Skip to main content

“ ความแตกต่างระหว่างประเทศด้อยพัฒนา กับประเทศที่พัฒนาสูงสุดแล้ว ไม่ได้อยู่ที่ความเก่าแก่ของอารยธรรมของประเทศนั้น ๆ ดูได้จากประเทศอินเดีย อียิปต์ ซึ่งมีอารยธรรมมายาวนานกว่า 2,000 ปี แต่ก็ยังยากจน

ในขณะเดียวกัน แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ที่เคยเป็นประเทศเล็ก ๆ ไม่มีศักยภาพเมื่อ 150 ปีที่แล้ว แต่วันนี้กลับพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศพัฒนาที่ร่ำรวยได้

ความแตกต่างระหว่างประเทศเจริญที่ร่ำรวยแล้ว กับประเทศด้อยพัฒนาที่ยากจน ก็ดูเหมือนจะไม่ได้อยู่ที่ทรัพยากรของประเทศ

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทำกินน้อยมาก 80 % ของพื้นที่เป็นภูเขา ไม่เหมาะในการทำเกษตรกรรม แต่ญี่ปุ่นกลับเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าการเกษตรที่สำคัญของโลก และยังเป็นเหมือนโรงงานกลางที่รับซื้อวัตถุดิบจากที่ต่าง ๆ ของโลกมาผันเป็นสินค้าส่งออกกลับไปขายทั่วโลก

อีกตัวอย่างหนึ่งคือสวิสเซอร์แลนด์ ที่ไม่มีการทำไร่โกโก้เลย เพราะพื้นที่ทำการเกษตรมีอยู่น้อย และอากาศหนาวจัดจนทำการเกษตรได้เพียง 4 เดือนใน 1 ปี แต่กลับเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อด้านการทำช็อคโกแล็ตของโลก และสวิสเซอร์แลนด์ยังนำเอาความมีระบบระเบียบของตนและบ้านเมืองมาใช้ประโยชน์ จนได้รับการยอมรับให้เป็นธนาคารของโลก

นักบริหารจากประเทศที่เจริญแล้วยืนยันกับคู่ค้าของเขาในประเทศที่ด้อยพัฒนาว่า ไม่เห็นมีความแตกต่างด้านสติปัญญาของแรงงานเลย สีผิวและเผ่าพันธุ์ก็ไม่ใช่เหตุผลอีกเช่นกัน เพราะเมื่อแรงงานที่เคยเกียจคร้านในประเทศของตน ย้ายไปอยู่และหากินในประเทศที่เจริญแล้วกลับกลายเป็นแรงงานที่ขยันด้วยซ้ำไป

แล้วสิ่งใดที่ทำให้แตกต่าง

สิ่งที่แตกต่างคือ ทัศนคติที่ฝังรากลึกมานานปีผ่านระบบการศึกษาและการอบรมปลูกฝัง จากการวิเคราะห์พฤติกรรมของคนในประเทศพัฒนาแล้ว พบว่าคนส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตอยู่บนหลักปรัชญาดังต่อไปนี้

  1. ใช้จริยธรรมนำทางชีวิต ( Ethics as the basic principle )
  2. ความซื่อสัตย์ (  Integrity )
  3. ความรับผิดชอบในบทบาท หน้าที่ ( Responsibility )
  4. การเคารพต่อกฏระเบียบ (Respect to the law and rules)
  5. การเคารพต่อสิทธิของผู้อื่น ( Respect to the rights of other citizens)
  6. ความรักในงาน (Work Loving)
  7. ความสนใจในการอดออมและลงทุน (Strive for saving and investment)
  8. แรงผลักดันเต็มกำลังสู่ความเป็นที่หนึ่ง (Will of super action)
  9. การตรงต่อเวลา (Punctuality)

ในประเทศด้อยพัฒนา มีคนเพียงจำนวนน้อยที่ใช้หลักปรัชญาเหล่านี้ในการดำเนินชีวิต

ประเทศชาติยังไม่พัฒนา ไม่ใช่เพราะขาดทรัพยากร หรือมีภัยธรรมชาติเป็นปัญหา แต่ยังไม่พัฒนาไปได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในสังคมขาดทัศนคติและแรงผลักดันที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาการดำเนินชีวิตที่กล่าวมาแล้ว “

            ข้อความข้างต้นเป็นข้อความที่ไม่ระบุนามผู้เขียน ซึ่งส่งต่อกันอย่างแพร่หลายทางอีเมล์ในช่วงปลายทศวรรษ 2540 ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์ไม่น้อยที่จะนำมาเผยแพร่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงที่บ้านเมืองกำลังตกอยู่ในภาวะที่ต้องการจริยธรรม ความซื่อสัตย์ การเคารพต่อกฏระเบียบและสิทธิของผู้อื่น ตลอดทั้งปรัชญาข้ออื่น ๆ ทั้งหมดข้างต้น  การเลือกปฎิบัติต่อกลุ่มหรือพรรคพวกของตนโดยขาดธรรมาภิบาล เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมและปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ไม่น้อย และอาจจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย หากผู้คนในสังคมยังขาดจิตสำนึกในการปฎิบัติตามหลักปรัชญาซึ่งคนในประเทศพัฒนาแล้วยึดถือปฎิบัติกันอยู่เสมอ 

บล็อกของ พรพรรณ วรรณา

พรพรรณ วรรณา
“ ความแตกต่างระหว่างประเทศด้อยพัฒนา กับประเทศที่พัฒนาสูงสุดแล้ว ไม่ได้อยู่ที่ความเก่าแก่ของอารยธรรมของประเทศนั้น ๆ ดูได้จากประเทศอินเดีย อียิปต์ ซึ่งมีอารยธรรมมายาวนานกว่า 2,000 ปี แต่ก็ยังยากจน
พรพรรณ วรรณา
   
พรพรรณ วรรณา
ช่วงออกพรรษาที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้เดินทางไปเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า การเดินทางโดยรถยนต์จากชายแดนแม่สาย ท่าขี้เหล็ก ต้องใช้เวลาไม่น้อย เพราะถึงแม้ว่าถนนจะราดยางหมดแล้วตลอดสาย แต่สภาพถนนหนทางที่ยังไม่มีการตีเส้นจราจรใด ๆ ทำให้รถวิ่งได้ไม่เร็วนัก ระยะทางจากท่าขี้เหล็ก ถึงเชียงตุงเพียง 1