคม
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อวาน (16 กุมภาพันธ์) ไปด
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ศ. วรพจน์ ณ นคร เขียนในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม 2540 ในท่ามกลางวิกฤตการณ์ค่าเงินบาทในสมัยนั้น ในความเห็นของวรพจน์กล่าวอย่างชัดเจนว่าให้ พล.อ.