Skip to main content

ญี่ปุ่นมักมีเรื่องราวชวนให้หลงใหลอยู่เสมอ

หนึ่งในเรื่องประทับใจก็คือการเดินไปเคารพศาลเจ้าจักรพรรดิเมจิย่านใจกลางเมือง ใกล้ฮาราจุกุ เป็นศาลเจ้าขนาดใหญ่และมีพิพิธภัณฑ์ มีป่าขนาดใหญ่ที่ร่มรื่น เย็นตา ทั้งยังมีสวนญี่ปุ่นโบราณให้เข้าไปชม

บางทีก็มีคนแต่งชุดกิโมโนมาทำพิธี หรือหลายๆ ครั้งมีงานแสดง

ครั้งหนึ่งผมไปพบกับเทศกาลดอกเบญจมาศนานาพันธุ์โดยบังเอิญ ทำให้ได้เห็นดอกเบญจมาศหลายสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาและเอาใจใส่ให้งดงามเพื่อเอามาแสดงที่ศาลเจ้าแห่งนี้

เมื่อผมกลับมาค้นคว้าต่อก็ทำให้รู้ว่าศาลเจ้าแห่งนี้ถูกสร้างเพื่อรำลึกถึงจักรพรรดิเมจิและจักรพรรดินี

เมื่อจักรพรรดิเมจิสวรรคตใน ค.ศ. 1912 มีกิจกรรมมากมายที่อุทิศแด่จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่นำพาญี่ปุ่นเผชิญกับโลกภายนอกได้อย่างภาคภูมิ นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนชื่อศาลเจ้าที่ทรงสร้างขึ้นทั่วประเทศแล้ว ยังมีการส้รางศาลเจ้าหลักเพื่อเป็นที่สถิตดวงวิญญาณของจักรพรรดิและจักรพรรดินี

มีการเลือกสถานที่ตั้งมากมาย จนเลือกบริเวณไร่ชาและไร่หม่อนอันเคยเป็นที่ดินในเขตศักดินาของคาโต  คิโยมาสะ แห่ง ฮิโก คุมาโมโต (Kato Kiyomasa of Higo Kumamoto) ซึ่งมีแหล่งน้ำพุชื่อคิโยมาสะเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด ภายหลังที่ดินถูกรัฐบาลยึดเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินของวังจักรพรรดิ

การสร้างศาลเจ้าเมจิเริ่มในปี 1915 มีแรงงานคนเข้ามาร่วมสร้างกว่า 10,000 คนจากทุกแห่งทั่วประเทศ พร้อมๆ กับการสร้างสวนป่าโดนรวบรวมพันธุ์พืชจากทั่วญี่ปุ่น แมนจูเรีย เกาหลี ไต้หวันและชัคคาลิน (Shakalin ดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย) รวมแล้วกว่า 345 สายพันธุ์ จำนวน 100,000 ต้น 

ในการสร้างสวนป่ามีการตั้งหน่วยอาสาสมัคร  seinendan มีสมาชิกหญิงชายกว่า 110,000 คน เข้ามาทำงาน โดยอาสาสมัครอายุระหว่าง 15-25 ปี ที่สนใจการศึกษาและการพัฒนาอย่างพอเพียง (self-sufficiency) 

ทั้งสองส่วนเสร็จในปี ค.ศ. 1920 

 

เวลาผ่านไป ต้นไม้ในสวนป่ามีถึง 170,000 ต้น แต่ความหลากหลายทางสายพันธุ์ลดเหลือ 245 สายพันธุ์

 

http://www.orientationtokyo.com/?p=206

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม