Skip to main content

หากมองคลื่นความขัดแย้งทางการเมืองไทยในอดีตจะเห็นว่า คลื่นชุดแรกๆ คือการรัฐประหาร 2490 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของวงจรอุบาทว์ของการเมืองไทย ผ่าน 16 กันยายน 2500 และยาวนานถึงปี 2516

 

สรุปคลื่นระลอกนั้นยาวนาน 26 ปี และผ่านเผด็จการคนสำคัญหรือผู้นำทหารตั้งแต่จอมพล ป. จอมพลสฤษดิ์ ถึงจอมพลถนอม และจบลงด้วยความรุนแรงทางการเมือง เป็นสันติสุขในชั่วยามสั้นๆ และจบลงด้วยแรงต้านที่รุนแรงที่สุดด้วยน้ำมือของพลเรือนที่ถูกจัดตั้งและปลุกเร้าในระยะเวลาสามปี

 

สงครามกลางเมืองปะทุในทุกภูมิภาคและจบลงด้วยการประนีประนอม ในปี 2521 จนฉีกกติกาอีกรอบ 2534 เป็นช่วงสั้นๆและจบลงด้วยความรุนแรงในปี 2535 

 

จากนั้นเป็นช่วงการต่อรองเจรจาจนนำมาซึ่งกติกาใหม่ใน 2540

 

แต่พันธสัญญา 2540 จบลงอย่างไม่น่าเชื่อด้วยกลุ่มคนที่มีส่วนสร้างพันธสัญญานั้น

 

ส่วนคลื่นระลอกนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2548 ผ่านรัฐประหาร 2549 จนถึงปัจจุบัน เข้าทศวรรษที่สองแล้ว ยังไม่รู้ว่าจะเดินไปถึงไหน จบที่ใด

 

 

 

อนุสนธ์ิจากการฟังการอภิปรายเรื่องประชาธิปไตย 99.9% กับประชารัฐวันนี้ อาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ยกเอาห้วงเวลาที่คณะรัฐประหารครองอำนาจมาเทียบให้เห็น ที่ยาวนานที่สุดก็คือในยุคสฤษดิ์-ถนอม ซึ่งเริ่มจากการรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 จอมพล ป. พิบูลสงครามต้องลี้ภัยจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ส่วนจอมพลสฤษดิ์ไม่กล้านั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในตอนแรก แต่ให้คนมาแทรก แล้วจึงเป็นนายกฯ ภายหลังการปฏิวัติ 20 ตุลาคม 2506 จวบจนเสียชีวิตเมื่อ8 ธันวาคม 2506 จากนั้นจอมพลถนอมได้ครองอำนาจต่อจนร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเมื่อปี 2511 จึงได้ประกาศใช้และมีการเลือกตั้งทั่วไป เฉพาะช่วงนี้เองที่เป็นเวลากว่า 10 ปี

 

การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 กลายมาเป็นช่วงเวลาที่คณะรัฐประหารอยู่ในอำนาจยาวนานเป็นอันดับสอง และเพิ่มเวลามากขึ้น ด้วยยังเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปเรื่อยๆ!

 

 

ส่วนข้อคิดเห็นของอาจารย์สุรชาติ บำรุงสุข นั้น ก็น่ารับฟังยิ่ง เพราะอาจารย์คลุกคลีกับทหารตั้งแต่ถูกจองจำหลัง 6 ตุลาคม 2519 และมองไปรอบโลกในเวลาเดียวกัน อาจารย์สุรชาติบอกว่าตอนนี้รอฟังสัญญาณจากการเลือกตั้งเยอรมันนีเท่านั้นที่ฝ่ายเสรีนิยม หรือฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะชนะ

 

อาจารย์สุรชาติให้กำลังใจว่า หากไม่รับรู้ถึงฤดูหนาวที่ยาวนาน ไฉนเลยจะรับรู้ถึงความหอมหวนของวสันตฤดู

 

บังเอิญห้วงเวลาที่เราอยู่เป็นเหมันต์ที่ยาวนาน มืดมน กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา นอกเสียจากยุคสฤษดิ์-ถนอม

 

 

 

 

 

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตรุษจีนปีนี้ผมไม่ได้กลับบ้าน คงอยู่เงียบๆ เหมือนเคย แต่บรรยากาศของตรุษจีนของชาวจีนโพ้นทะเลไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะต้องมีเสียงของเติ้งน้อยเป็นเพลงประกอบราวกับเพลงบังคับของเทศกาล อดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงความเก่าความหลังที่ชีวิตวกวนพาไปเดินเล่นไกลถึงนิวยอร์ค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);}
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมได้รับชวนจากมิตรสหายท่านหนึ่งให้เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ หลังจากไปโพสต์ต่อท้ายข่าวซุปเปอร์แมนลาออกจากเดลี่เทเลกราฟไปเขียนบล็อก ผมบ่นไปทำนองว่า อยากออกไปทำงานอย่างอื่นบ้าง มิตรสหายท่านนั้นเลยยื่นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธ เพราะผมอ่านข่าวในประชาไทอยู่นานแล้ว ก็อยากมีส่วนร่วมด้วย ประการหนึ่ง