หนังต้องฉายใครจะห้าม: เชคสเปียร์ รีเทิร์น

 

 โดย .. ประปา สุราเมืองนนท์

 

 หมายเหตุ - ขออุทิศข้อเขียนชิ้นนี้ให้ ‘โชติศักดิ์ อ่อนสูง’ บิดาแห่งการนำประเด็นในโรงภาพยนตร์สู่เรื่องสิทธิเสรีภาพทางการเมืองไทย … เราไม่ลืมโชติศักดิ์!!!

 
เกริ่นนำ
 
จากการที่คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ (กองเซ็นเซอร์) ในกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีมติสั่งห้ามฉาย ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ (Shakespeare Must Die)  ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ได้รับทุนสร้างจากกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ของ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี 2553 ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จและเข้าตรวจพิจารณาปีนี้
 
ทั้งนี้กองเซ็นเซอร์ให้เหตุผลว่า “คณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่องเชคสเปียร์ต้องตาย มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2552 ข้อ 7 (3)” และ “จึงมีมติไม่อนุญาต โดยจัดเป็นประเภทภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 26 (7) แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551”
 
โดยว่ากันว่าฉากเจ้าปัญหาที่ทำให้ถูกเซ็นเซอร์ คาดว่าเป็นฉากที่ มีแม่มด 3 ตนกำลังดีใจจากผลงานของพวกเธอที่ปลุกปีศาจร้ายออกมาสร้างความปั่นป่วนให้กับโลกได้สำเร็จ โดยมีแบ็กกราวด์ด้านหลังเป็นภาพความเสียหายจากกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบและเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2553 รวมทั้งหลายๆ ฉากมีการใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์อยู่มาก อีกทั้งบางฉากยังหล่อแหลมต่อการเข้าใจผิดถึงเรื่องของการหมิ่นสถาบันปรากฏอยู่ในตัวหนังก็เป็นอีกส่วนที่เป็นปัญหาเช่นกัน
 
 
ทัศนะของบุคคลต่างๆ ต่อการเซ็นต์เซอร์
 
โปรดคลิ๊กไปอ่าน .. แถลงการณ์ผู้กำกับ ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ / เสียงสะท้อนคนวงการหนัง ถึงเวลา เชคสเปียร์ต้อง “เกิด” / เชคสเปียร์ต้องตายเสมอ: ถ้อยแถลงส่วนบุคคล / ประวัติศาสตร์ไทยแบบ Plot Based History กับการอ่าน เชคสเปียร์แบบไทยๆ / คุยกับ "มานิต ศรีวานิชภูมิ" โปรดิวเซอร์ "เชคสเปียร์ต้องตาย" ถ้าหนังไม่ได้ฉาย ผมยอมติดคุก! / แบด 'แบน' รีเทิร์น สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์
 
ทัศนะของผู้เขียนต่อการเซ็นเซอร์
 
เช่นเดียวกับปัญญาชนท่านอื่นๆ ผู้เขียนเห็นว่ารัฐไทยต้องยกเลิกมาตรการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์นี้ แต่ในใจผู้เขียนอยากให้ยกเลิกภายใน 3 วินาที
 
ข้อเสนอแนะสู่การนำ ‘เชคสเปียร์รีเทิร์น
 
 
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2549 มีภาพยนตร์เรื่อง "หมากเตะโลกตะลึง" มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับคนลาว ทำให้ นายเหียม พมมะจัน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวประจำประเทศไทย ในขณะนั้น เกรงว่าจะเกิดความไม่พอใจของชาวลาว เพราะเมื่อได้ดูภาพยนตร์แล้ว รู้สึกว่า เหมือนเป็นการดูหมิ่นชาวลาว จึงขอให้เปลี่ยนเอาเนื้อหาที่เกี่ยวกับลาวออกให้หมด ทางผู้ผลิตจึงได้สั่งระงับการออกฉาย เพื่อไม่ต้องการให้เป็นปัญหาระหว่างประเทศ ต่อมาในปีเดียวกันผู้สร้างได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาใหม่ โดยเปลี่ยนประเทศลาวในเรื่อง ให้เป็นประเทศสมมุติ ชื่อว่า "ราชรัฐอาวี" และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "หมากเตะรีเทิร์นส"
 
ผู้เขียนขอให้ใช้เทคนิคที่ "หมากเตะโลกตะลึง" ได้เคยทำนี้เพื่อสร้างความปรองดองแก่สังคม โดยเมื่อแกะปัญหาของภาพยนตร์เรื่องนี้ พบว่ามีดังนี้
 
1.ผู้กำกับมีทัศนะคติด้านลบต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือกรัฐบาลเพื่อไทย (คนเสื้อแดง)
 
2.ได้ทุนในช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่มอบทุนให้แต่ศิลปินที่ไม่เอาประชาธิปไตย (หรือศิลปินที่ไม่แสดงทัศนะทางการเมืองที่เป็นพิษเป็นภัยต่อระบบอำมาตย์)
 
ดังนั้นเพื่อความปรองดอง ขอให้ใช้เทคนิคพิเศษตัดต่อใหม่โดยอะไรที่ทำให้มวลชนสีแดงถูกมองเป็นด้านลบ ก็ให้ใช้เทคนิคพิเศษเปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง ให้คนดูตีความได้ง่ายว่าเป็นม็อบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยผู้ที่สร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมืองกลุ่มแรก
 
และหากผู้สร้างยังคงที่จะคงความทระนงในวิถีทางแห่งสุดยอดศิลปิน ไม่ยอมแก้ไขตามข้อเสนอที่กล่าวไป ก็ขอให้นำเงินทุนที่ได้จากกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ฯ ส่งมอบคืนกลับไปแก่กองทุน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตงานศิลปะกลุ่มอื่นได้ใช้บ้างครับ
 
จบ.

รางวัลหมูหลุมอวอร์ด 'ที่สุดแห่งปี 2558'

 
เนื่องในปี 2558 ที่ผ่านมา เป็นปีที่มี 365 วัน ซึ่งถือว่าครบมาตรฐานการเป็นหนึ่งปี ทางสำนักพิมพ์หมูหลุมจึงจะมาขอมอบ "รางวัลหมูหลุมอวอร์ด" ให้กับบุคคลดังต่อไปนี้อ่ะครับ
 

รางวัลข้าราชการยอดเยี่ยมแห่งปี 2558

MIU: เสนอใช้ 'ส.ส. ระบบเพลย์ออฟ' แทน 'ระบบจัดสรรปันส่วนผสม' อ่ะครับ.

สืบเนื่องจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้เสนอสูตรการเลือกตั้งที่เรียกว่า 'ระบบจัดสรรปันส่วนผสม' ที่ให้นำคะแนนคนแพ้คะแนนใน ส.ส. ระบบเขตมานับเป็นคะแนน ส.ส.

ลุงบัณฑิต ฝากประชาสัมพันธ์หนังสือราคาพิเศษอีกแล้ว ณ ครับ.

ลุงบัณฑิต อานียา อาจจะมีชื่อเสียงมาจากการเป็นผู้ต้องหาคดีสำคัญคดีหนึ่ง แต่กระนั้นหลายคนอาจจะลืมไปว่าแกเป็นนักเขียน ณ ครับ