Skip to main content

ในสถานการณ์ที่เยาวชนลุกขึ้นเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดคุกคามประชาชน ยุบสภาและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ในหลายแห่งและขยายตัวไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศนั้น หลายคนมองว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์ของเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บ้างก็หมิ่นแคลนว่าไม่เคยช่วยพ่อแม่ล้างจานจะมาแก้ปัญหาประเทศได้อย่างไร หรือหางานและจ่ายภาษีได้แล้วค่อยมาทวงสิทธิ์ก็แล้วกัน  บ้างก็บอกมีคนบงการชังชาติคอยหนุนหลัง ฯลฯ

ทั้งหมดนี้มองปรากฏการณ์เพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งและหมิ่นแคลนความพยายามของคนรุ่นใหม่ที่พยายามจะบอกเรา

ในอีกฝั่ง บางคนก็บอกว่านี่เป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ ฟังและให้พวกเขาว่ากันไป โดยคอยสนับสนุนก็พอ

 

ทั้งหมดนี้ ยังไม่น่าจะพอ เมื่อเทียบกับความไม่พอใจของคนรุ่นใหม่ที่คาดหวังกับการเปลี่ยนแปลง

แต่ก็คงไม่มีใครปรารถนาจะเห็นภาวะที่คนรุ่นพ่อแม่กดปุ่มสังหารลูกหลานของตัวเองบนท้องถนน หรือถ้าจะมีใครกระหายเลือดขนาดนั้น ก็คงเกินเยียวยา

บทความนี้มีสองส่วน ส่วนแรกต้องการเตือนสติให้ผู้มีอำนาจหันกลับไปทบทวนมาตรการต่างๆ ต่อเยาวชนของเรา ส่วนที่สองจะเป็นข้อเสนอในฐานะกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการศึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

ส่วนแรก คงไม่มีใครปฏิเสธว่า การทำหน้าที่ของฝ่ายบ้านเมือง ตั้งแต่การติดตาม การไปพบผู้ปกครอง การไปพบครูอาจารย์ รวมถึงความพยายามดำเนินคดีเล็กๆ น้อยๆ เป็นการคุกคามทางการเมืองรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมาตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2557

การกระทำแบบนี้ต้องหยุดทันที หยุดทำลายอนาคตชาติและสร้างศัตรูรุ่นใหม่ด้วยการติดฉลากการแสดงออกทางการเมืองว่าเป็นอาชญากรรม การชุมนุมเรียกร้องในประเด็นต่างๆ เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่รัฐอารยะทั้งหลายรับรอง เว้นแต่ผู้นำไทยอยากจะให้โลกมองเราว่าเป็นเผด็จการ ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเรื่องยุ่งยากและซ้ำเติมสถานการณ์ภายในประเทศ

ในส่วนของผู้บริหารสถานศึกษาควรคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน นิสิต นักศึกษามากกว่าจะตามใจเจ้าหน้าบ้านเมืองที่พยายามเข้าถึงความเป็นส่วนตัวที่เกินเลย และนับเป็นการละเมิดสิทธิเด็กเหมือนกัน และนั่นจะทำให้การไต่สถานศึกษาระดับโลกจมดิ่งลงไป

เมื่อสถานศึกษาเข้ามา “เล่นการเมือง” โดยตรง ก็ต้องไม่ลืมว่าในการชุมนุม เมื่อปี 2556-2557 นั้น บรรดาผู้บริหารยุคนั้นสนับสนุนให้คณาจารย์ พนักงาน ลูกจ้าง นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมการชุมนุม อย่างแข็งขัน และเปิดเผย ทั้งใช้สถานที่ ทรัพยากรของทางราชการอย่างเปิดเผย ขณะเดียวกันก็ปกป้องคนเหล่านั้นอย่างแน่วแน่ และควรใช้มาตรฐานเดียวกันในปีนี้ นอกเสียจากว่าจะยอมรับว่าการกระทำเหล่านั้นผิดกฎหมายและควรดำเนินคดีในแบบเดียวกัน

ทั้งนี้ การเป็นสถานศึกษาระดับโลก มีเป้าหมายกำหนดไว้แล้ว ทั้งความมีเสรีภาพทางการเมือง ความเท่าเทียมเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติทั้งเพศสภาพ เชื้อชาติและสีผิว ตลอดจนความเชื่อทางการเมืองที่หลากหลาย

ถ้าจะเดินตามอารยประเทศ ก็หนีไม่พ้นที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องแสดงการส่งเสริม ไม่ขัดขวางที่เรียกว่า affirmative action ให้ปรากฏ

เราควรปกป้องอนาคตของชาติ มากกว่าไปทำลาย ตัดตอน สร้างความรับรู้แบบที่เคยทำในยุคเผด็จการอำนาจนิยม ซึ่งในที่สุดก็ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองกว่าสองทศวรรษดังที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้สอนเราเป็นบทเรียนมาแล้ว

 

(ตีพิมพ์ครั้งแรกในมติชน (รายวัน) 31 กรกฎาคม 2563 https://www.matichon.co.th/article/news_2287544

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เพื่อนถามว่ารถไฟแบบเก่าไม่ดีตรงไหน คนเราเจริญแต่วัตถุ ควรให้ความสำคัญกับจิตใจ ตอบคำถามเพื่อนไปแล้วอยากแชร์กับท่านอื่นๆ นะครับ ขอโทษเพื่อนอีกทีถ้าทำให้กระอักกระอ่วนใจ แต่อยากจะเล่าแบ่งปันกับคนอื่นๆ ด้วย เรื่องรถไฟรางคู่ หรือความเร็วสูงนั้น ที
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
(ข้อความต่อไปนี้มาจากรายงานวิจัยเรื่องชีวประวัติรัฐธรรมนูญและธรรมนูญแห่งรา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
นัยสำคัญของการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งคือการปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยด้วยเป็นการดึงดันต่อประกาศพระราชกฤษฎีกาในการเลือกตั้งเตรียมการถอยหลังย้อนทวนเข็มนาฬิกาของพรรคการเมืองที่แพ้การเลือกตั้งมาโดยตลอดเล่ห์กลตื้นๆ แบบนี้ อาจเป็นเส้นผมบังภูเขา เป็นหลุมพรางก่อนจะ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คนดีไปไหนหนอ? ถ้ายังจำกันได้เมื่อ พ.ศ.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ขอทบทวน political literacy เกี่ยวกับศาลอาญาและศาลรัฐธรรมน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันมานี้ผมหมกมุ่นกับเรื่องนิรโทษกรรมจนลืมไปว่าคนจำนวนมาก "ข้าม" เรื่องนิรโทษกรรมไป "ล้มรัฐบาล" กันแล้ว
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เวลานี้ใครไม่ออกมาพูดเรื่องนิรโทษกรรมก็จะกลายเป็นเชยล้าสมัย ผมอยากให้ลองดูประวัติศาสตร์นิดหน่อยครับไม่อยากพูดมากเลยเอารูปมาแปะเลยนะครับ ภาพเหล่านี้มาจากหนังสือเล่มนี้ครับ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สมัยที่ทำหน้าที่อนุกรรมการตรวจสอบความจริงกรณีเผากรุงเทพ 34 จุดนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่หรือ กทม.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าเรื่องนิรโทษกรรมคืออะไร ผมต้องบอกว่าดีใจมากที่คนไทยสนใจการเมืองมาก ทั้งสองสีเสื้อ และน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันก่อนได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนร่วมวิชาชีพจากหลายสถาบัน เราคุยกันถึงประเด็นที่ว่าแนวคิดบริหารรัฐกิจและการศึกษาที่หยิบเอาแนวทางการบริหารจากภาคเอกชนมาใช้ ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติ ในบางแห่งบรรจุภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ไว้ในคณะวิทยาการจัดการ บางสถาบันยกระดับให้เป็น "คณะ" บางแห่งยกฐานะเท่าเทีย
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 มีข่าวว่าอดีตผู้นำนักศึกษารุ่น 14 ตุลาคม 2516 ระดมกำลังตั้งกลุ่มกระทิงแดงและรวมตัวที่กองบัญชาการ 103 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.56 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความทรงจำอันพร่าเลือนของคนเหล่านี้จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เมื่อเกือบ 40 ปีมาแล้ว