Skip to main content

หากมองคลื่นความขัดแย้งทางการเมืองไทยในอดีตจะเห็นว่า คลื่นชุดแรกๆ คือการรัฐประหาร 2490 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของวงจรอุบาทว์ของการเมืองไทย ผ่าน 16 กันยายน 2500 และยาวนานถึงปี 2516

 

สรุปคลื่นระลอกนั้นยาวนาน 26 ปี และผ่านเผด็จการคนสำคัญหรือผู้นำทหารตั้งแต่จอมพล ป. จอมพลสฤษดิ์ ถึงจอมพลถนอม และจบลงด้วยความรุนแรงทางการเมือง เป็นสันติสุขในชั่วยามสั้นๆ และจบลงด้วยแรงต้านที่รุนแรงที่สุดด้วยน้ำมือของพลเรือนที่ถูกจัดตั้งและปลุกเร้าในระยะเวลาสามปี

 

สงครามกลางเมืองปะทุในทุกภูมิภาคและจบลงด้วยการประนีประนอม ในปี 2521 จนฉีกกติกาอีกรอบ 2534 เป็นช่วงสั้นๆและจบลงด้วยความรุนแรงในปี 2535 

 

จากนั้นเป็นช่วงการต่อรองเจรจาจนนำมาซึ่งกติกาใหม่ใน 2540

 

แต่พันธสัญญา 2540 จบลงอย่างไม่น่าเชื่อด้วยกลุ่มคนที่มีส่วนสร้างพันธสัญญานั้น

 

ส่วนคลื่นระลอกนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2548 ผ่านรัฐประหาร 2549 จนถึงปัจจุบัน เข้าทศวรรษที่สองแล้ว ยังไม่รู้ว่าจะเดินไปถึงไหน จบที่ใด

 

 

 

อนุสนธ์ิจากการฟังการอภิปรายเรื่องประชาธิปไตย 99.9% กับประชารัฐวันนี้ อาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ยกเอาห้วงเวลาที่คณะรัฐประหารครองอำนาจมาเทียบให้เห็น ที่ยาวนานที่สุดก็คือในยุคสฤษดิ์-ถนอม ซึ่งเริ่มจากการรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 จอมพล ป. พิบูลสงครามต้องลี้ภัยจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ส่วนจอมพลสฤษดิ์ไม่กล้านั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในตอนแรก แต่ให้คนมาแทรก แล้วจึงเป็นนายกฯ ภายหลังการปฏิวัติ 20 ตุลาคม 2506 จวบจนเสียชีวิตเมื่อ8 ธันวาคม 2506 จากนั้นจอมพลถนอมได้ครองอำนาจต่อจนร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเมื่อปี 2511 จึงได้ประกาศใช้และมีการเลือกตั้งทั่วไป เฉพาะช่วงนี้เองที่เป็นเวลากว่า 10 ปี

 

การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 กลายมาเป็นช่วงเวลาที่คณะรัฐประหารอยู่ในอำนาจยาวนานเป็นอันดับสอง และเพิ่มเวลามากขึ้น ด้วยยังเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปเรื่อยๆ!

 

 

ส่วนข้อคิดเห็นของอาจารย์สุรชาติ บำรุงสุข นั้น ก็น่ารับฟังยิ่ง เพราะอาจารย์คลุกคลีกับทหารตั้งแต่ถูกจองจำหลัง 6 ตุลาคม 2519 และมองไปรอบโลกในเวลาเดียวกัน อาจารย์สุรชาติบอกว่าตอนนี้รอฟังสัญญาณจากการเลือกตั้งเยอรมันนีเท่านั้นที่ฝ่ายเสรีนิยม หรือฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะชนะ

 

อาจารย์สุรชาติให้กำลังใจว่า หากไม่รับรู้ถึงฤดูหนาวที่ยาวนาน ไฉนเลยจะรับรู้ถึงความหอมหวนของวสันตฤดู

 

บังเอิญห้วงเวลาที่เราอยู่เป็นเหมันต์ที่ยาวนาน มืดมน กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา นอกเสียจากยุคสฤษดิ์-ถนอม

 

 

 

 

 

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เพื่อนถามว่ารถไฟแบบเก่าไม่ดีตรงไหน คนเราเจริญแต่วัตถุ ควรให้ความสำคัญกับจิตใจ ตอบคำถามเพื่อนไปแล้วอยากแชร์กับท่านอื่นๆ นะครับ ขอโทษเพื่อนอีกทีถ้าทำให้กระอักกระอ่วนใจ แต่อยากจะเล่าแบ่งปันกับคนอื่นๆ ด้วย เรื่องรถไฟรางคู่ หรือความเร็วสูงนั้น ที
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
(ข้อความต่อไปนี้มาจากรายงานวิจัยเรื่องชีวประวัติรัฐธรรมนูญและธรรมนูญแห่งรา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
นัยสำคัญของการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งคือการปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยด้วยเป็นการดึงดันต่อประกาศพระราชกฤษฎีกาในการเลือกตั้งเตรียมการถอยหลังย้อนทวนเข็มนาฬิกาของพรรคการเมืองที่แพ้การเลือกตั้งมาโดยตลอดเล่ห์กลตื้นๆ แบบนี้ อาจเป็นเส้นผมบังภูเขา เป็นหลุมพรางก่อนจะ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คนดีไปไหนหนอ? ถ้ายังจำกันได้เมื่อ พ.ศ.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ขอทบทวน political literacy เกี่ยวกับศาลอาญาและศาลรัฐธรรมน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันมานี้ผมหมกมุ่นกับเรื่องนิรโทษกรรมจนลืมไปว่าคนจำนวนมาก "ข้าม" เรื่องนิรโทษกรรมไป "ล้มรัฐบาล" กันแล้ว
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เวลานี้ใครไม่ออกมาพูดเรื่องนิรโทษกรรมก็จะกลายเป็นเชยล้าสมัย ผมอยากให้ลองดูประวัติศาสตร์นิดหน่อยครับไม่อยากพูดมากเลยเอารูปมาแปะเลยนะครับ ภาพเหล่านี้มาจากหนังสือเล่มนี้ครับ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สมัยที่ทำหน้าที่อนุกรรมการตรวจสอบความจริงกรณีเผากรุงเทพ 34 จุดนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่หรือ กทม.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าเรื่องนิรโทษกรรมคืออะไร ผมต้องบอกว่าดีใจมากที่คนไทยสนใจการเมืองมาก ทั้งสองสีเสื้อ และน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันก่อนได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนร่วมวิชาชีพจากหลายสถาบัน เราคุยกันถึงประเด็นที่ว่าแนวคิดบริหารรัฐกิจและการศึกษาที่หยิบเอาแนวทางการบริหารจากภาคเอกชนมาใช้ ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติ ในบางแห่งบรรจุภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ไว้ในคณะวิทยาการจัดการ บางสถาบันยกระดับให้เป็น "คณะ" บางแห่งยกฐานะเท่าเทีย
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 มีข่าวว่าอดีตผู้นำนักศึกษารุ่น 14 ตุลาคม 2516 ระดมกำลังตั้งกลุ่มกระทิงแดงและรวมตัวที่กองบัญชาการ 103 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.56 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความทรงจำอันพร่าเลือนของคนเหล่านี้จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เมื่อเกือบ 40 ปีมาแล้ว