Skip to main content

ญี่ปุ่นมักมีเรื่องราวชวนให้หลงใหลอยู่เสมอ

หนึ่งในเรื่องประทับใจก็คือการเดินไปเคารพศาลเจ้าจักรพรรดิเมจิย่านใจกลางเมือง ใกล้ฮาราจุกุ เป็นศาลเจ้าขนาดใหญ่และมีพิพิธภัณฑ์ มีป่าขนาดใหญ่ที่ร่มรื่น เย็นตา ทั้งยังมีสวนญี่ปุ่นโบราณให้เข้าไปชม

บางทีก็มีคนแต่งชุดกิโมโนมาทำพิธี หรือหลายๆ ครั้งมีงานแสดง

ครั้งหนึ่งผมไปพบกับเทศกาลดอกเบญจมาศนานาพันธุ์โดยบังเอิญ ทำให้ได้เห็นดอกเบญจมาศหลายสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาและเอาใจใส่ให้งดงามเพื่อเอามาแสดงที่ศาลเจ้าแห่งนี้

เมื่อผมกลับมาค้นคว้าต่อก็ทำให้รู้ว่าศาลเจ้าแห่งนี้ถูกสร้างเพื่อรำลึกถึงจักรพรรดิเมจิและจักรพรรดินี

เมื่อจักรพรรดิเมจิสวรรคตใน ค.ศ. 1912 มีกิจกรรมมากมายที่อุทิศแด่จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่นำพาญี่ปุ่นเผชิญกับโลกภายนอกได้อย่างภาคภูมิ นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนชื่อศาลเจ้าที่ทรงสร้างขึ้นทั่วประเทศแล้ว ยังมีการส้รางศาลเจ้าหลักเพื่อเป็นที่สถิตดวงวิญญาณของจักรพรรดิและจักรพรรดินี

มีการเลือกสถานที่ตั้งมากมาย จนเลือกบริเวณไร่ชาและไร่หม่อนอันเคยเป็นที่ดินในเขตศักดินาของคาโต  คิโยมาสะ แห่ง ฮิโก คุมาโมโต (Kato Kiyomasa of Higo Kumamoto) ซึ่งมีแหล่งน้ำพุชื่อคิโยมาสะเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด ภายหลังที่ดินถูกรัฐบาลยึดเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินของวังจักรพรรดิ

การสร้างศาลเจ้าเมจิเริ่มในปี 1915 มีแรงงานคนเข้ามาร่วมสร้างกว่า 10,000 คนจากทุกแห่งทั่วประเทศ พร้อมๆ กับการสร้างสวนป่าโดนรวบรวมพันธุ์พืชจากทั่วญี่ปุ่น แมนจูเรีย เกาหลี ไต้หวันและชัคคาลิน (Shakalin ดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย) รวมแล้วกว่า 345 สายพันธุ์ จำนวน 100,000 ต้น 

ในการสร้างสวนป่ามีการตั้งหน่วยอาสาสมัคร  seinendan มีสมาชิกหญิงชายกว่า 110,000 คน เข้ามาทำงาน โดยอาสาสมัครอายุระหว่าง 15-25 ปี ที่สนใจการศึกษาและการพัฒนาอย่างพอเพียง (self-sufficiency) 

ทั้งสองส่วนเสร็จในปี ค.ศ. 1920 

 

เวลาผ่านไป ต้นไม้ในสวนป่ามีถึง 170,000 ต้น แต่ความหลากหลายทางสายพันธุ์ลดเหลือ 245 สายพันธุ์

 

http://www.orientationtokyo.com/?p=206

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ณ ประเทศแห่งหนึ่งที่เพิ่งจะพ้นจากยุคเผด็จการอันแสนเลวร้ายมา พวกเขาต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่สะสมหมักหมมนานนับหลายปี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมมักเอ่ยถึงเวลาที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วอยู่หลายครั้ง ด้วยความรู้สึกสามัญธรรมดาเหมือนกับหลายๆ คนที่เชื่อว่า วันเวลาแห่งความสุขช่างผ่านไปรวดเร็ว แ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทนำจากนิตยสารวิภาษา ฉบับที่ 61(ในการเผยแพร่ครั้งนี้ มีการแก้ไขการสะกดชื่อคุณจำกัด พลางกูร จากคำนำวิภาษาฉบับที่ 61 ที่ผมเขียนผิดเป็น "กำจัด" ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
  คืนนี้หิมะโปรยลงมาตั้งแต่เย็น เป็นการฉลองวันคล้ายวันเกิดที่ห่างบ้านไม่น้อยทีเดียว แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะที่ผ่านมาก็เป็นแบบนี้ในหลายโอกาสเพราะวันคล้ายวันเกิดไม่มีอะไรต้องฉลองนอกเสียจากทบทวนชีวิตตัวเองว่าผ่านอะไรมาบ้าง 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
วันก่อนผมให้สัมภาษณ์กับรายการทีวีรายการหนึ่งซึ่งพาดหัวข่าวอาจจะแรงไปบ้างนะครับ ผมมีความเห็นต่อเรื่องการแต่งตั้งเครือญาติมานั่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยปฏิบัติงานดังนี้นะครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
จากลิงค์และพาดหัวข่าวต่อไปนี้
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 ตารางกิจกรรมนะครับForum on Human Rights and Everyday Governance in Thailand: Past, Present and Future Friday, March 6, 2015; 9 a.m.-5 p.m.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อวานนี้ (21 กุมภาพันธ์) หิมะยังโปรยเป็นสายลงมาไม่หยุดตั้งแต่ยามบ่าย นี่เป็นพายุหิมะระลอกที่สี่ เพียงแต่คราวนี้ไม่ยาวนานเหมือนครั้งก่อนๆ ในยามที่หิมะตกมาเป็นละอองเย็นๆ ยิ่งต้องระวัง เพราะหากสูดเข้าไปมากๆ อาจมีอาการป่วยได้ พวกเราเอง รวมทั้งผมต่างก็มีอาการป่วยกันคนละเล็กคนละน้อย เพราะสภาพอากาศที
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมนั่งมองปุยหิมะที่พริ้วลงมาตามสายลมตาปริบๆ บางทีสายลมเกรี้ยวกราดพัดมันปลิวเป็นสาย เลื้อยไหลตามถนนและหลืบบ้าน บางทีมันอ้อยอิ่ง ค่อยๆ พริ้วลงมา แต่ไม่มีท่าทีว่าจะหยุด 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เพื่อนฝูงหลายคนหัวเราะแกมสมเพชที่ผมอยู่บอสตันในยามหนาวเหน็บอย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะพายุหิมะที่พัดผ่านมาให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้กองหิมะนับเดือน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมมาอยู่ที่นี่ได้สองเดือนกว่าแล้ว ขณะที่เพื่อนๆ มาอยู่ได้ราวครึ่งปี นาฬิกาและตารางชีวิตเราจึงต่างกันบ้างด้วยความผูกพัน ภาระที่แต่ละคนพึงมี