Skip to main content

ในสถานการณ์ที่เยาวชนลุกขึ้นเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดคุกคามประชาชน ยุบสภาและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ในหลายแห่งและขยายตัวไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศนั้น หลายคนมองว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์ของเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บ้างก็หมิ่นแคลนว่าไม่เคยช่วยพ่อแม่ล้างจานจะมาแก้ปัญหาประเทศได้อย่างไร หรือหางานและจ่ายภาษีได้แล้วค่อยมาทวงสิทธิ์ก็แล้วกัน  บ้างก็บอกมีคนบงการชังชาติคอยหนุนหลัง ฯลฯ

ทั้งหมดนี้มองปรากฏการณ์เพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งและหมิ่นแคลนความพยายามของคนรุ่นใหม่ที่พยายามจะบอกเรา

ในอีกฝั่ง บางคนก็บอกว่านี่เป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ ฟังและให้พวกเขาว่ากันไป โดยคอยสนับสนุนก็พอ

 

ทั้งหมดนี้ ยังไม่น่าจะพอ เมื่อเทียบกับความไม่พอใจของคนรุ่นใหม่ที่คาดหวังกับการเปลี่ยนแปลง

แต่ก็คงไม่มีใครปรารถนาจะเห็นภาวะที่คนรุ่นพ่อแม่กดปุ่มสังหารลูกหลานของตัวเองบนท้องถนน หรือถ้าจะมีใครกระหายเลือดขนาดนั้น ก็คงเกินเยียวยา

บทความนี้มีสองส่วน ส่วนแรกต้องการเตือนสติให้ผู้มีอำนาจหันกลับไปทบทวนมาตรการต่างๆ ต่อเยาวชนของเรา ส่วนที่สองจะเป็นข้อเสนอในฐานะกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการศึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

ส่วนแรก คงไม่มีใครปฏิเสธว่า การทำหน้าที่ของฝ่ายบ้านเมือง ตั้งแต่การติดตาม การไปพบผู้ปกครอง การไปพบครูอาจารย์ รวมถึงความพยายามดำเนินคดีเล็กๆ น้อยๆ เป็นการคุกคามทางการเมืองรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมาตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2557

การกระทำแบบนี้ต้องหยุดทันที หยุดทำลายอนาคตชาติและสร้างศัตรูรุ่นใหม่ด้วยการติดฉลากการแสดงออกทางการเมืองว่าเป็นอาชญากรรม การชุมนุมเรียกร้องในประเด็นต่างๆ เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่รัฐอารยะทั้งหลายรับรอง เว้นแต่ผู้นำไทยอยากจะให้โลกมองเราว่าเป็นเผด็จการ ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเรื่องยุ่งยากและซ้ำเติมสถานการณ์ภายในประเทศ

ในส่วนของผู้บริหารสถานศึกษาควรคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน นิสิต นักศึกษามากกว่าจะตามใจเจ้าหน้าบ้านเมืองที่พยายามเข้าถึงความเป็นส่วนตัวที่เกินเลย และนับเป็นการละเมิดสิทธิเด็กเหมือนกัน และนั่นจะทำให้การไต่สถานศึกษาระดับโลกจมดิ่งลงไป

เมื่อสถานศึกษาเข้ามา “เล่นการเมือง” โดยตรง ก็ต้องไม่ลืมว่าในการชุมนุม เมื่อปี 2556-2557 นั้น บรรดาผู้บริหารยุคนั้นสนับสนุนให้คณาจารย์ พนักงาน ลูกจ้าง นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมการชุมนุม อย่างแข็งขัน และเปิดเผย ทั้งใช้สถานที่ ทรัพยากรของทางราชการอย่างเปิดเผย ขณะเดียวกันก็ปกป้องคนเหล่านั้นอย่างแน่วแน่ และควรใช้มาตรฐานเดียวกันในปีนี้ นอกเสียจากว่าจะยอมรับว่าการกระทำเหล่านั้นผิดกฎหมายและควรดำเนินคดีในแบบเดียวกัน

ทั้งนี้ การเป็นสถานศึกษาระดับโลก มีเป้าหมายกำหนดไว้แล้ว ทั้งความมีเสรีภาพทางการเมือง ความเท่าเทียมเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติทั้งเพศสภาพ เชื้อชาติและสีผิว ตลอดจนความเชื่อทางการเมืองที่หลากหลาย

ถ้าจะเดินตามอารยประเทศ ก็หนีไม่พ้นที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องแสดงการส่งเสริม ไม่ขัดขวางที่เรียกว่า affirmative action ให้ปรากฏ

เราควรปกป้องอนาคตของชาติ มากกว่าไปทำลาย ตัดตอน สร้างความรับรู้แบบที่เคยทำในยุคเผด็จการอำนาจนิยม ซึ่งในที่สุดก็ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองกว่าสองทศวรรษดังที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้สอนเราเป็นบทเรียนมาแล้ว

 

(ตีพิมพ์ครั้งแรกในมติชน (รายวัน) 31 กรกฎาคม 2563 https://www.matichon.co.th/article/news_2287544

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตรุษจีนปีนี้ผมไม่ได้กลับบ้าน คงอยู่เงียบๆ เหมือนเคย แต่บรรยากาศของตรุษจีนของชาวจีนโพ้นทะเลไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะต้องมีเสียงของเติ้งน้อยเป็นเพลงประกอบราวกับเพลงบังคับของเทศกาล อดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงความเก่าความหลังที่ชีวิตวกวนพาไปเดินเล่นไกลถึงนิวยอร์ค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);}
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมได้รับชวนจากมิตรสหายท่านหนึ่งให้เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ หลังจากไปโพสต์ต่อท้ายข่าวซุปเปอร์แมนลาออกจากเดลี่เทเลกราฟไปเขียนบล็อก ผมบ่นไปทำนองว่า อยากออกไปทำงานอย่างอื่นบ้าง มิตรสหายท่านนั้นเลยยื่นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธ เพราะผมอ่านข่าวในประชาไทอยู่นานแล้ว ก็อยากมีส่วนร่วมด้วย ประการหนึ่ง